| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 83 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-06-2553    อ่าน 11577
 เท 4 พัน ล.บูมโครงข่ายโซนตะวันออก ถนน 8 เลน "พหลโยธิน 50" ทะลุ "นิมิตรใหม่"

คอลัมน์ เวนคืน อัพเดต




กว่า 10 ปีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ใช้เวลาในการผลักดันถนนสายรอง "พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช-นิมิตรใหม่" ระยะทางกว่า 15 กิโลเมตร หลังจากรอคอยมานาน ล่าสุดได้ฤกษ์ก่อสร้างสักที โดย กทม.จะนำร่องก่อสร้างช่วงที่ได้ขอกระชับพื้นที่คืนจากเจ้าของที่ดินเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว 100% คือช่วงจากปากซอยพหลโยธิน 50 ไปสิ้นสุดที่ถนน ก.ม.11 ย่านวัชรพล

"จุมพล สำเภาพล" ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา กทม.ได้ลงนามสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมา

คือ บริษัท สหวิศวก่อสร้าง จำกัด วงเงิน 896 กว่าล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป จะใช้เวลา

ก่อสร้างประมาณ 2 ปี แล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม 2555

แนวเส้นทางเริ่มจากถนนพหลโยธินบริเวณ ซอย 50 (ข้างบิ๊กซี สาขาสะพานใหม่) ตัดผ่านคลองลำผักชี หมู่บ้านสินทรัพย์นคร ผ่านหมู่บ้านเทพนครนิเวศน์ ผ่านบริเวณคลองลำหนองจอกและคลองกะเฉดมาบรรจบกัน ผ่านหมู่บ้านอนันต์สุขสันต์ ตรงไปตัดผ่านคลองบัวไปบรรจบถนนรัตนโกสินทร์สมโภชบริเวณโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สมโภช และบริเวณซอยวัชรพล สิ้นสุดแนวสายที่ถนน ก.ม.11 บริเวณคลองหนองบัวบาน



รูป แบบโครงการเป็นการตัดถนนใหม่ตลอดเส้นทาง เพื่อเชื่อมระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนรัตนโกสินทร์สมโภช ก่อสร้างเป็นทางขนาด 6-8 ช่องจราจร เขตทางกว้าง 40 เมตร ระยะทาง 5.25 ก.ม. พร้อมก่อสร้างทางยกระดับในแนวถนน ก.ม.11 อีกประมาณ 1.3 ก.ม. รวมระยะทางทั้งหมด 6.55 ก.ม.

ส่วนช่วงจากถนนรัตนโกสินทร์สมโภช-นิ มิตรใหม่ อีก 9 กิโลเมตร ผู้อำนวยการสำนักการโยธากล่าวว่า กทม.จะเดินหน้าก่อสร้างแน่นอน เนื่องจากต้องการให้เป็นเส้นทางต่อยอดเชื่อมกับถนนพหลโยธิน-รัตนโกสินทร์ สมโภช ซึ่งปัจจุบันโครงการมีความคืบหน้าไปมาก

"นับจากที่ลงมือเวนคืน ที่ดินมาประมาณ 1 ปีครึ่ง เวนคืนที่ดินได้แล้ว 60% ยังเหลืออีก 40% แต่ไม่เป็นปัญหาต่อการเปิดประมูลก่อสร้าง โดยโครงการนี้ กทม.เตรียมจะขอจัดสรรงบประมาณใน ปี 2555 จะใช้งบฯก่อสร้างประมาณ 3,800 ล้านบาท เป็นค่าเวนคืน 2,000 กว่าล้านบาท ที่เหลือเป็นงานก่อสร้าง รวมเบ็ดเสร็จ 16 กิโลเมตร ใช้งบฯก่อสร้างกว่า 4,000 ล้านบาท"

โดย ช่วงนี้แนวเส้นทางเริ่มจากจุดต่อเชื่อมบริเวณจุดสิ้นสุด "พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช บริเวณถนนสุขาภิบาล 5 หรือถนน ก.ม.11 จากนั้นแนวเส้นทาง จะตัดผ่านชุมชนที่กระจายตัวไปทางทิศตะวันออก ผ่านคลองท่าแร้ง คลองหนองบัวมน ถนนวงแหวนรอบนอกสายตะวันออก คลองบึงพระยาสุเรนทร์

จากนั้นคร่อมไปตามคลองสามตะวันตก ตัดผ่านบริเวณหมู่บ้าน เค.ซี. รามอินทรา 1 และถนนหทัยราษฎร์ จากนั้นตัดผ่านคลองสาม เชื่อมกับถนนนิมิตรใหม่ บริเวณวัดสุทธิสะอาด ข้ามฝั่งไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดโครงการที่ถนนนิมิตรใหม่ ระยะทางรวม 9 กิโลเมตร ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2-3 ปี

"ถนนเส้นนี้หากเสร็จจะอำนวย ความสะดวกในการจราจรให้กับโซนตะวันออกของกรุงเทพฯได้มาก เพราะคนอาศัยอยู่เยอะในพื้นที่เขตบางเขน คลองสามวา สายไหม มีนบุรี เป็นต้น จะเสริมโครงข่ายถนนสายหลักอย่างถนนรามอินทรา พหลโยธิน สามารถเดินทางไปลำลูกกา สุวินทวงศ์ คู้บอน รามอินทรา หทัยราษฎร์ คลองสามวา มิตรไมตรี ฯลฯ ได้หมด"

อย่างไรก็ตาม ต่อไปย่านนี้จะเป็นที่ทำเลใหม่ที่น่าจับตามองของผู้ประกอบการบ้านจัดสรร เนื่องจากเป็นการตัดถนนใหม่ 6-8 ช่องจราจร เท่ากับเปิดทำเลใหม่ตลอด 2 ข้างทางของถนนเส้นนี้ให้มีการพัฒนาได้อย่างเต็มที่มากขึ้น เพราะตลอดแนวเส้นทางทั้งสองข้างทางยังมีพื้นที่ว่างสำหรับการพัฒนาโครงการ ใหม่ ๆ อีกมาก

ส่วน "ราคาที่ดิน" ผู้อำนวยการสำนักการโยธาบอกว่า แพงขึ้นเป็นเงาตามตัวแน่นอน ในอีก 2 ปีข้างหน้า
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-06-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.