| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 91 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-05-2553    อ่าน 11109
 BTS-จี แลนด์-อั่งเปาฯ กางโรดแมปล่าฝันขึ้นท็อปอสังหาฯ

แม้โร ดแมปจะแตกต่างกันแต่ ลึก ๆ แล้วเป้าหมายของยักษ์พัฒนาที่ดิน 3 ราย ทั้ง "บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้ง-แกรนด์ คาแนล แลนด์-อั่งเปา แอสเสท" ที่ฉวยจังหวะเข้าเป็นบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้วิธีเข้าตลาดทางอ้อม หรือแบ็กดอร์ลิสติ้ง ด้วยการเทกโอเวอร์บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันต่างมีเป้าหมายเหมือนกัน คือการเติบโตทางลัดสู่แถวหน้าของวงการอสังหาริมทรัพย์เมืองไทย

เพราะ ยุคที่ตลาดมีที่ยืนให้เฉพาะดีเวลอปเปอร์รายใหญ่อย่างเวลานี้ การก้าวไปตามสเต็ปนอกจากต้องใช้เวลานานแล้ว โอกาสที่จะไล่ทันคู่แข่งที่หลายรายแห่ขยายพอร์ตลงทุนและเร่งปั๊มยอดขายด้วย การสร้างสถิตินิวไฮอย่างต่อเนื่องคงทำได้ยาก การพลิกกลยุทธ์ขยายฐานธุรกิจให้โตเร็วโตลัดจึงกลายเป็นสูตรสำเร็จที่ถูกนำมา ใช้

"บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง" หรือเดิม บมจ.ธนายงนั้น หลังเทกโอเวอร์ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บริษัทลูก โดยเข้าถือหุ้นใหญ่ 94.60% ก็หวังจะใช้จุดแข็งทั้งของธนายงและบีทีเอสซีสร้างความได้เปรียบในตลาด ถือเป็นการผนึกกำลังสร้างดาวดวงใหม่ให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทต่างมีแลนด์แบงก์และโครงการอสังหาฯในมือจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ดินในแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส

ภาพจิ๊กซอว์ที่ "คีรี กาญจนพาสน์"บิ๊กบอสบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง วาดฝันไว้ และถือเป็นบิสซิเนสโมเดลใหม่หลังแปลงร่างเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ คือการแบ่งโครงสร้างธุรกิจเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ได้รับสัมปทานจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) การรับจ้างบริหารจัดการการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบีทีเอสทั้งในปัจจุบันและ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รถเมล์บีอาร์ที ที่ กทม.ว่าจ้างให้ BTSC บริหารจัดการ

2.กลุ่มธุรกิจอสังหาฯจะเน้นพัฒนาโครงการบนที่ดินของ BTSC ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในแนวรถไฟฟ้า BTS และแลนด์แบงก์ที่ธนายงมีอยู่ในมือ มูลค่ารวมกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ประเดิมด้วยการปั้นแบรนด์ แอ็บสแตร็กส์ (Abstracts) 2 โครงการแรกเป็นคอนโดฯสร้างค้างของ บมจ.แนเชอรัล พาร์ค ในทำเลพหลโยธิน มูลค่าการพัฒนาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และทำเลสุขุมวิท 66/1 จะเปิดตัวในเดือนมิถุนายนนี้

3.ธุรกิจให้เช่าพื้นที่โฆษณา ซึ่งจะ ดำเนินการภายใต้บริษัทวีจีไอ ทั้งในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและในห้างค้าปลีกทั่วไป และ 4.ธุรกิจให้บริการ อาทิ การให้บริการระบบตั๋วร่วม ธุรกิจ E-money การบริหารจัดการโครงการอสังหาฯอย่างโรงแรม ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ

แม้ ยังเหลือระยะทางอีกยาวไกลกว่า จะถึงจุดหมาย แต่หลังผนึก "ธนายง" และ "BTSC" เข้าด้วยกัน และนำหุ้น "BTS" เทรดในตลาดได้สำเร็จ เท่ากับว่า "บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง" เดินตามโรดแมป กว่าครึ่งทางแล้ว

ไม่ต่างไป จากที่ตระกูล "บุญดีเจริญ" ซึ่งมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับกลุ่มตระกูล "รัตนรักษ์" ที่เทกโอเวอร์ บมจ.มีเดีย ออฟ มีเดียส์ และกำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ หรือ "G Land" พร้อมกับย้ายหมวดจากธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์เป็นหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาฯให้ สอดรับกับธุรกิจหลักในอนาคต

