| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 347 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-07-2553    อ่าน 11300
 ตึก สูงกลางกรุงระทึกถูกเวนคืน กทม.ฟื้นโปรเจ็กต์ "อโศก-สารสิน" ผุดทางยกระดับ "สุขุมวิท-พระราม 9"

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต


โป รเจ็กต์ทางยกระดับบนถนนรัชดาภิเษก (อโศก-สุขุมวิท) และโครงการก่อสร้างเชื่อมต่อถนนสารสิน-รัชดาภิเษก หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า "โครงการอโศก-สารสิน" กำลังจะถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง หลังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำการศึกษาไปเมื่อปี 2548 ด้วยวงเงิน 30 ล้านบาท

กทม.จ้างที่ปรึกษา 60 ล้าน

งาน นี้ "สำนักการโยธา กทม." (กรุงเทพมหานคร) อยู่ระหว่างขอจัดสรร งบประมาณปี 2554 วงเงิน 60 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และงานสำรวจอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้น ภายใต้ชื่อโครงการใหม่ "การแก้ไขปัญหาจราจรถนนอโศกมนตรี จากถนนพระรามที่ 9 ถึงถนนสุขุมวิท"

"เพื่อแก้ปัญหาจราจรบนถนนเพชรบุรีและบริเวณโดย รอบอย่างถนนรัชดาภิเษก พระรามที่ 9 สุขุมวิท อโศก นอกจากสร้างทางยกระดับคร่อมถนนเพชรบุรีแล้วอาจจะไม่พอ เรากำลังจะจ้างที่ปรึกษาทบทวนโครงการ ว่าจะขยายถนนอโศก จากเดิม 4 เป็น 8 ช่องจราจร หรือจะสร้างทางยกระดับ 4 ช่องจราจรไป-กลับบนถนนรัชดาภิเษก จากศูนย์ประชุมฯสิริกิติ์ข้ามแยกสุขุมวิท เพชรบุรีแล้วตรงยาวมาลงที่หน้าฟอร์จูน" จุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

เหตุผลที่ ต้องมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งเพื่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด เพราะต้องมีการเวนคืนบางส่วนที่เขตทางแคบย่านอโศก ซึ่งต้องการใช้เขตทาง 29 เมตร ขณะที่ปัจจุบันถนนช่วงนี้กว้างแค่ 19 เมตร ยังต้องใช้เขตทางอีกข้างละ 4 เมตรเศษ เพื่อเพิ่มช่องทางและวางตอม่อ

นายจุมพลอธิบายต่อว่า ปัจจุบันแนวถนนรัชดาภิเษกมีอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ไม่สามารถวางโครงสร้างแบบเสาเดี่ยวบนเกาะกลางถนนได้ การจะสร้างโครงสร้างของทางยกระดับจะต้องคร่อมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน จึงอาจจะต้องมีการเวนคืนที่ดินช่วงฐานรากเพื่อวางตอม่อโครงสร้างของทางยก ระดับบริเวณริมถนนทั้ง 2 ฝั่งแทน จึงต้องเวนคืนที่ดินเพิ่ม

"โครงการ นี้มีความเป็นไปได้ที่จะได้ก่อสร้าง เพราะปัจจุบันย่านนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินบีทีเอส และแอร์พอร์ตลิงก์ มีคนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ขณะที่ปริมาณการจราจรบนถนนไม่ลดลง กลับคับคั่งขึ้น แม้ว่าจะใกล้แนวรถไฟฟ้า เพราะคนยังใช้รถยนต์ในการเดินทางยังเป็นปรากฏการณ์ที่สวนทางกัน"

สน ข.ศึกษา 3 ทางเลือก

สำหรับผลการศึกษาเดิมของ สนข.มี 3 ส่วน เริ่มจากส่วนที่ 1 มี 2 รูปแบบ คือ 1.1 เป็นโครงสร้างทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่บริเวณหน้าสถานทูตจีน ยกข้ามถนนพระรามที่ 9 ข้ามทางด่วนขั้นที่ 2 ข้ามแยกถนนเพชรบุรี เมื่อถึงบริเวณถนนสุขุมวิทจะยกข้ามโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่มีแนวเส้นทางอยู่บนถนนสุขุมวิท หลังจากนั้นจะลดระดับลงสู่ระดับดินบริเวณก่อนถึงสวนเบญจกิติเป็นจุดสิ้นสุด โครงการ ระยะทางรวม 3.9 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,550 ล้านบาท

1.2 เป็นการขยายถนนรัชดาภิเษกจากช่วงเพชรบุรี-สุขุมวิท ระยะทาง 2 กิโลเมตร จากเดิม 4 ช่องจราจรเป็น 6-8 ช่องจราจร จะต้องใช้เขตทางเพิ่ม ขณะที่ย่านอโศกตลอด 2 ข้างทางเป็นที่ตั้งของตึกสูงจำนวนมาก ซึ่งในผลการศึกษาพบโครงการจะตัดผ่านที่ดินจำนวน 179 แปลง มีอาคารสิ่งปลูกสร้างจำนวน 24 หลัง วงเงินกว่า 490 ล้านบาท ค่าก่อสร้างประมาณ 640 ล้านบาท

ส่วนที่ 2 โครงการเชื่อมต่อถนนสารสิน-รัชดาภิเษก จุดเริ่มต้นจะเริ่มบนถนนสารสินบริเวณใกล้ทางแยกตัดกับถนนราชดำริ ยกระดับข้ามแยกหลังสวน ถนนวิทยุ วางแนวตามแนวคลองไผ่สิงโต ข้ามทางด่วนขั้นที่ 1 ผ่านโรงงานยาสูบ บรรจบกับถนนรัชดาภิเษก ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ขนาดถนน 4-6 ช่องจราจร มีเขตทาง 40-45 เมตร ใช้งบฯก่อสร้าง 870 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินและอาคารประมาณ 2,818 ล้านบาทเศษ เป็นที่ดิน 13 แปลง อาคาร 199 หลัง

และส่วนที่ 3 โครงการเชื่อมต่อถนนสารสิน-ถนนรัชดาภิเษก กับทางพิเศษเฉลิมมหานครหรือทางด่วนขั้นที่ 1 ค่าก่อสร้าง 959 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินและอาคาร สิ่งปลูกสร้างประมาณ 3,333 ล้านบาทเศษ เป็นที่ดิน 9 แปลง อาคาร 141 หลัง

ส่วนแบบที่ กทม. "รีวิวใหม่" จะแตกต่าง หรือเพิ่มเติมจากของเดิมที่ สนข.ศึกษาไว้มากน้อยแค่ไหน ต้องติดตามต่อไป
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 05-07-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.