| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 63 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-03-2553    อ่าน 11233
 รฟม.ลัด คิว ''ม่วงส่วนใต้-ชมพู'' รับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ-รัฐสภาใหม่

ปัญหาความล่าช้าในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่ขั้นตอนในการผลักดันโครงการ ไปจนถึงการเวนคืนที่ดิน รวมทั้งนโยบายภาครัฐ ทำให้เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มี "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน มีแนวโน้มว่าโครงการรถไฟฟ้าบางเส้นทางอาจล่าช้าไปจากแผน เพราะต้องขยับปรับเปลี่ยนแผนงานใหม่

ม่วง "บางซื่อ-บางใหญ่" ยืนเปิด ส.ค. 57

เริ่มที่สายนำร่อง "สีม่วง" ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ 23 กิโลเมตร วงเงิน 36,055 ล้านบาท ซึ่งผู้รับเหมาลงพื้นที่ตอกเสาเข็มเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างก่อสร้างทั้ง 3 สัญญา จะแล้วเสร็จมีนาคม 2556

ปัจจุบันงานก่อสร้างเป็นไปตามแผนงาน คืบหน้า 1% จะเริ่มเห็นงานโครงสร้างตั้งแต่เมษายนนี้ ส่วนการเวนคืนคืบหน้า 90% การก่อสร้าง 3 ปีครึ่งจึงไม่น่าจะมีปัญหา

ขณะที่งานส่วนที่ เหลือ ในส่วนสัญญาที่ 5 งานระบบรถไฟฟ้า (เตาปูน-บางซื่อ) กำลังเจรจากับ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีเอ็มซีแอล ผู้รับสัมปทานเดินรถสายเดิมให้เป็นผู้ลงทุน สัญญาที่ 6 งานระบบราง 3,633 ล้านบาท องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ยืนยัน ให้เงินกู้แล้ว จะเซ็นเงินกู้งวดที่ 2 สิ้นเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะรวมเม็ดเงินในส่วนนี้ด้วย คาดว่าจะเซ็นสัญญาก่อสร้างได้เดือนพฤศจิกายน 2554

ส่วนการเดินรถวง เงิน 13,243 ล้านบาท กำลังดำเนินการคัดเลือกชนมาลงทุนในลักษณะ PPP gross cost โดยรัฐลงทุนด้านโยธา เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า รัฐจะจัดเก็บค่าโดยสาร และว่าจ้างเอกชนเดินรถ ออกประกาศเชิญชวนได้สิงหาคมนี้ จะเปิดบริการตามกำหนดเดิมเดือนสิงหาคม 2557



น้ำเงิน เปิดบริการ ก.พ. 59

ส่วนต่อขยาย "สีน้ำเงิน" ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค 27 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 52,257 ล้านบาท จะเปิดให้ผู้รับเหมาทั้ง 25 รายยื่นซองประมูลทั้ง 3 ซอง (คุณสมบัติ-เทคนิค-ราคา) 29 เมษายนนี้ มี 5 สัญญา

1.ว่าจ้างออกแบบ ควบคู่การก่อสร้าง เส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย 2.8 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 2 แห่ง ระยะเวลา 1,890 วัน วงเงิน 11,592.99 ล้านบาท 2.การจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้าง เส้นทางใต้ดิน ช่วงสนามไชย-ท่าพระ 2.6 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 2 แห่ง ระยะเวลา 1,890 วัน 10,766.60 ล้านบาท

3.การ จ้างก่อสร้างเส้นทางยกระดับ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ 11 กิโลเมตร สถานี ยกระดับ 8 แห่ง สะพาน 1 สะพาน ระยะเวลา 1,640 วัน 11,352.75 ล้านบาท 4.การจ้างก่อสร้างเส้นทางยกระดับ ช่วงท่าพระ-หลักสอง 10.5 กิโลเมตร สถานี ยกระดับ 7 แห่ง ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 ศูนย์ อาคารจอดแล้วจร 2 หลัง 1,640 วัน 13,390.34 ล้านบาท 5.การจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบรางรถไฟฟ้าทั้ง 70 กิโลเมตร 1,890 วัน 5,153.94 ล้านบาท

