| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 91 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-03-2552    อ่าน 11831
 นวัตกรรม "เอสซีจีซิเมนต์" แกะกล่องโรงงานย่อส่วน-ระบบ WHG


วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4084

นวัตกรรม "เอสซีจีซิเมนต์" แกะกล่องโรงงานย่อส่วน-ระบบ WHG

คอลัมน์ Zoom Content


แม้ ว่าปี 2551 ที่ผ่านมา วัสดุก่อสร้างต้นน้ำอย่างปูนซีเมนต์ในภาพรวมตลาด หดตัวลง 6.5% หรือมีความต้องการใช้ประมาณ 25 ล้านตัน แต่ "เอสซีจีซิเมนต์" หรือกลุ่มธุรกิจซีเมนต์ของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำด้วยส่วนแบ่งตลาด 9.8 ล้านตัน หรือ 39%

แต่ การรักษาตำแหน่งผู้นำตลาด จำเป็นที่องค์กรนั้นๆ ต้องขยับตัวเร็ว ล่าสุด "ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล" ซีอีโอของเอสซีจีซิเมนต์ ได้เปิดโรงงานปูนซีเมนต์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี นำชมโครงการ Pilot Process and Product Development Center (โรงงานจำลองผลิตสินค้าต้นแบบ) และระบบ WHG (waste heat power generation) หรือระบบนำพลังงานความร้อนทิ้งกลับมาใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์

จุด แรกเริ่มต้นที่ "โรงงานย่อส่วน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เบ็ดเสร็จใช้งบฯลงทุนกว่า 60 ล้านบาท

โรงงานแห่งนี้เมื่อมองจากภาย นอกอาจไม่แตกต่างจากอาคารทั่วไป แต่ภายในติดตั้งเครื่องจักรผลิตปูนซีเมนต์แบบ "ย่อส่วน" ไว้ อาทิ ถังไซโลปูนที่ย่อส่วน (ความยาว) เหลือเพียง 2 เมตร จากขนาดจริง 12 เมตร ฯลฯ มีความสามารถผลิตปูนซีเมนต์ได้ชั่วโมงละ 100 กิโลกรัม โดยเอสซีจีซิเมนต์ตั้งใจใช้ที่นี่เป็นฐานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการแยก ส่วนผสม ปรับสูตร และผลิตสินค้าต้นแบบ จากเดิมที่ต้องใช้เครื่องจักรภายในโรงงานปูนซีเมนต์



เท่า กับว่าโรงงานจำลองถือเป็นหนึ่งใน "จิ๊กซอว์" ที่ช่วยให้ SCG พัฒนาสินค้าที่มีต้นทุนต่ำลงและรวดเร็วขึ้น ผลิตภัณฑ์หลายตัว อาทิ ปูนซูเปอร์ซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จสูตรพิเศษเหมาะกับลานตากข้าว คอนกรีตสูตรพิเศษช่วยระบายน้ำได้ดีขึ้นเหมาะกับพื้นที่ลานจอดรถ ฯลฯ ก็มาจากเบ้าหลอมของที่นี่ทั้งสิ้น

ขั้นตอนการผลิตสินค้าต้นแบบภายใน โรงงานจำลองถือว่าไม่แตกต่างจากโรงงานจริงๆ เริ่มจากการคัดแยกวัตถุดิบ การบดวัตถุดิบ คัดแยกขนาดปูนเก็บในไซโลและปรับแต่งคุณภาพ โดยขั้นตอนการคัดแยกวัตถุดิบ ตัวเครื่องจักรสามารถปรับองศาใบพัดในการคัดแยกวัตถุดิบได้เช่นเดียวกับ เครื่องจักรจริง



" ถ้าเทียบการลดระยะเวลาการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ การมี Pilot Process and Product Development Center ช่วยเราได้มาก อย่างปูนซูเปอร์ซีเมนต์จากเดิม คาดว่าจะใช้เวลาพัฒนาและปรับแต่งคุณภาพประมาณ 2 ปี แต่สามารถลดเหลือ 1 ปีเท่านั้น ส่วนปีนี้เรามีสินค้าใหม่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 20 รายการ" ซีอีโอเอสซีจีซิเมนต์บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

นอกจากโรงงานจำลอง ภายในพื้นที่โรงงานปูนซีเมนต์แก่งคอยยังมีอาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบ "WHG" (นำพลังงานความร้อนทิ้งกลับมาใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์) เนื่องจากในขั้นตอน "เผาปูน" ที่ความร้อน 1,450 องศาเซลเซียส จะมี ลมร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 350 องศาเซลเซียส ปล่อยทิ้งออกมา ซึ่งเพียงพอสำหรับนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง

โรงงานปูนซีเมนต์ "แก่งคอย" จึงเป็น 1 ใน 6 โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ของ SCG ได้แก่ แก่งคอย ลำปาง เขาวง ท่าลาน ทุ่งสง และประเทศกัมพูชา ที่ SCG ทุ่มงบประมาณจำนวน 5,800 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องจักรระบบ WHG ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปีนี้

สำหรับโรงงานปูนซีเมนต์ แก่งคอย ล่าสุดได้ติดตั้งเครื่องจักรระบบ WHG เฟส 1 แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างติดตั้งเครื่องจักรเฟสที่ 2 ถึงปัจจุบันสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้แล้วกว่า 8.5 เมกะวัตต์

โดย SCG ประมาณการว่า หากโรงงานปูนซีเมนต์ทั้ง 6 แห่ง ติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จ จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ารวมกัน 106 เมกะวัตต์ เมื่อถึงตอนนั้นจะช่วยให้ SCG ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า 25% หรือปีละ 1,640 ล้านบาท

เคาะตัวเลขออกมาแล้ว SCG ใช้เวลาเพียง 5-6 ปีก็คืนทุน อย่างนี้สิที่จะนับเป็นนวัตกรรมการลงทุนอย่างแท้จริง !
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 02-03-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.