| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 267 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-09-2552    อ่าน 11355
 มิติใหม่ กปน.มุ่งพัฒนาคนและบริการ

สัมภาษณ์

โดย เจริญ ชัยกิตติศิลป์




ใน มุมมองของคนทั่วไป อาจไม่ทราบว่านอกจากภารกิจหลักในการผลิตและให้บริการน้ำประปาแก่ผู้ใช้น้ำ ทั้งอาคารบ้านเรือน แหล่งธุรกิจการค้า และแหล่งอุตสาหกรรม ฯลฯ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.2 พันตารางกิโลเมตรทั่วกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลแล้ว "การประปานครหลวง" หรือ กปน. ยังมีภารกิจทั้งในเชิงกว้างและลึกอีกมากมาย

ยิ่งในยุคของผู้ว่าการ กปน.คนปัจจุบัน "เจริญ ชัยกิตติศิลป์" ที่ได้ปรับวิธีคิด วิธีบริหารให้มีควาามทันสมัย มุ่งเน้นที่การพัฒนา "คน" และ "บริการ" รูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น จนสามารถคว้ารางวัล "รัฐวิสาหกิจดีเด่น" ประจำปี 2552 ประเภทการจัดการองค์กรดีเด่นมาเป็นเครื่องการันตี ขณะเดียวกันผลจากการปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ และการบริหารจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์กรแห่งนี้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

"เป็น ความภูมิใจลึกๆ ว่า จากผลสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้น้ำที่ผ่านมาปรากฏผล ออกมาดีขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องคือเรื่องคน คืออยากเปลี่ยนให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมในการพัฒนาองค์กร" ผู้ว่าการ กปน.ให้สัมภาษณ์กับ "ประชาชาติธุรกิจ"

"เจริญ" อธิบายว่า อาจเป็นเพราะที่ผ่านมา กปน.ทำงานแบบไม่มีคู่แข่ง บางครั้งจึงไม่มีแรงกระตุ้นให้ต้องคิดหรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วสามารถแข่งขันกับตัวเองได้โดยทำงานในเชิงรุก

แต่ต้องยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยเวลาปรับทัศนคติ กำหนดเป้าหมายชัดเจนว่า "ธง" คืออะไรแล้วมุ่งไป

"ที่ ผ่านมาเราให้แต่ละฝ่ายไปคิดว่า มีอะไรบ้างต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เท่ากับว่าแต่ละปี กปน.จะได้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย"

หรือวิธีการลดต้นทุนทางด้านบุคลากรในบางสายงาน เช่น บุคคลากรบางฝ่ายเกษียณอายุ เช่น งานจดมิเตอร์น้ำ ซ่อมแซมท่อประปา ฯลฯ ก็ไม่รับคนเพิ่ม แต่ใช้เอาต์ซอร์ซว่าจ้างบุคคลภายนอกแทน

บางอย่าง ที่ดำเนินการไปแล้วและเริ่ม คือ 1) ต้นทุนผลิตน้ำต่อหน่วยลดลง จากการปรับลดค่าสารเคมี (บำบัดน้ำ) ค่าน้ำดิบ ค่าวัสดุ ค่าใช้จ่ายบุคลากร และ 2) พัฒนาบริการที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นและเปิดให้บริการรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

จากที่มีต้นทุนผลิตน้ำต่อหน่วยลดลง ส่งผลให้ผลการดำเนินงาน กปน.ในรอบ 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-มิ.ย.52) มีกำไรสุทธิ 4,017 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 20% เศษ แม้ในแง่การจัดเก็บค่าน้ำจะมีรายได้ต่ำกว่าเป้าอยู่เล็กน้อย ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจและมาตรการใช้น้ำประปาฟรี ซึ่งทำให้ประชาชนใช้น้ำลดลงบางส่วน

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551-มิถุนายน 2552 มีผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ 1.03 ล้านราย คิดเป็นค่าน้ำกว่า 2,800 ล้านบาท

และ แม้มาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดปลายปีนี้ แต่ กปน.ก็ยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นค่าน้ำทั้งที่ไม่ได้ปรับขึ้นมากว่า 10 ปีแล้ว เพราะเกรงประชาชนจะเดือดร้อน แม้ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการขึ้นค่าน้ำกลุ่มตัวอย่าง 30-40% จะระบุว่ายอมรับได้

ขณะเดียวกันได้พัฒนาการบริการ รูปแบบใหม่ๆ สร้างรายได้และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ อาทิ จัดอบรมหลักสูตรความรู้ด้านประปาให้บุคคลภายนอก โครงการ Home Car Center ให้บริการบำรุงรักษาท่อประปาภายในอาคารบ้านเรือน อาคารเอกชน-ราชการ การติดตั้งประปาใหม่ทางอินเทอร์เน็ต พัฒนางานติดตั้งท่อประปาแล้วเสร็จภายใน 1 วัน เพิ่มช่องทางชำระค่าน้ำ

โครงการ Best Care Service ห่วงใยใส่ใจลูกค้า โครงการ Caring Zone ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงงานที่ กปน. กำลังดำเนินการ โดยมีการสำรวจความ พึงพอใจของผู้ใช้น้ำในบริเวณที่มีการปฏิบัติงานด้วย การตรวจสอบคุณภาพน้ำ การจัดโครงการประปาพบประชาชนในพื้นที่ชุมชนปีละ 2 ครั้งต่อสาขา

ผู้ ว่าการ กปน.บอกว่า เพื่อรองรับการขยายการให้บริการน้ำประปาในอนาคต จะขยายกำลังผลิตน้ำภายในโรงงานผลิตน้ำ 2 แห่ง คือ โรงงานผลิตน้ำบางเขน และโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ซึ่งจะมีกำลังผลิตน้ำเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน และปรับปรุงประสิทธิภาพการจ่ายน้ำของสถานีสูบจ่ายน้ำ "เพชรเกษม" และ "ราษฎร์บูรณะ" ฯลฯ ใช้เงินลงทุน 7,000 ล้านบาท รองรับการใช้น้ำได้ถึงปี 2560
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 14-09-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.