| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 111 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-06-2553    อ่าน 11173
 AP รุกสร้างโมเดลอสังหาฯ สกัดภาพเถ้าแก่สู่องค์กรยุคใหม่

บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ 1 ในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ติดอันดับ ท็อป 5 ของเมืองไทย ล่าสุดผลประกอบการไตรมาสแรก มีรายได้และผลกำไรติดท็อป 2 ของค่ายจัดสรรมหาชนในตลาดหุ้น ด้วยตัวเลขรายได้รวม 6,093 ล้านบาท เติบโต 123% มีกำไรสุทธิ 1,240 ล้านบาท เติบโต 204%

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "อนุพงษ์ อัศวโภคิน" ซีอีโอของ AP กับ 2 คำถามแรกคือ จลาจลกลางเมืองกรุงมีผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ รวมทั้ง AP จะมีการ "รีวิว" แผนลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ 17 โครงการ มูลค่ารวม 27,580 ล้านบาทหรือเปล่า

"เฮียตี๋" อนุพงษ์ ตอบคำถามถึงมุมมองธุรกิจอสังหาฯในช่วงครึ่งปีหลังว่า เหตุการณ์จลาจลจะ "มีหรือไม่มี" ธุรกิจเรียลเอสเตตก็อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ ตอนนี้วงการกำลังถึงจุดเปลี่ยน จากรูปแบบที่ "เถ้าแก่" เป็นเจ้าของ มาสู่ธุรกิจที่เป็นบริษัทมืออาชีพจริง ๆ เพราะบริษัทมียอดขาย 1-2-3 หมื่นล้านบาท เถ้าแก่คนเดียวเคาะคนสุดท้ายไม่ไหว ต้องเป็นระบบมืออาชีพจริง ๆ เท่านั้น

ตัวขับเคลื่อนที่บังคับให้ต้องปรับตัวคือลูกค้า พฤติกรรมบริโภคทุกวันนี้โหดมาก ตัวอย่างคอนโดมิเนียม พฤติกรรมเปลี่ยนทุก 6 เดือน

ส่วนการรีวิวแผนลงทุน "อนุพงษ์" อธิบายว่า เป็นประเด็นที่สื่อมวลชนตั้งคำถามกันเยอะ "คอนซูเมอร์โปรดักต์ก็ไม่ปรับแผน แบงก์ก็ไม่ปรับแผน เราต้องเป็นเหมือนแมเนจเมนต์ฝรั่ง แผนปรับไม่ได้หรอก แต่วิธีการทำงานทำยังไงให้เข้าถึงเป้าหมาย เราดูกันทุกอาทิตย์ เพราะตลาดมีอะไรเปลี่ยนตลอดเวลา"

ในส่วนของ AP บริษัทกำลังมีปัญหาเรื่องโปรดักต์ จากปกติที่สัดส่วนการพัฒนาโครงการแนวราบกับแนวสูงจะเป็นครึ่งต่อครึ่ง แต่ปีนี้มีโปรดักต์เหลือขายเพียง 7,000 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อจะบาลานซ์พอร์ตลงทุนจำเป็นจะต้องมีการลงทุนโครงการใหม่ แบ่งเป็นแผนลงทุนบ้านเดี่ยว 10,850 ล้านบาท ทาวน์เฮาส์ 7,130 ล้านบาท และ คอนโดฯอีก 9,600 ล้านบาท

ขณะที่กลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็น ไวต์คอลลาร์ โปรดักต์ราคาเฉลี่ย 3-6 ล้านบาท/ยูนิต เมื่อใดที่เศรษฐกิจ "พัง" อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (รีเจ็กต์เรต) ซื้อบ้านตลาดล่างจะสูงมาก "ผมต้องขอร้องจุดธูปทุกวัน เศรษฐกิจอย่าพัง ถ้าเศรษฐกิจพัง อยู่ตลาดไหนก็พัง..."

มุมมองของเขาคือ วันนี้การแข่งขันอสังหาฯรุนแรงจริง ๆ ทุกคนถ้าต้องการ จะโตและมียอดขายหมื่นล้านบาท จะต้องทำ 2 เรื่อง คือ 1.โปรดักต์ ต้องทำทุกประเภทสินค้า กับ 2.ราคา ต้องทำทุก เซ็กเมนต์ราคา จะเจาะตลาดใดตลาดหนึ่งไม่ได้ เพราะทุกสินค้ามี "แฟน" เป็นของตัวเอง

"สมัย ก่อนเวลาจะวางแผนพัฒนาโครงการ จะแบ่งลูกค้าตามเดโมกราฟิก แต่วันนี้ต้องแบ่งตามไซโคกราฟิก เน้นเรื่องจิตวิทยา ตัวอย่าง คนอายุ 35 ปีเหมือนกันแต่ชอบไม่เหมือนกัน ไม่ใช่แค่ไลฟ์สไตล์ แต่มันลึก ๆ เปรียบเทียบกับคนเดิน พารากอนเหมือนกัน แต่คิดไม่เหมือนกัน"

