| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 293 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-09-2553    อ่าน 12026
 กลุ่มทุน "จิวเวลรี่" พร้อมกดปุ่ม "เดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ ซิตี้" ทุบสถิติกอล์ฟคอร์สใหญ่ที่สุดในโลก

สิบกว่า ปีก่อน "พรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล" ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท บิวตี้เจมส์ กับเพื่อนนักธุรกิจ "ประยูร สงวนสิน" สร้างความฮือฮาด้วยการผนึกกำลังสร้างฝันให้เป็นจริง ร่วม ลงทุนโครงการสนามกอล์ฟ "เดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ" ย่านพุทธมณฑล สนามกอล์ฟแชมเปี้ยนชิปคอร์สแห่งแรกของเมืองไทยมาแล้ว

ถึง ตอนนี้ อดีตเพื่อนนักเรียนเก่าจากอังกฤษทั้ง 2 คนกำลังซุ่มผุดโปรเจ็กต์สนามกอล์ฟแห่งใหม่ ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ทุบสถิติเป็นสนามเพียวกอล์ฟใหญ่ที่สุดในโลก บนที่ดิน 1,400 ไร่ ในทำเลคลอง 6 รังสิต-องครักษ์ ขณะนี้ การก่อสร้างคืบหน้าไปกว่า 80% แล้ว กำหนดเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้

ในฐานะ ผู้รับผิดชอบดูแลบิ๊กโปรเจ็กต์ มูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 5,000 ล้านบาท ที่คุณพ่อ "ประยูร สงวนสิน" กับคุณลุง "พรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล" ต้องการผลักดันให้เป็นผลงานชิ้นโบแดง ถือเป็นงานที่ท้าทายความสามารถของ "ณัฐธิดา สงวนสิน" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ ซิตี้ จำกัด ที่ได้รับมอบหมายให้ปลุกปั้น "เดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ ซิตี้" ก้าวขึ้นเป็น "เมืองศูนย์กีฬา" ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

"ณัฐธิดา" บอกว่า กว่าจะพัฒนาสนามกอล์ฟแห่งใหม่เป็นรูปเป็นร่าง ใช้เวลาไปกว่า 2 ปี เริ่มตั้งแต่ปรับหน้าดิน ซึ่งเดิมเป็นท้องนา ไร่มันสำปะหลัง ฯลฯ ทั้งขุด ทั้งถม ปรับพื้นที่ ปรับสภาพน้ำ ปลูกต้นไม้ ปลูกหญ้า ถือเป็นงานที่ใหญ่มาก เพราะตามแผนที่วางไว้ ต้องปรับที่ดินทั้งหมด เพื่อรองรับสนามกอล์ฟ ซึ่งจะก่อสร้างบนที่ดินแปลงเดียวกันถึง 3 สนาม โดยแต่ละสนามจะดีไซน์ให้มีจุดเด่นแตกต่างกัน คนออกแบบ ก็เป็นดีไซเนอร์ที่ออกแบบสนามกอล์ฟระดับโลก 3 คน ออกแบบคนละสไตล์ 3 สนาม รวม 3 สไตล์ ซึ่งท้าทายผู้ที่ชื่นชอบในกีฬากอล์ฟเป็นอย่างยิ่ง

กว่า โครงการนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องใช้เวลารวบรวมที่ดินนานกว่า 10 ปี เพราะเดิมเจ้าของที่ดินคือสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ให้ชาวบ้านเช่าทำประโยชน์ด้านการเกษตร บริษัทจึงต้องเจรจาซื้อสิทธิในการเช่าจากชาวบ้านเป็นราย ๆ เมื่อได้ที่ดินครบถ้วน จึงทำสัญญาเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ระยะเวลาเช่า 30 ปี ซึ่งถือว่าโชคดี เพราะการรวบรวมที่ดินแปลงใหญ่ขนาดนี้ เป็นเรื่องยาก หากต้องหาซื้อที่ดินมาพัฒนาทั้งแปลง คงไม่คุ้มทุน

สาเหตุที่พัฒนา โครงการนี้ เป็นเพราะคุณลุง (พรสิทธิ์) กับคุณพ่อ (ประยูร) ซึ่งอยากจะเกษียณตัวเองจากธุรกิจ ต้องการสร้างผลงานชิ้นโบแดงฝากไว้ เลยตัดสินใจลงทุนก่อสร้างสนามกอล์ฟขนาดใหญ่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย กลายเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์ในการพัฒนาที่แตกต่าง เพราะต้องการจะให้โครงการนี้เป็นที่จดจำของนักกอล์ฟทั่วโลก

"เราคิด ว่าจะพัฒนายังไงให้เป็นแม็กเนต ก็เอาที่ดินทั้งหมดมาพัฒนาเป็นเมืองกีฬา แต่ลีดคือกอล์ฟ โชคดีที่สามารถเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินฯได้ เพราะถ้าต้องซื้อที่ดิน คงทำไม่ได้ ส่วนที่เลือกที่นี่ หลัก ๆ มองว่าเป็นทำเลที่ดี และตระเวนหาไปทั่วแล้ว ที่ตั้งใจไว้ คือ 1.ทำให้เป็นเมืองเพียวกอล์ฟ ซิตี้ ใหญ่สุดในโลก และ 2.เรามองว่ากอล์ฟเป็นธุรกิจอสังหาฯ เพราะฉะนั้น เรื่องทำเลก็สำคัญ ที่ดินเราตรงนี้ตรงข้ามบิ๊กซี ใกล้มหาวิทยาลัยราชมงคล ถนนหนทาง และสิ่งอำนวยความสะดวก สบาย มีครบครัน"

