| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 107 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-08-2553    อ่าน 11034
 นับถอยหลัง โครงสร้างใหม่ ร.ฟ.ท. พลิกโฉม 113 ปี จาก "ขาดทุน" เป็น "กำไร"

บรรยากาศ งาน "จากวันนั้น...ถึงวันนี้...113 ปี กับโครงสร้างใหม่รถไฟไทย" ที่มี "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ขึ้นเวทีเดี่ยวไมโครโฟนเพื่อทำความเข้าใจถึงรูปแบบการปรับโครงสร้างใหม่ ร.ฟ.ท. ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป โดยยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อพนักงาน รายได้ และสวัสดิการต่าง ๆ ที่ได้รับในปัจจุบัน ท่ามกลางผู้เข้าฟังนำโดย "สาวิทย์ แก้วหวาน" ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟฯ และพนักงานการรถไฟฯ 1,500 คน

ถือ ว่าผ่านพ้นไปได้ราบรื่นเพราะตลอดระยะเวลากว่า 3 ชั่วโมง ประธานสหภาพการรถไฟฯมีทีท่ายอมรับการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น จากเดิมที่เคยคัดค้านรื่องนี้

โครงสร้างใหม่พลิกโฉมทำกำไร

โครง สร้างใหม่มีเป้าหมายคือเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยต่างๆ เพื่อพลิกฟื้นผลประกอบการจากที่เคย "ขาดทุน" เป็น "กำไร" เฉพาะปีที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มี ผลประกอบการขาดทุน 900 ล้านบาท มีหนี้สินสะสมประมาณ 70,000 ล้านบาท



ก่อน หน้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนปรับโครงสร้างองค์กร ภายใต้วงเงิน 176,808 ล้านบาท ใช้เวลา 5 ปี (2553-2557) โดยโครงสร้างใหม่จะมี ร.ฟ.ท.ส่วนกลางทำหน้าที่เป็น "ฝ่ายบริหาร" และมีแยกฝ่ายต่าง ๆ ในสังกัดเป็น 3 หน่วยธุรกิจ (3 BU) ทำหน้าที่ "ฝ่ายปฏิบัติการ"

ประกอบด้วย 1) หน่วยเดินรถ มีหน้าที่ให้บริการเดินรถไฟ พัฒนาคุณภาพบริการ-กระบวนการทำงาน ประสานงานการซ่อมบำรุงและโครงสร้างพื้นฐาน วิเคราะห์ความต้องการรถจักรรถพ่วงในอนาคต ทำการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์

2) หน่วยซ่อมบำรุง มีหน้าที่วางแผน จัดหา ซ่อมบำรุงรถพ่วง ดูแลทรัพย์สิน ประสานงานและคิดค่าใช้จ่ายกับหน่วยเดินรถ พัฒนากระบวนการทำงานและนำระบบ CMMS (งานบำรุงรักษาด้วยคอม พิวเตอร์) มาใช้ตรวจสอบภายใน-คู่สัญญา

3) หน่วยบริหารทรัพย์สิน ดูแลผลประโยชน์ ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน จัดทำ-บริหารสัญญา ทำการตลาดส่งเสริมการขายและลูกค้าสัมพันธ์ พัฒนากระบวนการทำงาน และตรวจสอบภายใน-คู่สัญญา

รวมถึงมีบริษัทลูก "รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท." ที่ถือหุ้นโดยการรถไฟฯ 100% ทำหน้าที่เดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ และโครงการรถไฟชานเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยเฉพาะ "หน่วยเดินรถ" และ "หน่วยบริหารทรัพย์สิน" ถือเป็น 2 หน่วยงานที่จะสร้างรายได้หลักให้กับ ร.ฟ.ท.

รถไฟรางคู่-จัดระเบียบสัญญาเช่า

จะ เห็นว่า "หน่วยเดินรถ" มีโอกาสจะสร้างรายได้เพิ่มเป็นกอบเป็นกำ เนื่องจาก ร.ฟ.ท.เตรียมแผนลงทุนเพิ่มขีดความสามารถไว้แล้ว ไฮไลต์คือปัดฝุ่นโครงการก่อสร้าง "ระบบรถไฟรางคู่" 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 767 กิโลเมตร ได้แก่ 1) ลพบุรี-ปากน้ำโพ (นครสวรรค์) 2) ลาดกระบัง-นครราชสีมา 3) ประจวบ คีรีขันธ์-ชุมพร 4) มาบกะเบา (สระบุรี-โคราช และ 5) โคราช-ขอนแก่น

ตามแผนจะต้องจัดทำรายงาน ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากนั้นในปี 2554 จะเริ่มสำรวจแนวเส้นทางและออกแบบปี 2555 เริ่มลงมือก่อสร้าง เบ็ดเสร็จใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี

ยังมีโครงการลงทุนอื่น ๆ ได้แก่ ซื้อ หัวรถจักรใหม่ 50 หัว โครงการปรับปรุงสะพานรถไฟให้รับน้ำหนักกดเพลาเพิ่มขึ้นเป็น 20 ตัน โครงการก่อสร้างศูนย์ ICD (สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง) แห่งที่ 2

ผล ที่ตามคือ ร.ฟ.ท.จะมีขีดความสามารถเดินรถไฟเพื่อการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า จากปัจจุบัน 12 ล้านตันต่อปี เป็น 60 ล้านตันต่อปี

ส่วน "หน่วยบริหารทรัพย์สิน" ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีรายได้การปล่อยเช่าที่ดินเชิงพาณิชย์ในปีที่ผ่านมาประมาณ 1,600 ล้านบาท เปรียบเทียบกับพอร์ตที่ดินในมือกว่า 100,000 ไร่ ถือว่ามีรายได้ต่ำ

หลังจากนี้ จึงจะต้องมีการทบทวนสัญญาเช่ากับคู่ค้าทั้งหมดโดยเฉพาะที่มีปัญหาล่าช้าหรือส่อแววเป็นหนี้สูญ

เป้า หมายในช่วงแรก คือ ผลักดันให้หน่วยบริหารทรัพย์สินสามารถสร้างรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 2,700 ล้านบาท หรือเทียบเท่ากับภาระการจ่ายเงินบำนาญต่อปีให้กับพนักงาน ร.ฟ.ท.

รวมถึงจะมีการหารือกับรัฐบาลเพื่อ ขอปลดหนี้ก้อนใหญ่จำนวน 70,000 ล้านบาทต่อไป
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 09-08-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.