| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 107 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-07-2552    อ่าน 11544
 กวดวิชาขี่ม้าขาวฟื้น ค้าปลีกใต้ดิน แม็กเนตใหม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนกรุง

ผ่าน มา 5 ปี แต่ธุรกิจค้าปลีกรถไฟฟ้าใต้ดินภายใต้การบริหารงานของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ทางการตลาด ปั้นยอดขายเหมือนกับที่วาดฝันเอาไว้ได้ เพราะแม้จะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ หลายต่อหลายครั้งก็ดูเหมือนยังไม่ตรงกับไลฟ์สไตล์คนกรุง

ตลอดเส้นทาง จากเป้าที่ตั้งไว้ 11 สถานี ขณะนี้ห้างใต้ดินจึงเปิดได้เพียงแค่ 4 สถานี ที่สุขุมวิท พหลโยธิน จตุจักร และกำแพงเพชรเท่านั้น เพราะมีข้อจำกัดและปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้ทุกอย่างไม่ฉลุย ทั้งพื้นที่สถานีที่ใหญ่เกินไป รวมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐ ส่งผลให้ ทุกวันนี้ธุรกิจใหม่ในมือบีเอ็มซีแอลก็ยังคงอยู่ในสภาพลุ่มๆ ดอนๆ แจ้งเกิดไม่สำเร็จ จนหลายคนเริ่มฟันธงว่า "กลุ่ม ช.การช่าง" ดวงคงจะไม่สมพงศ์กับธุรกิจรีเทล

โรงเรียนกวดวิชาตอบโจทย์ลูกค้า

" ที่ผ่านมาแม้คนจะบอกว่า ดวงเราเป็นยังไงก็แล้วแต่ วันนี้บอกได้เลยเราสะวิงตัวเองไปที่ justify investment แล้ว ที่สถานีสุขุมวิทตอนนี้อยู่ได้ สำหรับที่สถานีพหลโยธิน หลังโรงเรียนกวดวิชาครูสมศรีมาเปิดแล้วลงตัวเลย ส่วนสถานีจตุจักรมีร้านธงฟ้าราคาประหยัดของกระทรวงพาณิชย์มาเช่าพื้นที่" "สมบัติ กิจจาลักษณ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีเอ็มซีแอลฯกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ผลการตอบรับจากการเปิดโรงเรียนกวดวิชาครูสมศรีที่ สถานีพหลโยธิน ซึ่งเช่าพื้นที่มากที่สุดกว่า 50% จากทั้งหมด 41 ยูนิต เนรมิตเป็นสถานที่กวดวิชา 7 หลักสูตร ทำให้ "สมบัติ" รู้ว่าจริงๆ แล้วธุรกิจค้าปลีกใต้ดินเหมาะสมกับธุรกิจประเภทไหน หลังจากลองผิดลองถูกมา 5 ปีเต็ม

"ผมชอบมากๆ เลย โรงเรียนกวดวิชาครูสมศรีที่มาเปิด เพราะตรงกับสิ่งที่เรามี และให้ได้ ทั้งเซฟตี้ การเดินทางของนักเรียน และผู้ปกครองสะดวก เรียนเสร็จจะวิ่งม้าเร็วไปต่อที่อื่นก็ได้ สามารถนั่งรถไฟฟ้าต่อได้ทันที ที่สำคัญพอเป็นโรงเรียนนักเรียนผู้ปกครองต้องมาจริง ร้านค้าเกิดขึ้นได้จริง เราจะต้องหาลูกค้าแบบครูสมศรีให้ได้เยอะๆ"

ใน อนาคตอันใกล้ความฝันของ "สมบัติ" อาจจะกลายเป็นจริง เพราะปัจจุบันธุรกิจโรงเรียนกวดวิชากำลังมาแรงทุกหย่อมหญ้า อย่างโรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ ผู้บุกเบิกโรงเรียนกวดวิชา เคมี อ.อุ๊ ที่เปิดให้บริการแถวแยกพญาไท แค่ไม่กี่ปีก็ไม่มีพื้นที่รองรับลูกค้าแล้ว ทำให้โรงเรียนกวดวิชาหลายๆ แห่งต้องหันไปเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารทหารไทยเดิมที่อยู่ใกล้ๆ กัน

