| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 83 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-05-2552    อ่าน 11321
 ตั้งแท่นตึกสร้างใหม่ปลดล็อกEIA วสท.-ส.สถาปนิกฯชง"กรีนบิลดิ้ง"ไม่ต้องขอสวล.

" สมาคมสถาปนิกสยาม-วิศวกรรมสถาน" เสนอปลดล็อกอีไอเอ ชงไอเดีย สวล.-สผ. ออกกฎอุ้มอาคารที่เข้าข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้สิทธิพิเศษไม่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอให้พิจารณาตามขั้นตอน ตั้งเป้าผลักดันเกิดผลเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี เดินหน้าร่างหลักเกณฑ์ "กรีนบิลดิ้งโค้ด" 8 ข้อ เตรียมเสนอ สผ.พิจารณาปลายเดือน มิ.ย.นี้


ผศ. ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ประธานกรรมาธิการวิชาการด้านเทคโนโลยีวิชาการและสิ่งแวดล้อม สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เดือนเมษายนที่ผ่านมา ตัวแทนสมาคมสถาปนิกสยามฯได้เข้าร่วมสัมมนาระดมความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการ พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และได้เสนอแนวคิดกับ สผ.ว่า ในอนาคตหากมีอาคารที่ออกแบบโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (กรีน บิลดิ้ง) ก็น่าจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอ เป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และพยายามผลักดันให้แนวคิดนี้มีผลในทางปฏิบัติเป็นรูปธรรม และสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในเวลา 1 ปีนับจากนี้ไป

"เท่าที่ ทราบ สผ.มองว่าแนวคิดนี้เป็นเรื่องที่ดี สมาคมสถาปนิกสยามฯคิดว่าจะพยายามผลักดันต่อไป อย่างที่ผ่านมา สมาคมกับ วสท. (สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์) ได้จับมือกันตั้งหน่วยงานสถาบันอาคารเขียว หรือกรีนบิลดิ้งขึ้นมา ที่กำลังดำเนินการคือการร่างละเอียดหลักเกณฑ์และรายละเอียดการพิจารณาอาคาร ที่เข้าข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมควบคุมมลพิษ ร่วมเป็นคณะกรรมการร่างหลักเกณฑ์ด้วย"

เบื้องต้นได้กำหนดหลักเกณฑ์ การพิจารณาอาคารที่เข้าข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (กรีนบิลดิ้งโค้ด) ไว้ทั้งหมด 8 ข้อ คือ 1)การบริหารจัดการอาคาร 2)การกำหนดผังบริเวณอาคาร 3)การใช้น้ำ 4)การใช้พลังงาน 5)การใช้วัสดุ 6)สภาพแวดล้อมในอาคาร 7)การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ 8)สัดส่วนพื้นที่สีเขียว คาดว่าการจัดทำหลักเกณฑ์จะแล้วเสร็จในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นสมาคมสถาปนิกสยามฯ และ วสท. จะนำหลักเกณฑ์เสนอให้ สผ. พิจารณาว่า หากจะผลักดันให้อาคารที่เข้าข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมไม่ต้องขอ อนุญาตรายงานอีไอเอ โดยยึดหลักเกณฑ์การพิจารณาทั้ง 8 ข้อ จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และต้องปรับเปลี่ยน รายงานเงื่อนไขหลักเกณฑ์ข้อใดบ้าง

ผศ.ดร.อรรจน์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่สมาคมสถาปนิกสยามฯผลักดันแนวคิดดังกล่าว เพราะต้องการให้เจ้าของอาคารเกิดแรงจูงใจหันมาให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างไรก็ตามกรณีที่การผลักดันแนวคิดดังกล่าวไม่สำเร็จเป็นรูปธรรมก็ไม่ถือ ว่าสูญเปล่า เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐาน "กรีนบิลดิ้งโค้ด" (มาตรฐานอาคารเขียว) ของตัวเอง ทำให้ที่ผ่านมาการออกแบบอาคารให้เข้าข่าย "กรีนบิลดิ้ง" ต้องอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ของประเทศ อเมริกาเท่านั้น

ปัจจุบัน ในทางปฏิบัติ สถาปนิกจึงเลือกสเป็กได้เฉพาะวัสดุนำเข้าจากต่างประเทศ หรือกรณีที่เลือกสเป็กวัสดุที่ผลิตในประเทศไทยก็ต้องส่งไปให้หน่วยงานกรี นบิลดิ้งโค้ดของประเทศอเมริกาตรวจสอบเพื่อรับรองมาตรฐาน ทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้

เกี่ยวกับกรณีดัง กล่าว นางนิศากร โฆษิตรัตน์ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่สมาคมสถาปนิกสยามฯเสนอแนวคิดให้อาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอให้พิจารณาเพื่อนำไปประกอบการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ถือเป็นแนวคิดที่ดี อย่างไรก็ตามคงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ และตรวจสอบว่าขัดต่อหลักกฎหมายหรือไม่
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 28-05-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.