| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 493 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 15-07-2553    อ่าน 11153
 สุชาติ ศิริโยธิพันธุ์ ปลดแอกบ้านเอื้อฯ นำ กคช. สู่องค์กรธรรมาภิบาล

สัมภาษณ์

กคช. (การเคหะแห่งชาติ) ท่ามกลางมรสุมโปรเจ็กต์บ้านเอื้ออาทร นับเป็นเวลากว่า 2 ปีเศษ ภายใต้การนำของ "สุชาติ ศิริโยธิพันธุ์" ผู้ว่าการคนปัจจุบันที่เป็น ลูกหม้อในองค์กร "ประชาชาติธุรกิจ" มีนัดสัมภาษณ์พิเศษเพื่อติดตามผลคืบหน้าการแก้ไขปัญหา ตลอดจนทิศทางรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ก่อนที่จะหมดวาระลงในอีก 1 ปีเศษ

ก่อนหน้านี้ ในปี 2546 กคช.ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการบ้าน เอื้ออาทร โดยรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายให้ก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย 6 แสนยูนิตภายใน 5 ปี นโยบายดังกล่าวนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ให้กับองค์กร จากที่เคยมีภาระหนี้ปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ได้เพิ่มเป็นภาระหนี้จากการดำเนินการกว่า 9 หมื่นล้านบาท

ต่อมารัฐบาลได้มีมติให้ปรับลดหน่วยก่อสร้างลงเหลือ 2.8 แสนยูนิตโดยประมาณ พร้อมกับยกเลิกโครงการบ้านเอื้อฯในทำเลที่ไม่มีศักยภาพกว่า 143 โครงการ เป็นผลทางตรงที่ทำให้ กคช.มีที่ดินเปล่า และโครงการสร้างค้าง หรือ Sank Cost ในมือกว่า 7,500 ไร่ มูลค่ากว่า 1.8 หมื่นล้านบาทที่ต้องเร่งสะสาง

ทั้งหมดนี้ เพื่อให้ กคช.กลับมายืนบนสถานะเดิม สถานะของการเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะ

"ผู้ว่าการสุชาติ" เปิดประเด็นว่า ปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทรได้มีการแก้ไขมาตลอดในช่วงเวลาที่ผ่านมา วันนี้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและคุมสถานการณ์ได้หมดแล้ว โดย กคช.สามารถชำระหนี้ในปี 2553 ก่อนกำหนดกว่า 4,000 กว่าล้านบาท รวมทั้งได้ชำระหนี้ล่วงหน้าของปี 2554-2555 อีกกว่า 2,000 ล้านบาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยจ่ายจาก 2,000 ล้านบาท เหลือปีละ 800 ล้านบาท และมูลหนี้ปัจจุบันเหลือประมาณ 60,000 ล้านบาท



อัพเดตความคืบหน้าโครงการบ้านเอื้อฯ ล่าสุดก่อสร้างแล้วเสร็จ 234,741 ยูนิต 237 โครงการ (รายละเอียดในตาราง) คาดว่าจะสามารถปิดการขายโครงการได้ทั้งหมดในปี 2556

ถือว่าเดินมาถึง "ครึ่งทาง" ของความพยายามฟื้นฟู กคช. จากโครงการบ้าน เอื้ออาทร

เมื่อมั่นใจว่าเริ่มกลับมา "แข็งแรง" และ "คุมเกม" ได้หมดแล้ว งานที่ทำคู่ขนานกันไปก็คือหันกลับมาพัฒนา "โครงการเคหะชุมชน" ในรูปแบบรัฐสวัสดิการตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งหน่วยงาน โดยโฟกัสไปที่การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับข้าราชการ ในรูปของอาคารเช่าและเช่าซื้อ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการให้กับหน่วยงานของภาครัฐหลาย ๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็น กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กรมทางหลวง กรมการบินพลเรือน ฯลฯ

