| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 76 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-02-2553    อ่าน 11069
 ''โปรเจ็กต์ทีม'' หัวขบวน รฟม. จัดทัพคุมก่อสร้างสาย ''ม่วง-น้ำเงิน''

แผน งานที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ระยะทาง 23 กิโลเมตรในปี 2553 แล้วเสร็จในปี 2557 สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) 27 กิโลเมตร เปิดประมูลงานและก่อสร้างภายในปีนี้ และเปิดให้บริการในปี 2559 เช่นเดียวกับสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่) จะเปิดประมูลและก่อสร้างภายในปีนี้ และเปิดให้บริการ ในปี 2557 วินาทีนี้ "ชูเกียรติ โพธยานุวัตร" ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จึงต้องเร่ง เดินหน้าโครงการเพื่อให้เป็นไปตามแผน

งานแรกที่ เปิดประมูลและเซ็นสัญญาก่อสร้างไปแล้ว คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ดูเหมือนจะดำเนินไปแบบไม่ฉลุยนัก คลาดเคลื่อนจากโปรแกรมเล็กน้อยเพราะใช้เวลาข้ามปีจากปี 2552-2553 กว่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ครบทั้ง 3 สัญญา

คิวต่อไปคือ เร่งงานก่อสร้างสายสีม่วงให้เสร็จใน 45 เดือน หรือปี 2557 ต่อด้วยการเข็นสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) เซ็นสัญญาก่อสร้างให้ทันปลายปีนี้ พร้อม ๆ กับเปิดประมูลสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

ปรับทัพองค์กรรองรับรถไฟฟ้าใหม่

แต่ ก่อนจะโหมงานก่อสร้างอย่างจริงจัง ผู้ว่าการ รฟม.ย้ำว่าต้องเตรียมพร้อมด้านบุคลากรรองรับรถไฟฟ้าสายใหม่และปริมาณงานที่ มากขึ้น สิ่งแรกคือ แต่งตั้งรองผู้ว่าการที่ว่างอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง รองผู้ว่าการผ่ายบริหาร เพื่อเป็นหัวขบวนขับเคลื่อนงานโดยจะเสนอบอร์ดพิจารณาวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้มี 4 แคนดิเดต คือ "ชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์-นัยรัตน์ อมาตยกุล-กฤตยา สุมิตนันท์-โชติศักดิ์ วิเศษสุรนันท์"

"ทุกคนมีโอกาส เท่าเทียมกัน แต่ต้องเลือกแค่ 2 คน รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง มีตัวเลือกคนเดียวคือผู้ช่วย ผู้ว่าการชัยสิทธิ์ เพราะจบด้านวิศวะ ส่วนรองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร จบอะไรก็ได้ ที่เหลือ 3 คนเลยมีสิทธิเท่ากัน จะเสนอ ทั้ง 3 ชื่อให้บอร์ดชี้ขาด รวมถึงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ว่าการอีก 1 ตำแหน่ง"

ต่อด้วยการเกลี่ยพนักงานระดับกองและแผนกใหม่ โดยดึงคนที่กระจัดกระจายอยู่ตามกองต่าง ๆ กลับมาทำงานให้ถูกที่ ถูกทางแบบ put the right man in the right job โฟกัสไปที่ฝ่ายก่อสร้าง ประชาสัมพันธ์ บัญชีและการเงิน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นส่วนงานที่เร่งรัด และเป็นหัวใจหลักสำคัญช่วยผลักดันโครงการเดินไปเร็วขึ้น

เพิ่มออปชั่นใหม่ผุดโปรเจ็กต์ทีม

ขณะ เดียวกัน จะแต่งตั้ง "โปรเจ็กต์ทีม" ขึ้นมาดูแลโครงการแบบเบ็ดเสร็จ มีทั้งวิศวกร สถาปนิก กรรมสิทธิ์ที่ดิน บัญชี การเงิน นักกฎหมาย ประชาสัมพันธ์ โดยเตรียม 2 ทีม คือ ทีมโปรเจ็กต์ สายสีม่วง และโปรเจ็กต์สายสีน้ำเงิน