ปัจจุบันกลุ่มนี้มีพอร์ตโครงการอสังหาฯ และที่ดินเปล่าคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4 หมื่นล้านบาท อาทิ โครงการบ้านหรูแกรนด์ คาแนล ดอนเมือง เนื้อที่เกือบ 300 ไร่ ซึ่งพัฒนาไปแล้วบางส่วน คือ โครงการพระราม 9 สแควร์ ซึ่งช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จะพัฒนาแบบมิกซ์ยูส มีทั้งคอนโดฯ ศูนย์การค้า โรงแรม มูลค่ารวม 1 หมื่นล้านบาท

โครงการไทม์ รีเจนซี่ บนที่ดิน 18 ไร่ ในทำเลสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพระราม 9 ซึ่งเดิมดำเนินการภายใต้ บจ.ไทม์ รีเจนซี่ มีทั้งที่อยู่อาศัยและศูนย์การค้ารวม 8 อาคาร เป็นอาคารสูง 17 ชั้น 4 อาคาร และ 26 ชั้น 4 อาคาร ถูกทิ้งร้างตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เช่นเดียวกัน และหลัง บจ.ไทม์ รีเจนซี่ ได้รับอนุมัติจากศาลล้มละลายกลางให้ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ ได้นำมาปัดฝุ่นเดินหน้าก่อสร้างเฟสแรกเป็นคอนโดฯแบรนด์ "เบ็ล อเวนิว" และมีแผนจะลงทุนออฟฟิศและศูนย์การค้าแบบ ครบวงจรเพิ่มในอนาคต

อย่าง ไรก็ตามที่ดินที่ตระกูล "บุญดีเจริญ" ซึ่งเคยสร้างอาณาจักร "ยูนิเวสท์แลนด์" เฟื่องฟูสุดขีดช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจหมายตาเป็นพิเศษ น่าจะเป็นที่ดินแปลงงามในทำเลไข่แดงกลางกรุง ขนาด 48 ไร่ เยื้องแดนเนรมิต ติดถนนพหลโยธินและวิภาวดีรังสิต ที่หลุดไปอยู่ในมือของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และกรมบังคับคดีเคยนำออกประมูลโดย ตั้งราคาเริ่มต้นไว้ที่ 1,126 ล้านบาท แต่ต่อมาถูกยกเลิกการขาย

เพราะถ้าซื้อคืนเข้าไว้ในพอร์ตได้สำเร็จ โอกาสที่จะนำมาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มมีสูงมาก ซึ่งจะทำให้พอร์ตลงทุนและรายได้ของ "G Land" สปริงขึ้นทันตาเห็น

เช่น เดียวกับเคสที่กลุ่มณุศาศิริ ภายใต้การนำของ "วิษณุ เทพเจริญ" และ "ศิริยา เทพเจริญ" เข้าถือหุ้นใหญ่ 80% ใน "อั่งเปา แอสเสท" หรือ "ไทยเกรียง กรุ๊ป" เดิม ซึ่งแม้วิธีการจะแตกต่างจาก 2 รายแรก แต่ผลลัพธ์ไม่ต่างกัน เพราะสุดท้าย "ณุศาศิริ" ก็สามารถเข้าเป็นน้องใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯทางอ้อมได้สำเร็จ

รายนี้ มีโครงการอสังหาฯในพอร์ต 5 โครงการ มูลค่าเกือบ 2.6 พันล้านบาท พร้อมกับวาดแผนลงทุนเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มในปีนี้มูลค่า 7.5 พันล้านบาท แยกเป็นโปรเจ็กต์แนวราบ 4 พันล้านบาท และแนวสูง 3 พันล้านบาท

เวลา นี้แม้ฐานการลงทุนของ "อั่งเปา แอสเสท" จะยังห่างไกลจากเป้าหมายที่วางไว้ คือติดท็อปไฟฟ์ของวงการอสังหาฯภายใน 2 ปีจากนี้ไป แต่ "วิษณุ" มั่นใจว่าจะสามารถเร่งสปีดไต่อันดับขึ้นแท่นเป็นระดับบิ๊กได้ไม่ยาก โดยพร้อมจะงัดกลยุทธ์ Pricing เปิดสงครามราคาดูดลูกค้าแบบมวยไฟติ้ง ไม่หวั่นเกรงศักดิ์ศรีคู่แข่งทั้งรายใหญ่-รายเล็ก

ต้องจับตาดูว่า ค่ายไหนจะเดินตามโรดแมปถึงเส้นชัยก่อนกัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 17-05-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.