| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 326 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 23-11-2552    อ่าน 11272
 รื้อ พท.เชิงพาณิชย์ แอร์พอร์ตลิงก์ เปิดให้บริการช้า-แผนธุรกิจรวน

เป้า หมายของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ "โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" หรือ "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" ในเดือนเมษายน 2553 ส่อเค้าต้องเลื่อนออกไปอีกถึงเดือนสิงหาคม หรือไม่ก็เดือนธันวาคม 2553

เนื่อง จากยังมีอีกหลายอย่างที่ ร.ฟ.ท. ยังเคลียร์ไม่เสร็จ ทั้งการตั้งบริษัทลูกการคัดเลือกพนักงาน ที่ขณะนี้เพิ่งคัดเลือกได้ 120 คน และต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าพนักงานใหม่จะขับรถได้

ล่าสุด คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.มีมติว่าจ้างบริษัท DBI จากเยอรมนี เดินรถให้ชั่วคราว 3 ปี นอกเหนือจากเป็น ที่ปรึกษาด้านการเดินรถและจัดทำคู่มือ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จ่ายเงินค่าจ้างไปแล้ว 85 ล้านบาท

หวั่นเอกชนเมินบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์

อีก หนึ่งปัญหาหนึ่งคือการพัฒนาพื้นที่ เชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ทั้ง 8 สถานี ไล่ตั้งแต่พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ ถึงขณะนี้ ร.ฟ.ท.ยังหาเอกชนมาบริหารพื้นที่ไม่ได้ เมื่อนับถอยหลังจากนี้ไปเหลือเวลาแค่ 5 เดือน มีแนวโน้มว่าคงดำเนินการไม่ทัน

ร.ฟ.ท.จึงเตรียมว่าจ้างสถาบันบัณฑิต บริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงเงิน 4-5 ล้านบาท มารีวิวผลการศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ใหม่ทั้งหมด ทั้งรูปแบบการให้สัมปทานว่าจะเป็นแบบสัญญาเดียว หรือแยกสัญญาย่อย แผนธุรกิจ ค่าเช่าพื้นที่ จากเดิมคิดที่ 400 บาท/ตารางเมตร เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกเกินไป รวมถึงปริมาณผู้โดยสาร เป็นต้น ใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้น 5 เดือน จากนั้นจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนกลางปี 2553" แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่รู้ว่าจะมีเอกชน รายใดสนใจเข้าประมูลเช่าพื้นที่หรือไม่ เพราะแต่ละสถานีศักยภาพอาจไม่สูงพอดึงดูดเอกชนเข้าลงทุน เนื่องจากทางเข้า-ออกสถานีก็ยังไม่มี ที่สำคัญยังไม่รู้ว่าจะมีผู้ใช้บริการมากน้อยแค่ไหน

ที่ประมาณการไว้ รถไฟฟ้าด่วนสุวรรณภูมิแบบ Express Line (มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) มี 4,000 คน/วัน รถแบบ City Line (จอดตามสถานี) มี 40,000 คน/วัน ต่างจากรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก นอกจากนี้ อาจจะเหมือนสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ร้านค้าไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ยังอยู่ในขั้นต้องลองผิดลองถูก ปรับให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้ใช้รถไฟฟ้าใต้ดินอยู่ตลอดเวลา

เล็งให้สัมปทานเอกชนบริหาร 5-10 ปี

ด้าน "ยุทธนา ทัพเจริญ" ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า จะให้สัมปทานเอกชนมา บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ในระยะเวลา 5 ปี และ 10 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ แยกเป็น 3 ธุรกิจ คือร้านค้า โฆษณา และที่จอดรถ ซึ่งจะแยกเป็นหลายสัญญา ที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ คือสถานีมักกะสันและสถานีสุวรรณภูมิ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีรายได้จากค่าเช่าตลอด 10 ปี 1,000-2,000 ล้านบาท เพราะคิดค่าเช่าถูก 400 บาท/ตารางเมตร/เดือนเท่านั้น

"จะพยายาม เปิดประมูลโดยเร็วที่สุด เพื่อรองรับกับเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งเอกชนที่ได้สัมปทานไป จะไปดำเนินการจัดสรรให้แก่รายย่อยต่อก็ได้ เพราะเป็นหน้าที่ของเขาแล้ว ทั้งเรื่องค่าเช่าและพื้นที่"ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าว

ชี้แค่เลี้ยงตัวเองได้ในระยะยาว

ในผลการศึกษา เดิมด้วยการตั้งบริษัทลูกเพื่อมาเดินรถ "รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์" จะมีรายได้ 2 ส่วน คือ 1.จากค่าโดยสาร ปีแรก เฉลี่ย 1,390 ล้านบาท/ปี (ค่าโดยสารรถ Express Line 150 บาท/เที่ยว และ City Line เฉลี่ย 32 บาท/เที่ยว) จากนั้นเพิ่มขึ้นปีละ 10% 2.จากรายได้อื่น ๆ (เช่าพื้นที่ โฆษณา และที่จอดรถ) เฉลี่ย 338 ล้านบาท/ปี

สำหรับพื้นที่เช่า คิดค่าเช่าอัตรา 400 บาท/ตารางเมตร/เดือน ทั้ง 8 สถานี โดยรวมประมาณ 31.2 ล้านบาท/ปี

จะมีรายได้จากร้านค้าเป็นบูทและคีออสก์ 4.3 ล้านบาท/ปี

ราย ได้จากพื้นที่สื่อโฆษณาภายในเวลา 5 ปี คือปี 2553 จำนวน 149.9 ล้านบาท ปี 2554 161.1 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 209.9 ล้านบาท ปี 2556 จำนวน 257.1 ล้านบาท ปี 2557 จำนวน 257.1 ล้านบาท
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 23-11-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.