| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 41 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 12-04-2553    อ่าน 11434
 ครึ่ง ทางรถไฟฟ้า บางซื่อ-ตลิ่งชัน คืบหน้า 22% ติดรื้อย้าย 584 หลัง

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต




หากเป็น ไปตามกำหนดสัญญา ที่ทำไว้ร่วมกัน ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เจ้าของโครงการและกลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิค-ชุนโว ผู้รับเหมาก่อสร้าง ในวงเงินก่อสร้าง 8,748 ล้านบาท

นับถอยหลังจากนี้ไปอีก 1 ปี 9 เดือน งานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จ

ผ่านมาครึ่งทางจากวันที่ผู้รับ เหมา เริ่มตอกเสาเข็มเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ปัจจุบันงานก่อสร้าง โดยรวมคืบหน้า 22%

"งานก่อสร้างยังอยู่ใน แผนงาน ยังไม่มีความล่าช้าเกิดขึ้น และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามกำหนดวันที่ 19 มกราคม 2555 ตามสัญญา" แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

แม้ ว่าขณะนี้บริษัท ยูนิค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ชุนโว จะเกิด มีปัญหาภายในจนเกิดเป็นข้อพิพาท ฟ้องร้องกัน จนมีหลายคนเป็นห่วงว่า จะเกิดผลกระทบชิ่งต่อโครงการก่อสร้าง จนอาจจะทำให้โครงการสะดุดกลางคันได้ เพราะยังเหลืองานก่อสร้างอีกกว่า 80%

แหล่ง ข่าวจาก ร.ฟ.ท.ยืนยันว่า เป็นเรื่องภายในของทั้ง 2 บริษัท ไม่เกี่ยวกับ ร.ฟ.ท. และไม่คิดจะมีผลกระทบต่องานก่อสร้าง ขณะนี้ยังเดินหน้าเป็นปกติดี

สำหรับ ผลงานก่อสร้าง ปัจจุบัน ผู้รับเหมาได้เริ่มงาน ในส่วนงานเสาเข็มเจาะ งานฐานราก งานเสา งานก่อสร้างทางรถไฟระดับดิน บางพื้นที่เริ่มเห็นโครงตอม่อบ้างแล้ว ส่วนถนนเลียบทางรถไฟกำลังเริ่มถมทราย

ขณะที่งานรื้อย้ายผู้บุกรุกในพื้นที่โครงการ จากทั้งหมดจำนวน 3,344 หลัง ล่าสุดได้รื้อย้ายแล้วเสร็จจำนวน 2,760 หลังคาเรือน ยังเหลืออีก 584 หลังคาเรือน และได้นำสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยโดยศาลยุติธรรม จนได้ข้อตกลงยอมความกันแล้ว 2,800 หลัง จากทั้งหมดจำนวน 3,300 หลัง

ส่วน การสร้างสถานีเพิ่ม 1 แห่ง ที่บางกรวย จากเดิม 3 สถานี คือ บางซ่อน บางบำหรุและตลิ่งชัน ความคืบหน้าล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อให้ กฟผ. เป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งค่าก่อสร้างและออกแบบ วงเงิน 500 กว่าล้านบาท เมื่อได้ข้อยุติ ศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและออกแบบ รายละเอียดต่อไป ซึ่ง ร.ฟ.ท.ยืนยัน อีกเช่นกัน จะไม่ทำให้โครงการล่าช้า

ข้อมูลจำเพาะของโครงการรถไฟ ฟ้า สายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน แนวเส้นทาง จะเริ่มจากจุดก่อสร้างทางรถไฟ ทางเหนือของสถานีบางซื่อ 2 ประมาณ 800 เมตร แล้ววิ่งขนานไปกับแนวทางรถไฟสายใต้ ในปัจจุบัน โดยเป็นทางยกระดับจากบางซื่อไปถึงบางบำหรุ และเริ่มลดระดับที่ ก.ม.7+850 ลงสู่ระดับพื้นดิน จากสถานีบางบำหรุจนกระทั่งสิ้นสุดปลายทางบริเวณจุดตัดถนนสวนผัก

ด้าน รูปแบบโครงสร้างที่ ร.ฟ.ท. ออกแบบไว้ ในส่วนของระบบดิน จะเริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนสวนผัก ไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ผ่าน ถนนราชพฤกษ์ ข้ามคลองบางกอกน้อย ไปจนถึงซอยหมู่บ้านภาณุรังสี

จากนั้นจะยกเป็นโครงสร้างยกระดับ ข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนประชาชื่น ข้ามคลองประปา สิ้นสุดที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

เพื่อ เป็นการอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่ให้สามารถเข้าออกโครงการได้สะดวก จะมีการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟหรือโลคอลโรด จะก่อสร้างตลอดแนว 2 ข้างทางรถไฟ

แบ่งเป็น 2 ช่วง รวมระยะทาง 21.76 กิโลเมตร โดยช่วงที่ 1 เริ่มต้นที่บริเวณถนนประชาชื่น วิ่งเลียบทางซ้ายของ ทางรถไฟสายปัจจุบันไปสิ้นสุดก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนประชาราษฎร์ ช่วงที่ 2 จะเริ่มต้นที่บริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ วิ่งเลียบ 2 ข้างทางรถไฟผ่านสถานีบางบำหรุ สถานีตลิ่งชันไปสิ้นสุดที่บริเวณถนนสวนผัก ก่อนถึงสถานี บ้านฉิมพลี

หากไม่มีอะไรที่ทำให้โครงการต้องขยาย เวลาไปอีกเหมือนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ทาง ร.ฟ.ท.ประเมินว่าในปีเปิดใช้บริการ จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ ไม่น้อยกว่า 60,000 คน/วัน และจะเป็น ตัวช่วยให้การจราจรเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯและฝั่งธนบุรีสะดวกสบายยิ่งขึ้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 12-04-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.