| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 43 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 15-03-2553    อ่าน 11263
 กรุงเทพฯ ก้าวหน้า ภารกิจใหม่ของผู้ว่าฯ กทม.

นั่งเก้าอี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) บริหารงานครบ 1 ปี เมื่อ 14 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา หลายคนตั้งคำถามว่าผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ บริพัตร สรรค์สร้างผลงานรับใช้คนกรุงมากน้อย แค่ไหน มีอะไรโดดเด่นน่าประทับใจบ้าง

แม้ ผลสำรวจ "กรุงเทพโพล" โดยศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ออกมาเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 74.3 จะเห็นว่ายังไม่มีผลงานเด่นชัดน่าประทับใจ ขณะที่ความคิดเห็นต่อสภาพโดยรวมของ กทม.เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลัง "คุณชายหมู" เข้ารับตำแหน่ง เห็นว่าเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 61.6 เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นร้อยละ 27.9 และเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงร้อยละ 10.5 ด้านความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ปรากฏว่าสอบผ่านเฉียดฉิว 5.51 คะแนน จากคะนนเต็ม 10 คะแนน

1 ปีแค่สานงานเก่า

16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์จึงถือโอกาสแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ภายใต้สโลแกน "ทั้งชีวิต...เราดูแล" ใน 6 ด้านประกอบด้วย "เศรษฐกิจ-ความปลอดภัย-สิ่งแวดล้อม-การศึกษา-สุขภาพ-และการจราจร"

ปี แรกจะเน้นเรื่องคนเป็นหลัก เพราะเป็นช่วงจังหวะที่คนกรุงเทพฯประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาหนี้สินซึ่ง กทม.ได้จัดทำโครงการรองรับ อาทิ โครงการยิ้มสู้...กู้สร้างอาชีพ, มหกรรมยิ้มรับ...ปรับหนี้ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

ขณะที่นโยบายด้านอื่น ๆ ยอมรับว่า ส่วนใหญ่เป็นการสานต่อนโยบายของอดีต ผู้ว่าฯ กทม.อภิรักษ์ โกษะโยธิน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายข้ามไปฝั่งธนบุรี 2.2 กิโลเมตร โครงการรถเมล์ ชิดเกาะกลาง หรือบีอาร์ทีสายแรก ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ฯลฯ

นอก จากนี้ มีการสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อป้องกันน้ำท่วม ที่ใช้งบฯกว่า 300 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในปี 2553 การเช่าระบบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนสังกัด กทม.ระยะที่ 3 จำนวน 20,500 เครื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างประมูล การติดตั้งกล้องซีซีทีวีเพิ่ม 20,000 ตัวใน 3 ปี ติดตั้งลิฟต์สำหรับคนพิการในสถานีบีทีเอส 56 ตัว จะแล้วเสร็จปี 2554 เพิ่มไฟอัจฉริยะอีก 1,026 จุด

ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง 50,000 ดวง ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว 11,000 ดวง เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ 1,250 ไร่/ปี ขณะนี้เพิ่มได้แล้ว 1,406 ไร่/ปี โครงการซ่อมสะพานข้ามแยก 12 แห่ง ลดปริมาณขยะลง 5% เหลือ 8,500 ตัน

ลั่น 3 ปีที่เหลือ เน้นแก้ 5 เรื่องใหญ่

ล่าสุด 4 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา "คุณชายหมู" ชูภารกิจใหม่ด้วยการประกาศนโยบาย "กรุงเทพฯ ก้าวหน้า" โดยจะเน้นแก้เรื่องใหญ่อย่างยั่งยืนภายใต้สโลแกน "Big Solutions for Big Problems" ด้วยการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานผ่าน 5 เรื่องใหญ่ จะเริ่มคิกออฟ ตั้งแต่ 20 มีนาคมนี้เป็นต้นไป

ได้แก่ 1.การป้องกันน้ำท่วม 2.ลดปัญหาจราจร จะผลักดันให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีเพื่อจูงใจให้คนหันมาใช้บริการและลด ปัญหาคอขวดในจุดหลัก 3.เพิ่มพื้นที่สีเขียว จะสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่พื้นที่มากกว่า 10 ไร่ เพิ่มอีก 5 แห่ง 4.สร้างเตาเผาขยะแทนการฝังกลบกำจัดขยะได้ 11,000 ตัน/วัน 5.ติดตั้งกล้องวงจรปิดอีก 20,000 ตัว และเพิ่มไฟฟ้า แสงสว่างอีก 50,000 ดวง

ปีนี้อัดฉีดงบฯอีก 2,000 ล้าน

เพื่อให้งานเดิน หน้าแม้จะมีข้อจำกัด เรื่องงบประมาณ เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้ว่าฯ กทม.จึงได้จัดสรรงบประมาณปี 2553 เพิ่มอีก 2,000 ล้านบาท จากเดิม 41,000 ล้านบาท เป็น 43,000 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก กทม.ชี้แจงว่า งบฯดังกล่าวมาจากที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้น และยกเลิกมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ กทม.มีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 2,000 ล้านบาท ผู้ว่าฯจึงปรับเป้างบฯรายจ่ายปีนี้ในส่วน ของ กทม.เองจาก 41,000 ล้านบาท เป็น 43,000 ล้านบาท ขณะนี้กำลังพิจารณาว่าจะนำไปใช้ในโครงการไหนบ้าง

ปี"54 ตั้งงบฯ 4.6 หมื่นล้าน

ขณะเดียวกัน ในส่วนของงบประมาณ ปี 2554 ก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นด้วย จากก่อน หน้านี้ตั้งไว้ที่ 42,000 ล้านบาท เป็น 46,000 ล้านบาท เพราะดูแล้ว กทม. น่าจะเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่คงไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เนื่องจากสถานะการเงินของ กทม.เวลานี้ไม่ค่อยจะดีนัก มีเงินสะสมเหลือน้อยมาก ณ ต้นเดือนมีนาคม เงินสะสมเหลืออยู่เพียง 1,300 ล้านบาท จากเดิม 10,000 ล้านบาท เพราะถูกดึง ไปใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับปีนี้กว่า 8,000 ล้านบาท ในโครงการที่ก่อหนี้ผูกพันค่าใช้จ่ายประจำ เช่น เงินเดือนข้าราชการ ค่าสวัสดิการต่าง ๆ ที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

ผู้ว่าฯ กทม.จึงมีแผนจะออกพันธบัตร อีกกว่า 20,000 ล้านบาท ใน 5 ปี เพื่อเดินหน้าโครงการที่ให้สัญญาประชาคมไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง อาทิ บีทีเอส ส่วนต่อขยายไปบางหว้า 8,760 ล้านบาท โมโนเรลสายแรก (กทม. 2-เพชรบุรีตัดใหม่-หลานหลวง) 10,900 ล้านบาท เตาเผาขยะมูลฝอยที่อ่อนนุช 2,200 ล้านบาท เป็นต้น

ภารกิจในช่วง 3 ปีที่เหลือจากนี้ไปจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะท้าทายไม่น้อย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 15-03-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.