| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 89 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-07-2553    อ่าน 11155
 เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร เดินหน้า "ชุมชนสัมพันธ์" แจ้งเกิดแผนพัฒนาที่ดินท่าเรือคลองเตย

สัมภาษณ์พิเศษ




ถือ เป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งของ "เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ที่ตั้งใจแจ้งเกิด โปรเจ็กต์พัฒนาที่ดินท่าเรือคลองเตยผืนใหญ่ใจกลางเมือง รวมเนื้อที่ 2,353 ไร่ มาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย อาคารเชิงพาณิชย์ ศูนย์การประชุม ศูนย์โลจิสติกส์ ตลาดสมัยใหม่ สนามกีฬา สวนสาธารณะ ฯลฯ แบบครบวงจร

โดย เฟสแรกที่จะเริ่มพัฒนาก่อน คือการนำที่ดินแปลงที่ 1 2 3 และ 4 รวมเนื้อที่ 223 ไร่ ตามที่ได้มีการว่าจ้างบริษัทออกแบบชั้นนำ "A49" ศึกษามาสเตอร์แปลนการพัฒนาที่ดินทั้งหมด เท่ากับว่าในอนาคตที่ดินผืนนี้จะกลายเป็น "โมเดิร์นซิตี้" แห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ

แต่สิ่งสำคัญคือปัจจุบันที่ดินท่าเรือ คลองเตยมีผู้อยู่อาศัยที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปรวม 14 ชุมชน จำนวนทั้งหมด 4,820 ครัวเรือน พักอาศัยอยู่ การทำความเข้าใจกับชาวบ้านในชุมชน จึงเป็นโจทย์แรกที่ รมช.เกื้อกูลให้ความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด

"เราไม่อยากให้เข้าใจผิด ว่ารัฐบาลต้องการเข้ามาหาประโยชน์จากโครงการนี้ ยืนยันว่านี่ไม่ใช่การสร้างภาพ เรื่องการ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนคลองเตย เป็นไพออริตี้แรกที่เราให้ความสำคัญที่สุดในโครงการนี้ ตามผลการศึกษานับจากเริ่มลงทุน ต้องใช้เวลานานประมาณ 28 ปี ส่วนของรัฐบาลจึงจะเริ่มคืนทุน" คำกล่าวเปิดประเด็นกับทีมข่าว "ประชาชาติธุรกิจ"

"รมช.เกื้อกูล" บอกว่า สำหรับการทำความเข้าใจกับคนในชุมชน อาจต้องใช้เวลา ก่อนหน้านี้ได้หารือกับผู้อำนวยการการท่าเรือฯ วิธีการคืออาจจะจัดตั้งคณะกรรมการ "ชุมชนสัมพันธ์" ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เข้าไปพูดคุย ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน และจะเริ่มให้เร็วที่สุด

อย่างถ้ามีการก่อสร้างตึกสูงขึ้นมาแล้ว คนในชุมชนก็สามารถมาหางานที่นี่ได้ หรืออย่างการสร้างตึก แต่ก็ยังคงพื้นที่ตลาดไว้ แต่เปลี่ยนรูปแบบย้ายมาอยู่ในอาคารส่วนชั้นบน ก็ออกแบบเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์

"งบประมาณเรื่องชุมชนสัมพันธ์ ก็จะใช้ตามความเหมาะสม แต่ต้องเป็นการทำความเข้าใจในเชิงลึก และเข้าถึงชาวบ้านทั้งหมด"

"รม ต.เกื้อกูล" อธิบายว่า แผนพัฒนาที่ดินท่าเรือคลองเตยจะเริ่มต้นเฟสแรกคือแปลงที่ 1-4 ซึ่งแปลงไหนมีความพร้อม ก็จะลงมือพัฒนาก่อน ส่วนแปลงที่ใหญ่ที่สุดคือแปลงที่ 3 ซึ่งปัจจุบันเป็นตลาดคลองเตย อาคารพาณิชย์ให้เช่ารอบตลาด มีชุมชนคั่วพริกพักอาศัย และ ขสมก. เช่าที่อยู่