ถามว่า "กลุ่มเป้าหมายหลัก" ของ กคช.คือใคร

"การพัฒนาโครงการของ กคช. จะกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ซื้อหลักมี 5 กลุ่ม คือ ก, ข, ค, ง, จ สัดส่วนการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มที่มีรายได้ต่ำมีประมาณ 80% คำนิยามของเราคือมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/เดือน/ครอบครัว จัดอยู่ในกลุ่ม ก-ข-ค ซึ่งมาร์จิ้นจะเป็น 0%"

อีก 2 กลุ่มคือ กลุ่ม ง-จ จะมีสัดส่วนประมาณ 20% ที่พัฒนาโครงการแข่งขันกับภาคเอกชน โดยมีมาร์จิ้นใกล้เคียงตลาด คือกรอสมาร์จิ้นประมาณ 30% และเน็ตมาร์จิ้น 10% เศษ จุดแข็งคือราคาขายที่ต่ำกว่าโครงการภาคเอกชนประมาณ 5-10% เมื่อเทียบทำเลต่อทำเล ฟังก์ชั่นต่อฟังก์ชั่น

เหตุผลที่ต้องมีกลุ่มเป้าหมาย "ง-จ" เพราะ กคช.ต้องการผลกำไรหล่อเลี้ยงองค์กรซึ่งมีความต้องการใช้งบประมาณดำเนินการ 2,000-3,000 ล้านบาท/ปี

คลุกวงในอยู่กับปัญหาบ้านเอื้ออาทร "ผู้ว่าการสุชาติ" สรุปบทเรียนแบบตรงไปตรงมาว่า "...ส่วนตัวผมมองว่าเป็นนโยบายที่ดี ที่ทำให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง สิ่งที่ผิดพลาดคือการกำหนดหน่วยก่อสร้าง 5 ปี 6 แสนยูนิต เป็นเป้าหมายที่รีบเร่งดำเนินการเกินไป จึงทำให้ที่ดินบางแปลงซื้อมาโดยไม่มีความเหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาในการลงทุน"

ถามถึงศักยภาพของ กคช. ถ้าหากว่ารัฐบาลในอนาคตต้องการให้ทำโครงการในรูปแบบบ้านเอื้อฯ "ผู้ว่าการ" ตอบว่าเป้าหมายการพัฒนาปีละ 5 หมื่นยูนิต น่าจะเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์กับผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง

"ในแง่ของการลงทุนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในลักษณะนี้ สำคัญที่สุดคือต้องมีขนาดทุนที่เหมาะสม ตอนนั้น กคช.มีทุนอยู่เพียง 3,000 ล้านบาท แต่ต้องทำโครงการมูลค่า 2 แสนล้านบาท ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพียงนิดเดียวอาจส่งผลกระทบต่อองค์กรได้ง่ายๆ..."

ปัญหาหนักอกอีกเรื่องหนึ่งคือ "Sank Cost" นโยบายใหม่ถอดด้ามของ กคช.ก็คือ เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมทุนในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อยกโครงการเพื่อนำไปเป็นอพาร์ตเมนต์ให้พนักงาน หรือ เข้ามาลงทุนกับ กคช. ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างเจรจาซื้อโครงการบ้านเอื้อฯ โซนวัดศรีวลีน้อย ประมาณ 1,200 ยูนิต จากยูนิตรวมกว่า 4,000 ยูนิตในโครงการเดียวกัน

ทั้งนี้ กคช.ได้คัด Sank Cost 67 โครงการ มูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 18,000 ล้านบาทมาดำเนินการสร้างต่อ คาดว่าจะสร้างหน่วยพักอาศัยได้มากกว่า 4.5 หมื่นยูนิต เป็นแผนพัฒนาภายใน 5 ปี (2554-2558)

Sank Cost ที่เหลืออีกประมาณ 5,000 ไร่ ยังต้องรอจังหวะการลงทุน คาดว่าต้องรอจังหวะหลัง 5 ปีไปแล้ว

สเต็ปต่อไปคือการสร้าง "วัฒนธรรมองค์กร" ให้มีความเข้มแข็ง เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล เพราะ "ผู้ว่าการสุชาติ" เชื่อว่า กคช.ในฐานะองค์กรธรรมาภิบาลจะกลายเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 15-07-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.