| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 252 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-08-2553    อ่าน 11089
 สุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล เช็กเรตติ้ง 1 ปีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ

สัมภาษณ์พิเศษ




กว่า 1 ปีเศษ ที่ "ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ" เมกะโปรเจ็กต์ มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท พื้นที่ใช้ประโยชน์กว่า 1 ล้าน ตร.ม. ภายใต้การบริหารของ "บริษัท ธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด" หรือ "ธพส." ที่จัดตั้งขึ้นโดยกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เปิดบ้านให้หน่วยงานราชการ 29 หน่วย พนักงานกว่า 3 หมื่นชีวิตเข้าใช้บริการ ปัจจุบันมีหน่วยงานเข้าใช้พื้นที่กว่า 90% แล้ว เหลือบางหน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศ ขณะที่รายได้เข้ามาแล้วกว่า 100 ล้านบาท ตามแผน จะมีรายได้เฉลี่ยปีละ 400-500 ล้านบาท

ด้วยความใหญ่ ของขนาดเนื้อที่และจำนวนผู้คน ทำให้ทั้งก่อนเปิดและหลังเปิดบริการ "ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ" ยังมีปัญหาอุปสรรคต้องตามแก้ไขตลอดเวลา ตั้งแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในตัวโครงการ ปัญหาการจราจร ร้านค้า รวมทั้งระบบ สาธารณูปโภคภายใน

"สุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล" เอ็มดี ธพส. เปิดใจให้สัมภาษณ์พิเศษ "ประชาชาติธุรกิจ" หลากหลายแง่มุม พร้อมประเมิน ผลงานบริหารจัดการโครงการนี้ในช่วงเวลาปีเศษที่ผ่านมาว่า ยอมรับว่ามีปัญหาที่ต้องตามแก้ไขไม่น้อย ไม่ต่างไปจากโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ หรือโครงการขนาดใหญ่ของเอกชนหลาย ๆ ราย ปัญหาที่พบมี 2 ประเด็น อย่างแรก คือการเกิดรีเฟลกซ์จากการใช้งาน เช่น แอร์ไม่เย็น ไฟฟ้ารั่ว ฝ้าเพดานชำรุด น้ำรั่ว แค่ 5-7% ของพื้นที่กว่า 1 ล้าน ตร.ม. สิ้นปีจะเคลียร์เสร็จ

"ธพส.เป็นหน่วยงานที่บริหาร ที่ดินราชพัสดุ เผอิญศูนย์ราชการเป็นงานแรกที่ เข้ามาบริหาร และมีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก เราไม่มีกองช่าง หรือหน่วยช่างคอยวิ่งซ่อม-สร้าง โมเดลที่ทำ คือพยายามดึงมืออาชีพที่เป็น outsource เข้ามา ปลายปีนี้จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน"

ที่ต้องให้ outsource เข้ามาดูแลงานระบบ เป็นเจตนารมณ์ของ ธพส.แต่แรก ที่ไม่ต้องการเป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรจำนวนมาก จะทำงานไม่คล่องตัว และสร้างภาระให้กับรัฐ

ปัญหาต่อมา คือการบริหารความ คาดหวังของลูกบ้าน ที่เข้ามาอยู่รวมกันหลายหมื่นคน แต่ละคนมีความแตกต่างด้านมุมอง มุมคิด แต่ต้องเข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ใช้ทรัพยากรร่วม เช่น พื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่จอดรถ โดย ธพส.เป็นผู้บริหารในลักษณะของ bridging agent (ตัวเชื่อม) แต่เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางออกเสมอ สิ่งที่ ธพส.อยากเห็น และพยายามบริหารให้เกิดขึ้น คือจัดประชุมตัวแทนแต่ละหน่วยงาน เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของวงการราชการ

ยกตัวอย่างพื้นที่จอดรถ เนื่องจากหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่กว่าต้องได้พื้นที่มากกว่า ส่วนหน่วยงานเล็กโดนเบียดไปอยู่ มุมตึก ผู้บริหารระดับ วี.ไอ.พี.ต้องเดินไกล การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องนี้ คือตัดพื้นที่จอดรถ วี.ไอ.พี. ออกและกันพื้นที่บริเวณทางเข้าอาคารไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเล็ก หรือใหญ่ และให้มีการจับสลากอย่างเป็นธรรม นอกนั้นจะมีพื้นที่จอดตามสัดส่วนการเช่าพื้นที่ของแต่ละหน่วยงาน

