| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 45 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 10-03-2552    อ่าน 11521
 สคบ.ชี้ปัญหาที่อยู่อาศัยส่อทะลัก แค่ 2 เดือน''สร้างไม่เสร็จ-กู้ไม่ผ่าน''พุ่ง สะกิดผู้ซื้อคอนโดฯ

สคบ.ชี้ปัญหาที่อยู่อาศัยส่อทะลัก แค่ 2 เดือน'สร้างไม่เสร็จ-กู้ไม่ผ่าน'พุ่ง สะกิดผู้ซื้อคอนโดฯสร้างช้าขอชดเชยเงินคืนได้ 10%
สคบ. แจง 2 เดือนแรกปี 52 ยอดร้องเรียนโครงการที่อยู่อาศัยพุ่ง 300 ราย ปัญหาเรื่องคอนโดฯ "สร้างไม่เสร็จ-กู้ไม่ผ่าน" ทำสถิติใหม่สัญญาณร้ายวงการอสังหาฯเดือนกุมภาพันธ์พบกว่า 160 ราย เชื่อต้นเหตุมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก และปัญหาแบงก์คุมเข้มสินเชื่อซื้อบ้าน ชี้ช่องลูกค้าซื้อคอนโดฯแต่สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ขอเรียกค่าชดเชยได้ในอัตรา 0.01-10% ของราคาห้องชุดก่อนทำการโอน ระบุสัญญาไม่ระบุก็กระทำได้

นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปี 2552 (มกราคม-กุมภาพันธ์) มีผู้บริโภคมีการร้องเรียนปัญหาเรื่องของที่อยู่อาศัยกับ สคบ.ประมาณเกือบ 300 เรื่อง ทั้งเรื่องการร้องเรียนของโครงการคอนโดมิเนียมสร้างไม่เสร็จมีจำนวนมากเป็น พิเศษวันละ 50-60 ราย ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ร้องเรียนเข้ามาถึง 160 ราย ทั้งที่เดิมในปีที่ผ่านมาเรื่องนี้ไม่ปรากฏให้เห็นจากการร้องเรียน

อย่างไรก็ดีที่ผ่านมา มีปัญหาใหม่ที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่ายร้องเรียนเข้ามามาก 2 ประเด็น คือ ปัญหาผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมสร้างไม่เสร็จตามสัญญา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับราคาขายยูนิตละ 1 ล้านเศษขึ้นไป มีทำเลที่ตั้งในเขตกลางเมืองเป็นส่วนใหญ่

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาของผู้บริโภคที่ผ่อนชำระเงินดาวน์ไปแล้ว 10-20% ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด หรือวางเงินจองซื้อห้องที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่า ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อห้องชุดดังกล่าวได้ หรือที่เข้าใจกันคือ กู้ไม่ผ่าน ซึ่งทั้ง 2 กรณีมีปริมาณการร้องเรียนจำนวนมากเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีกว่า 160 เรื่อง จากเดิมที่มีเรื่องนี้ร้องเรียนน้อยมาก

ทั้งนี้ ในส่วนตัวของผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา ประเมินว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น น่าจะมีสาเหตุมาจาก ปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำไปทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคไม่มั่นใจในวิชาชีพจึงชะลอการตัดสินใจซื้อ ที่อยู่อาศัย ขณะที่ผู้ประกอบการไม่สามารถขายได้ตามเป้าจึงยกเลิกการก่อสร้าง หรือหยุดการก่อสร้าง บางโครงการล่าช้ากว่ากำหนดที่ระบุไว้

ขณะเดียวกัน ภายหลังเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจไปทั่วโลก สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ได้ขยับมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่เข้มข้น ขึ้น มีกรอบการพิจารณาอาชีพที่สุ่มเสี่ยงจากการเลิกกิจการและเลิกจ้าง จึงมีผลต่อผู้บริโภคที่ขอสินเชื่อ จึงไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของสถาบันการเงินแต่ละแห่งนั้นเอง

ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สคบ. กล่าวต่อว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ผู้บริโภค หรือผู้ประกอบการไม่ทราบล่วงหน้าได้ว่า สถาบันการเงินจะเพิ่มความเข้มข้นในการปล่อยสินเชื่อ ผู้บริโภคเองก็ไม่คาดคิดเพราะผ่อนชำระเงินดาวน์มาครบ เป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ แต่สุดท้ายกู้ไม่ผ่าน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของผู้ซื้อโดยตรง แต่ก็มีการแก้ไขด้วยการเพิ่มผู้กู้ร่วม ส่วนใหญ่จะตกลงกันได้ โครงการที่เกิดปัญหาส่วนมากจะเป็นโครงการประเภทคอนโดมิเนียมเป็นส่วนใหญ่

อย่างไรก็ดี ในส่วนของลูกค้าโครงการคอนโดมิเนียม ที่กำลังผ่อนชำระเงินดาวน์แต่เกิดปัญหาโครงการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด หรือไม่เป็นไปตามสัญญาที่ระบุนั้น กรณีดังกล่าวผู้บริโภคสามารถร้องขอค่าชดเชยจากผู้ประกอบการได้ในกรณีที่ สร้างไม่เสร็จในวงเงิน 0.01-10% ของราคาห้องชุดที่ซื้อ แม้จะไม่มีระบุในสัญญาก็สามารถดำเนินการรักษาสิทธิ์ได้ แต่ต้องดำเนินการก่อนการส่งมอบหรือโอนห้องชุดที่ซื้อ ทั้งนี้ผู้ซื้อที่ร้องขอค่าชดเชยนั้นจะต้องแสดงความประสงค์ที่จะรับโอนห้อง ชุดดังกล่าว

ทั้งนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมาสคบ.รับเรื่องราวร้องเรียนจากผู้บริโภคในทุกประเภทนั้นปี ละประมาณ 4,000 เรื่อง เป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการโฆษณา ประมาณ 18.50% เรื่องร้องเรียนเกี่ยว กับสินค้าและบริการทั่วไป 30% เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสัญญา/อสังหาริมทรัพย์ประมาณ 45.15% เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการขายตรง และตลาดแบบตรง 5.75% สามารถดำเนินการแก้ไขได้ประมาณ 50% เพราะสคบ.มีข้อจำกัดในเรื่องของบุคลากร

ส่วนเรื่องเกี่ยวกับสัญญา/อสังหาริมทรัพย์ เป็นเรื่องสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดิน เกือบ 2,000 ราย กรณีไม่ปลูกสร้าง 761 ราย ผู้ประกอบการเลี่ยงจัดสรร 152 ราย ไม่ทำสาธารณูปโภค 74 ราย ไม่ปฏิบัติตามสัญญา 75 รายหรือก่อสร้างแต่ไม่แล้วเสร็จ 62 ราย เป็นต้น
  
ที่มา
[ ฐานเศรษฐกิจ ] วันที่ 10-03-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.