รูปแบบจะเป็นโครงสร้างเฉพาะกิจ อยู่ภายใต้ผู้อำนวยการโครงการที่เรียกว่า โปรเจ็กต์ไดเร็กเตอร์ มีผู้ช่วยผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการฝ่ายการก่อสร้างกำกับดูแลอีกชั้น มีอำนาจตัดสินใจได้ทันที จะทำให้งานไปได้เร็วเพราะการก่อสร้างต้องใช้การตัดสินใจและแก้ปัญหาแบบวัน ต่อวัน

ฉายภาพรวมรถไฟฟ้า 3 สี

แม้การดำเนินการใน ขั้นตอนต่าง ๆ จะล่าช้าไปบ้าง แต่เมื่อประเมินภาพรวม "ชูเกียรติ" ยืนยันยังอยู่ในแผน อย่างสาย สีม่วงหลังเซ็นครบทั้ง 3 สัญญา จะเริ่มเห็นการก่อสร้างเป็นรูปธรรมหลังเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป เพราะเวลานี้ ผู้รับเหมาเริ่มเข้าพื้นที่แล้ว

อย่างสัญญาแรก "ช.การช่าง" นำเครื่องจักรเข้าไปกองที่ไซต์งานเรียบร้อยแล้ว สัญญาที่ 2 "บมจ.ซิโน-ไทยฯ" จะเข้าพื้นที่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่สัญญาที่ 3 จะเริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคมนี้ เพราะต้องรอองค์การเพื่อ ความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไจก้า) อนุมัติก่อน

"เสร็จทันปี 2557 แน่ เพราะดูแล้ว เวลามีเหลือเฟือ และการเวนคืนไม่มีปัญหา ส่วนงานวางรางเดือนมีนาคมนี้ ไจก้าจะแจ้งการอนุมัติเรื่องเงินกู้ 3,600 ล้านบาท จากนั้นจะเปิดประมูลทันที"

ส่วนสายสีน้ำเงินยังเดินไปตามโป รเซส หลังขายแบบจะให้ยื่นซองประกวดราคา วันที่ 29 เมษายนนี้ ตอนนี้กำลังจ้างเอกชนสำรวจการเวนคืนที่ดิน ซึ่งไม่น่าห่วงเช่นเดียวกัน โครงการนี้พื้นที่เวนคืนมากสุดคือส่วนใต้ดิน 5 กิโลเมตร จากหัวลำโพง-ท่าพระ ส่วนโครงสร้างยกระดับจะใช้เกาะกลางถนน และใช้ทางเท้าสร้าง จุดขึ้นลงสถานีเหมือนบีทีเอส

"สัญญาที่ 3 และ 4 เริ่มงานก่อสร้าง ได้ทันทีหลังได้ผู้รับเหมา คือจากเตาปูน ไปบางโพถึงท่าพระ และจากท่าพระ ไปบางแค แต่สัญญา 1 และ 2 เป็นงานใต้ดินต้องเวนคืน เป็นสัญญาดีไซน์แอนด์บิวต์ ออกแบบควบคู่การก่อสร้าง ผู้รับเหมาได้งานแล้วก็ยังลงพื้นที่ไม่ได้ต้องเสนอแบบให้ รฟม.อนุมัติก่อน"

สำหรับ สายสีเขียว รฟม.จะก่อสร้าง ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ขณะนี้กำลังหาเอกชนสำรวจการเวนคืนที่ดิน ปีนี้น่าจะเปิดประมูลได้ ส่วนช่วงหมอชิต-สะพานใหม่กำลังรอคณะกรรมการจัดระบบและการจราจรทางบก (คจร.) ชี้ขาดว่าจะให้ รฟม. หรือกรุงเทพมหานคร (กทม.) รับผิดชอบโครงการ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 01-02-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.