| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 54 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-08-2553    อ่าน 11211
 24ต.ค.เช็กบิลกม.ตรวจสอบอาคาร คอนโด5พัน-1หมื่นตร.ม.7พันตึกบังคับส่งรายงาน

นับ ถอยหลังกฎหมายตรวจสอบอาคาร เดดไลน์คอนโดฯ-อพาร์ตเมนต์ทั่วประเทศขนาด 5,000-10,000 ตร.ม. กว่า 7 พันแห่งจ่อคิวส่งรายงานตรวจสอบฯ 24 ตุลาคมนี้ กรมโยธาฯขู่คุมเข้มใครฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับวันละ 1 หมื่นบาท สมาคมตรวจสอบอาคารฯแฉซ้ำสถาปนิก-วิศวกร ผู้ตรวจสอบฯถอดใจฟันราคากลางค่าตรวจสอบจาก 3 หมื่นเหลือแค่หมื่นเดียว คาดสิ้นปีนี้ 50% ไม่ต่ออายุใบอนุญาต


นายอุดม พัวสกุล อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้งานตรวจสอบอาคารสำหรับกลุ่มอาคารชุดหรืออยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ ใช้สอย 5,000-10,000 ตารางเมตร จะครบกำหนดต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายหลังจากได้รับการผ่อนผัน 5 ปีนับตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ ตรวจสอบ พ.ศ. 2548

โดยสถิติทั่วประเทศกลุ่มนี้มีประมาณ 5,000 อาคาร เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ ผลของกฎหมายจะต้องมีการตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี และตรวจประจำปีทุก 1 ปี

ทั้งนี้ กฎหมายตรวจสอบอาคารแบ่งระยะเวลาการบังคับใช้กับอาคารเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1) อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยเกิน 10,000 ตารางเมตร ถือเป็นอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนทั้งสิ้น 12,799 อาคาร 2) อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอย 5,000-10,000 ตารางเมตร และ 3) อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 5,000 ตร.ม. และอาคารคอนโดมิเนียมพื้นที่ใช้สอย 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป



โทษจำคุก 3 เดือน ปรับวันละหมื่น

นาย อุดมกล่าวว่า สำหรับอาคารขนาดใหญ่ทั่วประเทศที่บังคับส่งรายงานตรวจสอบอาคารตั้งแต่ปลายปี 2550 ประมาณ 12,000 อาคารนั้น เพิ่งจะส่งรายงานการตรวจสอบเพียง 80% สะท้อนให้เห็นว่ายังมีเจ้าของอาคารอีกหลายรายเลี่ยงไม่ส่งรายงานการตรวจสอบ ส่วนใหญ่เป็นอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯเป็นหลัก

"ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป กรมจะเริ่มเอาจริงมากขึ้น จะประชาสัมพันธ์ให้ทราบมากขึ้น เพื่อให้เจ้าของอาคารกลับมาให้ความสนใจกับการตรวจสอบอาคาร โดยกรมจะตั้งคณะกรรมการไปสุ่มตรวจสอบอีกรอบเพื่อเช็กว่าผ่านการตรวจสอบจริง หรือไม่ หากพบว่ามีความผิดชัดเจนจะส่งข้อมูลให้ท้องถิ่นดำเนินคดีต่อไป"

สำหรับ ผู้ฝ่าฝืนตรวจสอบอาคาร มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

กทม. มึนสต๊อกค้าง 1,172 อาคาร

แหล่ง ข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า อาคารทุกประเภทที่ต้องตรวจสอบอาคารในพื้นที่ กทม.มีทั้งสิ้น 9,624 อาคาร แบ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่ต้องตรวจสอบรอบแรกกว่า 5,000 อาคาร พบว่ายังมีเจ้าของอาคารไม่ส่งรายงานตรวจสอบ 1,172 อาคาร ส่วนใหญ่พบปัญหาว่าเจ้าของอาคารต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และเป็นการดำเนินงานที่ทับซ้อนกับ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่มีการตรวจสอบอาคารประจำทุกปีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนได้มอบหมายทางสำนักงานเขต 50 เขต ดำเนินคดีกับเจ้าของอาคารตามบทลงโทษในกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่ได้รับรายงานว่าสามารถเอาผิดได้หรือไม่

สำหรับอาคารขนาด 5,000-10,000 ตร.ม. มีประมาณ 1,000-2,000 อาคาร ส่วนใหญ่เป็นอาคารสูง 6-8 ชั้น และอาคารขนาด 2,000-5,000 ตร.ม. มี 4,244 อาคาร จะครบกำหนดส่งรายงานการตรวจสอบ วันที่ 24 ตุลาคม 2555

เผย 7,000 อาคารเข้าคิว

ผศ.ชล ชัย ธรรมวิวัฒนุกูร นายกสมาคมผู้บริหารและตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร (ตปอ.) กล่าวว่า วันที่ 24 ตุลาคม 2553 เบื้องต้นประเมินว่าน่าจะมีอาคารทั่วประเทศ 6,000-7,000 อาคารที่เข้าข่ายส่งรายงานตรวจสอบอาคาร

ในจำนวนนี้คาด ว่าประมาณ 50% กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปัญหาที่น่าเป็นห่วง คือ การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เข้มงวดเท่าที่ควร ที่ผ่านมาจึงมีเจ้าของอาคารจำนวนหนึ่งเพิกเฉยในเรื่องนี้ แม้จะมีบทลงโทษค่อนข้างรุนแรง

"เท่าที่ทราบนับตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี 2550 จนถึงปัจจุบันเข้าใจว่าน่าจะยังไม่มีเจ้าของอาคารรายใดถูกลงโทษตามกฎหมาย"

โดย สมาคมมีข้อเสนอแนะว่าภาครัฐควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการทำ ประชาสัมพันธ์เชิงรุกมากขึ้น โดยอาจจะจัดสัมมนาใหญ่เพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าของอาคารว่าการตรวจสอบอาคาร ไม่ใช่เป็นเพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่เป็นการตรวจสอบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้อาคาร และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

ผู้ตรวจสอบฯถอดใจ 50%

ผศ.ชล ชัยกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาการทำธุรกิจตรวจสอบอาคารยังพบปัญหาการแข่งขันราคา เนื่องจากมีผู้รับตรวจสอบอาคารจำนวนหนึ่งปฏิบัติงานภายใต้มาตรฐานค่อนข้าง ต่ำ และไม่นำราคากลางค่าตรวจสอบอาคารที่ออกโดยสมาคมมาใช้เป็นบรรทัดฐานอ้างอิง

โดย เฉลี่ยการดำเนินการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานตามเช็กลิสต์ของกรมโยธาธิการมีเกือบ 40 รายการ กรณีเป็นอาคารที่มีพื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางเมตร ควรจะต้องมีทีมงานไม่ต่ำกว่า 5 คน ใช้เวลาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 วัน และคิดค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาทต่อครั้ง แต่ปัจจุบันมีผู้รับตรวจสอบอาคารบางรายที่ใช้เวลาตรวจสอบเพียง 1-2 วันก็แล้วเสร็จ และคิดค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำคือ 10,000 บาทต่อครั้ง

ปัญหา ดังกล่าว มีแนวโน้มว่าสิ้นปีนี้อาจจะมีผู้ตรวจสอบอาคารถึง 50% ตัดสินใจไม่ต่ออายุใบอนุญาตตรวจสอบอาคารที่ทยอยหมดอายุลงในปีนี้ (ใบอนุญาตมีอายุ 2 ปี)
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 09-08-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.