ซึ่งโครงการนี้ รฟม.ใช้เงินกู้ในประเทศ ขั้นตอนต่าง ๆ จะรวดเร็วไม่ใช้เวลานานเหมือนสายสีม่วงที่ต้องรอการอนุมัติจาก ไจก้า จะได้ตัวผู้รับเหมาเร็วขึ้น คาดว่าเซ็นสัญญาได้เดือนตุลาคม 2553 เริ่มก่อสร้างพฤศจิกายน 2553 จะแล้วเสร็จเปิดบริการได้เดือนกุมภาพันธ์ 2559

แบ ริ่งประมูลกลางปี-สะพานใหม่สิ้นปี

ด้านส่วนต่อขยายสีเขียว 2 ช่วง วงเงินลงทุนกว่า 6 หมื่นล้าน เลื่อนไปจากแผนเดิม 8 เดือน โดยช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ หลังกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไม่ยอมให้ใช้พื้นที่เขตบางเขน และเปลี่ยนแปลงที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงจากฐานทัพอากาศดอนเมืองไปลำลูกกาคลอง สอง ต้องปรับแบบใหม่ เลื่อนการเปิดประมูลจากกลางปีนี้เป็น ปลายปีแทน เริ่มก่อสร้างสิงหาคม 2554 เปิดบริการธันวาคม 2558

ส่วนช่วงแบ ริ่ง-สมุทรปราการ รฟม.กำลังจัดหาบริษัทที่ปรึกษาสำรวจเวนคืนที่ดิน เดือนเมษายนนี้น่าจะได้ตัวที่ปรึกษา จากนั้นเดือนมิถุนายนเปิดประมูล และเปิดบริการธันวาคม 2558

เร่งสปีด "สีชมพู" ให้เอกชนทำเทิร์นคีย์

ขณะที่ สายสีชมพู (แคราย-แจ้งวัฒนะ-มีนบุรี) 36 กิโลเมตร วงเงิน 38,730 ล้านบาท หลังศูนย์ราชการแห่งใหม่ แจ้งวัฒนะ เปิดให้บริการ รฟม.จะเลื่อนการก่อสร้างเร็วขึ้น จากเดิมในแผนแม่บทจะเปิดบริการปี 2562 โดยจะก่อสร้างเป็นระบบโมโนเรล

ขณะนี้มีแบบรายละเอียดเบื้องต้นแล้ว โดยบอร์ด รฟม.จะให้ก่อสร้างแบบเทิร์นคีย์ให้เอกชนออกแบบ ก่อสร้าง และจัดหาระบบเดินรถ โดยจะขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนเชิญชวนเอกชนลงทุนในรูปแบบการลงทุนแบบ PPP และพิจารณาข้อเสนอเอกชนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมนาน พ.ศ. 2535 มาตรา 13 ปลายปีนี้

ลัด คิว "ม่วงส่วนใต้" รับรัฐสภาใหม่

เช่นเดียวกับ สายสีม่วง ช่วงใต้ "บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ" ที่ รฟม.เตรียมลัดคิวให้เร็วขึ้นจากในแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สายเดิม เพื่อจะให้เปิดใช้บริการได้ ปี 2562 เพื่อรับกับรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกาย โดยจะจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดทั้งเส้นทาง 19.8 กิโลเมตร แต่จะก่อสร้างก่อนเฉพาะสถานีเกียกกายที่เชื่อมต่อจากสถานีเตาปูนประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ เนื่องจากเป็นงานมีทั้งใต้ดินและยกระดับทั้งสายต้องใช้เงินลงทุนกว่า 66,000 ล้านบาท แต่หากก่อสร้างสถานีเกียกกายสถานีเดียวเป็นใต้ดินค่าก่อสร้างอยู่ที่ 4,000-5,000 ล้านบาท

สีส้ม "ตลิ่งชัน-มีนบุรี" ยังไม่มีแผน

สุด ท้ายสาย "สีส้ม" จาก "ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี" 37.5 กิโลเมตร เงินลงทุนกว่า 137,000 ล้านบาท แม้จะบรรจุในแผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 ปี และมีกำหนดเปิดบริการปี 2562 แต่ รฟม.ยังไม่มีแผนเร่งดำเนินการ เพราะต้องรอให้คณะอนุกรรมการที่ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ชี้ขาดว่าการบริหารจัดการจะให้ รฟม.หรือ กทม.ดำเนินการภายใน 1 เดือน ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรและขนส่ง (คจร.) ที่นายกฯ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นประธานเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

แต่คลื่นลมการเมืองกำลังร้อนแผนงานต่าง ๆ จึงชะงักไปชั่วคราว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 25-03-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.