โป รดักต์ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ ทำให้ "ความต้องการ" ลูกค้าก็หลากหลายตามไปด้วย วิธีรองรับของ AP คือใช้เม็ดเงินปีละ 50-100 ล้านบาท จัดตั้งทีม commercial unit ขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ ภารกิจหลักคือจะเป็นทีมที่ดูแลทุกจุดสัมผัสของลูกค้า ผ่านรูปแบบ "คอลเซ็นเตอร์"

เรากำลังเข้าสู่ประเด็นสำคัญของการ "เปลี่ยนผ่าน" องค์กรของ AP เมื่อ "อนุพงษ์" เฉลยว่า อสังหาริมทรัพย์ที่เหนื่อยหนักที่สุดมี 2 เรื่อง 1.ผลิตคนไม่ทัน กับ 2.เป็นธุรกิจที่โตจากอุตสาหกรรมที่ ไม่ได้มีระบบมาตรฐานให้ดูเป็นต้นแบบ

ดัง นั้นการไล่ล่ามืออาชีพ (hunt) จึงเป็นสิ่งจำเป็น

"เรื่องระบบ ผมพยายามหาความรู้ให้ ตัวเอง ตกใจมาก ๆ ที่พบว่ามีอีกส่วนงานหนึ่งที่คนไทยไม่สร้างคนไว้เลยคือเรื่อง HR ผมสัมภาษณ์คนเพื่อจะหาซักเซสเซอร์ที่จะทำงานให้องค์กร 20-30 คน แต่ผมหา ไม่ได้ วันนี้ผมต้องรักษาการ HR (chief people officer) เอง"

HR ในมุมมองของเขา จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจกลยุทธ์องค์กร และจะจัดหา "คน" เพื่อทำให้กลยุทธ์องค์กรประสบความสำเร็จ "HR ไม่มีวันจบ เป็นสแตรทิจิก ทุกบริษัทต้องรีออร์แกไนเซอร์ตัวเองทุก 3 ปี ถ้าเป็นบริษัทที่กำลังโต เพราะยอดขายไม่เท่าเดิม พนักงานไม่เท่าเดิม จะไม่รีออร์แกไนเซอร์ได้อย่างไร"

กลยุทธ์ HR ของ AP ทำอะไรไปแล้วบ้าง สิ่งที่พบคือมีการดึงมืออาชีพนอกวงการเข้ามาเสริมทีมในระนาบผู้บริหาร แผนรีออร์แกไนเซอร์ 3-4 ปีที่ผ่านมา บริษัททุ่มปีละ 40-50 ล้านบาท ร่วมกับพันธมิตร "APM Group" ในการจัดหลักสูตร personal coaching เพื่อสร้างคนในองค์กรให้ "คิดอย่างเป็นระบบ"

วิธีการที่แตกต่างของ AP คือเลือกที่จะ hunt มืออาชีพจากนอกวงการ เพราะต้องการหลักคิด-หลักการทำงานที่เป็นระบบ หรือ template ของแต่ละองค์กร เข้ามาเป็นส่วนผสมใหม่ใน AP

ล่าสุดมีมืออาชีพด้านการตลาดจากนอกวง การเข้ามาสังกัด AP แล้ว 6 คน โดยมี "วิทการ จันทวิมล" อดีตมือดียูนิลีเวอร์และประกันภัยซิกน่า เข้ามารับตำแหน่ง "ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายการตลาด" หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นหัวหน้าทีม

"ดึง คนนอกเข้ามา 2 เดือนแรก ผมจะเป็นโค้ชด้วยตัวเอง จากนั้นมืออาชีพ ที่ดึงเข้ามาจะต้องรับหน้าที่โค้ชชิ่งต่อไปยังลูกน้องในสายงาน เพราะคนของเราจำเป็นต้องหาคนมาเติมเต็มเรื่อง management knowledge ด้านอสังหาฯที่เป็นระบบ"

ควบคู่กันไปก็คือปฏิบัติการสร้างคนในองค์กร เป้าหมายในใจของซีอีโอ AP คือ จะกำหนดเป้าให้แต่ละแผนก แต่ละฝ่าย นำเสนอรายชื่อ "ซักเซสเซอร์" ขึ้นมา เป็นช่วงของการลองผิดลองถูกเพื่อ บทสรุปสุดท้าย AP จะเปลี่ยนผ่าน ไปสู่การเป็นบริษัทอสังหาฯมืออาชีพอย่าง ที่ต้องการ

เพราะอสังหาฯ วันนี้ คีย์ซักเซสคือเรื่องของ "คน" กับ "ความรู้ในองค์กร"
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 03-06-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.