ที่ กำลังดำเนินการควบคู่กันไป คือ 1.การบริหารพื้นที่ลานจอดรถร่วมกับบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเมนท์ จำกัด หรืออิมแพ็ค ในรูป co of petition (corporation+competition) เปิดให้ลูกค้าอิมแพ็คนำรถเข้ามาจอด พร้อมจัดรถรับ-ส่ง โดยเก็บค่าบริการราคาถูก ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพราะพื้นที่จอดรถศูนย์ราชการจะว่าง รองรับรถได้กว่า 1 หมื่นคัน

"เรา ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับอิมแพ็ค เพราะต่างมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนเป็นของ ตัวเอง แต่จะ take ลูกค้าของกันและกัน ส่วนผลตอบแทน กำลังเจรจา"

2.การปรับปรุงหอพักในพื้นที่ศูนย์ราชการ บริเวณด้านหน้าเป็นโรงแรม 3 ดาวครึ่ง วงเงิน 40 ล้านบาท บริหารโดยเชนโรงแรมี่มีชื่อเสียงและเคยบริหารพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 5 แสน ตร.ม.ขึ้นไป ในตลาดมีไม่กี่ราย ได้แก่กลุ่มอิมแพ็ค, เอ็น.ซี.ซี., ใบหยก, เซ็นทารา, อินเตอร์คอนติเนนตัล, สหโรงแรมไทย และโซลทวิน จะเปิดให้บริการ 1 ธันวาคม 2553 นี้

นอกจากนี้ มีเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากที่แต่ละหน่วยงานต้องการตกแต่งไม่เหมือนกันทั้งปรับปรุง แก้แบบใหม่ และตกแต่งเพิ่มเติม ไม่เป็นไปตามแบบเดิม ที่ดีไซน์ไว้แต่แรก ได้ขอขยายกรอบวงเงินลงทุนโครงการจาก ครม.เพิ่มเติม 2,414 ล้านบาท จากกรอบเดิม 19,016 ล้านบาท เพิ่มเป็น 21,430 ล้านบาท

"ตอนแรก เราเข้าใจว่าศูนย์ราชการจะเป็นเหมือนเพนตากอนในสหรัฐอเมริกา คือรูปแบบอาคารจะออกแบบเหมือนกันหมดในทุก ๆ ห้อง คล้ายกับตึกรวงผึ้ง แต่ที่นี่ ความคาดหวังต่างกัน บางหน่วยงานมีการปรับโครงสร้างใหม่ มีตำแหน่งเพิ่มเข้ามา ก็ต้องสร้างห้องเพิ่มขึ้น"

ขณะที่พื้นที่เชิง พาณิชย์ หลังเปิดก็มีเสียงบ่นปัญหาตามมาแต่เท่าที่ทราบ มีทั้งขายดี และขายไม่ดี เป็นธรรมชาติ เพราะขายได้เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เช้า-บ่าย ช่วงแรก ๆ คนน้อย เพราะยังย้ายมาไม่เต็มที่ ตอนนี้เริ่มเป็นปกติ กำลังจะจัดโซนนิ่งใหม่ ทำเลดีกับไม่ดี จค่าเช่าจะคนละอัตรา

ด้านความปลอดภัย หลังเกิดปัญหาความวุ่นวาย ได้ว่าจ้างทีมเขียนแผนแม่บทของการรักษาความปลอดภัยของศูนย์ราชการ ส่วนปัญหาจราจร เป็นเรื่องยาก ขณะนี้รายได้ ธพส.ไม่มากพอที่จะนำไปเวนคืนที่ดินมาสร้างถนนเพิ่ม รอนโยบายจากรัฐบาล และระบบขนส่งมวลชน

หากจะให้คะแนนการบริหารศูนย์ราชการใหม่แกะกล่อง เอ็มดี ธพส.บอกว่า การแก้ไขปัญหา คะแนนเต็ม 10 จะให้ 6.5-7 คะแนน งานด้านการบริหารจัดการ น่าจะได้มากกว่านั้น

ก่อนจะทิ้งท้าย ถึงภารกิจอีกหลาย ๆ อย่าง ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดยเฉพาะการบริหารจัดการทรัพย์สิน ของประเทศไทย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ คล้าย ๆ "เทมาเส็ก" ของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งแม้เส้นทางจะยังอีก ยาวไกลแต่ ธพส.ก็จะพยายามก้าวไปให้ถึง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 02-08-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.