| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 83 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-05-2553    อ่าน 11079
 ''รถไฟ ชานเมืองสีแดง'' แจกโบนัส เพิ่ม 2 สถานี ยืดทาง 10 ก.ม.ใช้งบฯ 4 พันล้าน

ข่าวดีสำหรับคนกรุงกับจังหวัดนนท์ หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจกโบนัสด้วยการตัดสินใจใช้งบฯ 4,000 ล้านบาท สร้างสถานีเพิ่มจาก 3 เป็น 5 สถานีในแนวเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) เท่านั้นไม่พอ ยังมีการ ยืดระยะทางออกไปอีก 10 กิโลเมตร จากปลายทาง "ตลิ่งชัน" กิโลเมตรที่ 15 ไปสิ้นสุดที่ "ศาลายา" ทำให้มีระยะทางรวม 25 กิโลเมตร

ส่วน สถานีใหม่แกะกล่อง 2 สถานี สถานีแรก "พระราม 6" (สถานีรถไฟ บางซ่อนเดิม) ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานพระราม 6 ฝั่งพระนคร ระหว่างกึ่งกลางสถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบางซ่อน สถานีที่ 2 "สถานีบางกรวย-กฟผ."อยู่เชิงสะพานพระราม 7 ฝั่งจรัญสนิทวงศ์ เสริมจาก 3 สถานีเดิม "บางซ่อน-บางบำหรุ-ตลิ่งชัน" ค่าออกแบบ 18 ล้านบาท/สถานี ค่าก่อสร้างสถานีละ 530 ล้านบาท

โดยสถานี "บางกรวย-กฟผ." ได้รับเงินสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯเรียบร้อยแล้ว ส่วน "สถานีพระราม 6" ร.ฟ.ท. จะต้องใช้เงินของตัวเองทั้งค่าออกแบบ และก่อสร้างสถานี 2 แห่ง

"เร็ว ๆ นี้จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติก่อนถึงจะเริ่มดำเนินการได้ การออกแบบใช้เวลา 4 เดือน ส่วนการก่อสร้างจะเสร็จพร้อมกับงานก่อสร้างเดิมในวันที่ 15 มกราคม 2555" นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าว

ปลัดกระทรวงคมนาคมขยาย ความอีกว่า สาเหตุที่ต้องสร้างสถานีเพิ่มเพื่อรองรับ การเดินทางของคนบางกรวยและพื้นที่ ใกล้เคียงที่มีอยู่ประมาณ 1 แสนคน/วัน ให้ครอบคลุมและสะดวกในการเข้ามาใช้บริการมาก เนื่องจากตำแหน่งสถานีเดิมมีระยะทางห่างกันมาก 5 กิโลเมตร/สถานี

ขณะ ที่การก่อสร้างและออกแบบ "สุพจน์" บอกว่า ใช้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเดิม (กลุ่มทีมคอนซัลติ้ง แอนด์ แมเนจเม้นท์) ส่วนผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่มกิจการ ร่วมค้า "ยูนิค-ชุนโว" เจ้าเก่า เพราะเป็นงานส่วนเพิ่มเติม ส่วนต่อขยายใหม่ออกไปยังชั่งใจ จะใช้บริการรายเดิมหรือประมูลใหม่

ว่ากันว่าไม่ว่าจะเปิดบิดใหม่หรือ จ้างโดยวิธีพิเศษ ค่าย "ยูนิค" ของ "เฮียประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย" น่าจะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ในกระทรวงหูกวางกับอาเฮียนั้น ช่างไม่ธรรมดาจริง ๆ ไม่อย่างนั้นคงไม่มีชื่อ "ยูนิค" ติดโผชิงดำประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) วงเงินกว่า 5.2 หมื่นล้านบาทง่าย ๆ

ก่อนหน้านี้ "ยูนิค" นอกจากได้งานก่อสร้างรถไฟสายสีแดง 8,749 ล้านบาท ยังได้งานถมทรายที่ ร.ฟ.ท.คำนวณผิด หายไปกว่า 1 แสนคิว กลับคืนมาอีกกว่า 300 ล้านบาท รวมตัวเลขกลม ๆ เฉียดหมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตามถึงแม้ ร.ฟ.ท.พยายามใช้วิธีลัดหาผู้รับเหมาเร่งงานก่อสร้างให้เสร็จตามกำหนดเดือน มกราคม 2555 แต่ยังเปิดใช้บริการไม่ได้ ต้องรอไปอีก 5 ปีโน่น เพื่อจะ "รอ" จนกว่าช่วงบางซื่อ-รังสิต แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการพร้อม ๆ กัน เนื่องจากทั้ง 2 ช่วงนี้การออกแบบต้องใช้ระบบและการเดินรถด้วยกันโดยมาเชื่อม ต่อกันที่สถานีกลางบางซื่อ (เงื่อนไขไจก้า ซึ่งเป็นเจ้าของเงินกู้)

นั่น หมายความว่ารถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเปิดให้บริการพร้อมกันปลายปี 2557 หรือไม่ก็ต้นปี 2558
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-05-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.