| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 234 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 11-02-1553    อ่าน 11451
 เปิดแนวคิด เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ ตั้ง "โฮลดิ้งคอมปะนี" บริหารพอร์ตที่ดินจุฬาฯ

สัมภาษณ์




เป็น ระยะเวลาร่วม 2 ปีที่ "รศ.น.อ.นายแพทย์เพิ่มยศ โกศลพันธุ์" ได้รับความไว้วางใจให้นั่งในตำแหน่งรองอธิการบดี กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 2551-2554 ภารกิจสำคัญคือ การบริหารพอร์ตที่ดินจุฬาฯให้เกิดรายได้ ผลิดอกออกผล

หนึ่งในแปลง ที่ดินที่จุฬาฯต้องการ จะแจ้งเกิดให้ทันปีนี้ คือ แปลงที่ดินบริเวณหัวมุมแยกสามย่าน ที่จะหมดสัญญากับผู้เช่าเดิม จะพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ "จามจุรีสแควร์ 2" มูลค่าลงทุนสูงถึง 5-6 พันล้านบาท

แต่ด้วยสถานะที่จุฬาฯเป็นหน่วย งานราชการ โครงการนี้จึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเข้าร่วมการงานของภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2535 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

ในการให้ สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ล่าสุด รศ.เพิ่มยศยอมรับว่า จุฬาฯกำลังค่อย ๆ ปรับโครงสร้างองค์กรโดยปรับเปลี่ยนการบริหารงานจากระบบราชการเป็น "กึ่งรัฐวิสาหกิจ" และอาจมีการตั้ง "โฮลดิ้งคอมปะนี" ในอนาคตเพื่อให้บทบาทการเป็นดีเวลอปเปอร์ของจุฬาฯคล่องตัวขึ้น

"ที่ เหมาะสมทรัพย์สินจุฬาฯต้องเป็นแบบกึ่งรัฐวิสาหกิจที่บริหารงานเองบางส่วน เช่น งานบุคคล การเงิน ตอนนยังไม่เป็นนิติบุคคล 100% แต่อนาคตเป็นไปได้ที่จะมีสถานะเป็นบริษัท อาจจตั้งเป็นโฮลดิ้ง คอมปะนีขึ้นมาบริหารซึ่งจะคล่องตัวมากกว่า"

"รศ.เพิ่มยศ" บอกอีกว่ามหาวิทยาลัย ชั้นนำในต่างประเทศก็ต้องหารายได้เสริมต่อปีเป็นหมื่น ๆ ล้านบาท รายได้อาจ มาจากหลายทาง เช่น ธุรกิจเรียลเอสเตต, ลงทุนในด้านต่าง ๆ ฯลฯ เพราะจะใช้วิธี ขึ้นค่าเล่าเรียนอย่างเดียวก็ไม่ได้

ยังไม่สามารถ ระบุระยะเวลาการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบบริการแบบกึ่งรัฐวิสาหกิจได้ แต่ขณะนี้ก็เริ่มปรับเริ่มพัฒนาระบบการบริหารงานใหม่บ้างแล้ว เพราะในอนาคต ถ้าจะเป็นผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เององค์กรจะต้องมีศักยภาพสูงขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพต้องสู้กับเอกชนได้

ตอนนี้ทรัพย์สิน จุฬาฯเน้นเรื่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายใน มีโปรเจ็กต์หลายอย่าง เป้าหมายการพัฒนาคือรางวัล TQA (Thailand Quality Award)

มีหลาย อย่างต้องปรับระบบ การให้ ผลตอบแทนต้องไม่เหมือนราชการเดิม ๆ ถึงเวลาก็ได้สองขั้น ระบบใหม่ผลตอบแทนต้องขึ้นกับผลงาน ถ้าทำดีได้ผลตอบแทนคุ้ม แต่ถ้าทำไม่ดีคงจะต้องได้รับการลงโทษ

เพราะ การปรับเปลี่ยนองค์กรก็จำเป็น ต้องใช้มืออาชีพเข้ามาทำงาน คนที่มีความรู้เรื่องการทำธุรกิจรีเทล ออฟฟิศ คอนโดฯ มีความรู้ด้านไฟแนนซ์ สามารถทำโปรเจ็กต์ รับผิดชอบโปรเจ็กต์ได้ ก็มอง ๆ หาอยู่

ดังนั้น องค์กรจะต้องค่อนข้างไดนามิก มีการปรับเปลี่ยนต่อเนื่อง ที่คิดไว้รูปแบบการบริหารสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ คือ มีบอร์ดทรัพย์สินฯคอยดูแล ถ้าเห็นว่าตรงนี้ไม่ดี การปรับเปลี่ยนจะได้ค่อนข้างง่าย

กับเหตุผลที่ทรัพย์สินจุฬาฯต้อง ปรับเปลี่ยนเพื่อโต เป้าหมายหลักคือ "ความคล่องตัว" ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน เพราะต้องสู้กับบริษัทเอกชน รายใหญ่ ๆ

เหมือนกับอะไรที่ "high return" ก็ "high risk"

"จริง ๆ ศิษย์เก่าจุฬาฯที่อยู่ในวงการเรียลเอสเตตเขาเชียร์นะ แต่ผมมองว่าถ้าจุฬาฯจะเป็นดีเวลอปเปอร์เองก็มีอุปสรรคเยอะเหมือนกัน เพราะด้วยชื่อและสถานะต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก"

อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปอาจมองว่าจุฬาฯเป็นที่ร่ำรวย แต่จริง ๆ โฉนด (ที่ดิน) ซึ่งก็คือกระดาษ อย่างงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐก็ไม่ได้รับเยอะกว่าสถาบันอื่น ๆ

จน กว่าจะถึงปี 2556-2557 ตอนนั้น อาจดีขึ้นเพราะมีรายได้จากการจัดระเบียบสัญญาเช่าห้างเอ็มบีเค (มาบุญครอง) เมื่อ 2 ปีก่อน เพราะตอนนั้นจะเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากอัตราค่าเช่าใหม่

ด้วย สถานะที่เป็นหน่วยงานราชการ รายได้ที่เข้ามาจากที่ดินเหล่านี้จริง ๆ ไม่คุ้มกับมูลค่าที่ดินที่แท้จริง ดังนั้นจุฬาฯจึงจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

สุดท้ายอยาก ฝากถึงดีเวลอปเปอร์ที่อยากเข้ามาลงทุนในที่ดินจุฬาฯ ว่าพร้อมเปิดรับพิจารณาทุกคน เพราะลำพังจุฬาฯ วันนี้ไม่มีกำลังและศักยภาพเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม เราคงต้องนึกถึง ภาพลักษณ์ด้วย ต้องลงทุนในสิ่งที่สร้างสรรค์ชุมชน สร้างสรรค์สังคม
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 11-02-1553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.