แม้ล่าสุดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พญาไท เจ้าของอาคารดังกล่าวจะขายอาคารพร้อมที่ดิน 4 ไร่เศษให้กับกลุ่มซีพีแลนด์ไปแล้ว ซีพีแลนด์ซึ่งเตรียมจะรีโนเวตอาคารใหม่ก็มีแผนเปิดให้โรงเรียนกวดวิชาเช่า ใช้พื้นที่เหมือนเดิม ทำให้ทำเลพญาไทซึ่งอยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส กลายเป็นทำเลทองของโรงเรียนกวดวิชา อีกแห่งหนึ่ง

สำหรับ "สมบัติ" ก่อนหน้านี้ยอมรับว่า ธุรกิจค้าปลีกในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแม้จะไม่ถึงกับหินแต่ก็ไม่ง่าย ที่สำคัญไม่ใช่ ธุรกิจหลักและถนัดของกลุ่ม "ช.การช่าง" อย่างไรก็ตามมีขีดความสามารถที่จะทำได้

ช่วงแรก "บีเอ็มซีแอล" ใช้วิธีให้มืออาชีพมาเป็นครูสอน แต่มองแล้วว่า คงเป็นธุรกิจที่เล็ก และไม่คิดจะสร้างกำไรแบบ ผลิดอกออกผลให้กับกลุ่ม ช.การช่างมากนัก แค่เปิดเพื่อให้บริการผู้โดยสาร ที่มาใช้บริการเท่านั้น

"รีเทลไม่ ใช่พระเอกเลย แต่ธุรกิจโฆษณาจะเป็นพระเอก ธุรกิจการสื่อสารก็ยังไม่ใช่ แต่ทั้งสองธุรกิจเขาพออยู่ได้ แต่ในอนาคตเมื่อมีการต่อส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าทุกธุรกิจจะเป็นพระเอกหมด เมื่อมีคนเยอะแยะอะไรๆ ก็ขายได้ magnet ไม่ใช่อยู่ที่ตัว shop แต่เราจะเป็นเหมือนเซเว่นฯ ที่วิ่งไปหาที่ที่มีคนอยู่เยอะๆ"

ปีหน้าลุยเต็มสูบภายใต้ชื่อใหม่ BMN

แต่ ก่อนจะถึงวันนั้น เมื่อเห็นว่าที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร บีเอ็มซีแอลจึงปรับกลยุทธ์ใหม่ ด้วยการควบรวมกิจการบริษัทลูกทั้ง 3 บริษัทเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยบริษัท บีเอ็มซีแอล เน็ทเวิร์ค จำกัด บริษัท เมโทรมอลล์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด และบริษัท ไตรแอดส์ เน็ทเวิร์คส์ฯ

จาก นั้นได้จัดตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ "บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด" หรือ BMN เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยทุนจดทะเบียน 104 ล้านบาท มีพนักงาน 90 คน โดยบีเอ็มซีแอลถือหุ้นใหญ่กว่า 60% ตระกูลยิ้มวิไล 15% ที่เหลืออีก 20% เป็นบุคคลอื่นๆ ประกอบธุรกิจให้บริการครบวงจร ทั้งรับจ้างโฆษณา ประชาสัมพันธ์ งานด้านการตลาด และบริการสื่อโฆษณาทุกรูปแบบ บริการติดตั้ง จัดวาง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม

"ควบรวมแล้วทำให้ เกิดบูรณาการขึ้น นี่คือหนึ่งที่จะทำให้อีบีด้าเราเป็นบวกในปีนี้ เพราะจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการควบรวม หากบริหารจัดการดีๆ ต้นทุนจะต่ำลง แต่คงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่ง แนวทางคือจะยังไม่เปิดสาขาใหม่ จะทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ปีนี้ตั้งเป้าโต 10% หรือมีรายได้ 120 ล้านบาท แต่ปีหน้าจะลุยเต็มที่" "สมบัติ" ย้ำ

เพราะปีหน้า BMN มีแผนจะลงทุนพื้นที่โฆษณารูปแบบใหม่ทางจอภาพแอลซีดี ทีวี ทั้งภายในสถานี 18 สถานี จำนวน 256 เครื่อง และภายในรถไฟฟ้า 19 ขบวน อีก 342 เครื่อง

ทั้ง หมดนี้ "สมบัติ" ตั้งเป้าหมายไว้สูงว่า จะสร้างรายได้ให้กับ BMN อย่างเป็นกอบเป็นกำและมีกำไรเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เพื่อผลักดัน BMN เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯในอีก 3 ปีข้างหน้า และเป็น player หลักและมืออาชีพในตลาดนี้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 09-07-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.