สำหรับอาคารพาณิชย์ให้เช่ารอบตลาดคลองเตย ปัจจุบันไม่ได้ต่อสัญญาแล้ว แต่เป็นการให้เช่าแบบรายเดือนแทน ส่วนตลาดคลองเตย ก็ได้ออกแบบ โดยยกตลาดมาไว้ในตึก มีพื้นที่ใหญ่กว่าเดิม 2.5 เท่า เพื่อรองรับผู้เช่าอาคารพาณิชย์เดิมด้วย

บทสรุปคือเป็นการ บริหารจัดการพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ สร้างพื้นที่ส่วนกลางสร้างปอดคนกรุงเทพฯ และการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดไปพร้อม ๆ กัน แต่ให้มีผลกระทบกับชุมชนน้อยที่สุด

"อย่างพื้นที่สวนสาธารณะ เราให้พื้นที่ 10% หรือประมาณกว่า 200 ไร่ จากทั้งหมด"

ก่อน หน้านี้มีการทำพลับลิกเคลียริ่ง รับฟังความเห็นคนในชุมชน และนำมา ปรับใส่เข้าไปในแบบศึกษา นอกจากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในมาสเตอร์แปลน โครงการจึงมีทั้งโรงเรียน สนามกีฬารวมอยู่ด้วย เรียกว่าทุกอย่างควรจะมี เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้จับมาใส่ไว้หมด

ส่วนที่อยู่อาศัยจะเป็น รูปแบบอพาร์ตเมนต์หรือแฟลตพักอาศัย ภายใต้ความคาดหวังว่าหากรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาชุมชนคลองเตยซึ่งเป็นชุมชน แออัดที่ใหญ่สุดได้ ก็จะกลายเป็น "โมเดล" ในการแก้ไขปัญหาชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

และ ถ้าสำเร็จ คำว่า "ชุมชนแออัดคลองเตย" จะถูกลบออกไป มีแต่เรสซิเดนเชียล ส่วนโจทย์ที่จะทำคู่กัน คือการ "ดาวน์ไซซ์" ลดขนาดพื้นที่การท่าเรือฯให้เล็กลง เพราะท่าเรือคลองเตยเป็นที่ดินใจกลางเมืองเกี่ยวเนื่องกับสีลมและอโศก ถ้ายิ่งใหญ่ ก็จะยิ่งเห็นว่าปัญหาเยอะขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีการดาวน์ไซซ์ท่าเรือคลองเตย ในขณะเดียวกัน ยังคงต้องใช้ประโยชน์ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม ซึ่งปัจจุบันท่าเรือคลองเตยมีปริมาณ "ตู้ผ่านท่า" (through put) ได้ปีละ 1.34 ล้านทีอียู (ตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต)

สำหรับแผนพัฒนาที่ดินท่า เรือคลองเตย จะเริ่มต้นได้ในรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ แต่อย่างน้อย การทำผลศึกษามาสเตอร์แปลน ก็ถือเป็น "จุดเริ่มต้นที่ดี" ปรับปรุงคุณภาพชีวิตคนในชุมชนคลองเตยให้ดีขึ้น และเป็นชุมชนที่อาจจะไม่มีใครเข้าไปแก้ไขปัญหา

"ผมไม่ได้ต้องการตอก เสาเข็มทุกต้นในโครงการนี้ แต่สิ่งที่หวังไว้ คือต้องการตอกเสาเข็มต้นแรกให้เกิดขึ้น และใครจะเข้ามารับช่วงต่อ ก็มีผลศึกษาไว้แล้ว"

เพราะในตอนสุดท้าย ถ้าคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีงานทำ เชื่อว่าทุกอย่างจะออกมาโอเค !
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 26-07-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.