ถามถึงจุดขายของ "เดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ ซิตี้" "ณัฐธิดา" แจกแจงรายละเอียดว่า อยู่ที่สนามกอล์ฟทั้ง 3 สนาม ที่ดีไซเนอร์ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบสนามกอล์ฟพยายามดีไซน์เพื่อดึงดูดใจ และเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนักกอล์ฟ ประกอบด้วย

1.สนาม "ดรีมอารีนา" Ron Garl เป็น ผู้ออกแบบ จะทำให้ฝันของนักกอล์ฟเป็นจริงทุกครั้งที่ได้ออกรอบ ออกแบบโดยอาศัยแรงบันดาลใจจากสนามกอล์ฟชั้นนำจากทั่วโลก ซึ่งเป็นกิมมิกอันหนึ่ง ต่อไปไม่จำเป็นต้องไปเล่นกอล์ฟในสนามชื่อดังต่าง ๆ ทั่วโลกอีกแล้ว เพราะที่นี่มีสิ่งที่ท้าทายไม่แตกต่างกัน

2.สนามมูน วอล์กเกอร์ ออกแบบโดย Lee Schmidt เป็นสนามที่สั้น ตีสนุก และเป็นสนามกลางคืนที่ดีที่สุด ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดในการออกแบบแสงช่วยถนอมสายตา เป็นแสงไฟที่ใช้เป็นไฟสนามแข่งรถเดย์โทนา เป็นอีกจุดขายหนึ่ง

3.สนาม ดิลิเจนซ์ ออกแบบโดย Andy Dyes เป็นเดอะเบสต์ออฟเดอะเบสต์ ปกติแมตช์สำคัญ ๆ จะดึงมาจัดแข่งขันในเมืองไทยยาก อันนี้จะทำให้ง่ายขึ้น สนามนี้พัฒนาขึ้นเพื่อดึงกอล์ฟรายการระดับโลกเข้ามาแข่งขันโดยเฉพาะ

"ณัฐ ธิดา" ย้ำว่า นอกจากจะสานฝันสร้างเพียวกอล์ฟซิตี้ให้เป็นจริงแล้ว เพื่อให้โครงการนี้เป็นเมืองศูนย์กีฬาที่สมบูรณ์แบบ ในอนาคตจะพัฒนาสนามกีฬาในร่ม อย่างแบดมินตัน เทนนิส สนามฟุตบอลในร่ม สระว่ายน้ำ ฯลฯ เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มก๊วนกอล์ฟ ที่ต้องการนำครอบครัวมาเล่นกีฬา หรือพักผ่อนหย่อนใจด้วย โดยจะเร่งก่อสร้างหลังสนามกอล์ฟและคลับเฮาส์ ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย

แม้ ตัวเลขลงทุนจะสูงถึง 5,000 ล้านบาท และต่างจากลงทุนสนามกอล์ฟทั่วไป ที่มักพ่วงด้วยการพัฒนาที่ดินเป็นบ้านจัดสรรรอบสนามกอล์ฟขาย สร้างรายได้อีกทางหนึ่ง แต่เอ็มดี เดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ ซิตี้ฯ มั่นใจว่าโครงการนี้จะสามารถเดินหน้าจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ เพราะส่วนของเงินลงทุน นอกจากจะระดมทุนจากผู้ถือหุ้นแล้ว จะได้เงินส่วนหนึ่งจากการขายสมาชิกด้วย

เบื้องต้นตั้งเป้าขายสมาชิก ไว้ทั้งหมด 1,200 เมมเบอร์ ขณะนี้ขายได้แล้วกว่า 700 เมมเบอร์ ทั้ง ๆ ที่เป็นการบอกต่อแบบปากต่อปาก ยังไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างจริงจัง

"ตอน นี้ได้เมมเบอร์ 700 คนแล้ว เป็นแบบผ่อนเยอะมาก และเราก็ตั้งใจให้เป็นอย่างนั้น เพราะต้องการให้นักกอล์ฟคนไทยมาเล่นกอล์ฟที่นี่ได้ คิดว่าที่คนชอบ เพราะช่วงนี้เราเป็นต่อ เป็นซูเปอร์ดิว เมื่อเทียบเบนซ์มาร์กแล้ว ตอนนี้เราถูกสุด"

นอกจากตัวโปรดักต์ที่วางคอนเซ็ปต์ไว้แตกต่างและฉีก แนวจากสนามกอล์ฟแห่ง อื่น ๆ แล้ว ในส่วนของการขายเมมเบอร์ ก็ยังมีแพ็กเกจถึง 8 แพ็กเกจให้ลูกค้าเลือก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1.เมมเบอร์ปกติ ทาร์เก็ตเป็นกลุ่มพนักงานเงินเดือน เริ่มผ่อนไม่เกิน 1 หมื่นบาท/เดือน 2.กลุ่ม อินเวสต์เมนต์เมมเบอร์ สำหรับคนชอบกอล์ฟและอยากสร้างฝันให้เป็นจริง คอนเซ็ปต์ คือฝากเงินกับบริษัท แล้วเล่นกอล์ฟฟรี โดยมีเงื่อนไขได้รับเงินคืนบางส่วน ค่าสมาชิกมีตั้งแต่ 1 ล้านบาท, 2 ล้านบาท และ 2.5 ล้านบาท เป็นต้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 02-09-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.