| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 73 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-01-2552    อ่าน 11498
 นักวิชาการค้านภาษีที่ดิน แนะรอวิกฤติศก.ฟื้นก่อน

นักวิชาการ ค้านรัฐเก็บภาษีที่ดิน-มรดก ชี้ยังไม่ควรดำเนินการช่วงนี้ แนะรอเศรษฐกิจฟื้นตัวก่อนนำมาดำเนินการ

นาย วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) กล่าวว่าการหารายได้ของรัฐบาลเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะยาวด้วย การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เห็นว่ายังไม่ควรดำเนินการในขณะนี้ เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจึงค่อยนำมาพิจารณาแม้จะเห็นว่าเป็นแนวทางที่ดีแนว ทางหนึ่ง เพราะยังมีเครื่องมืออีกหลายด้านให้สามารถเลือกทำได้หลายวิธี เช่น จัดเก็บภาษีจากการก่อมลภาวะ หากใครไม่ทำให้เกิดมลภาวะก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น ต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำมาดำเนินการ เพราะนโยบายที่ดี ควรถูกที่ ถูกเวลา

“ขณะนี้ยังมีปัญหาเศรษฐกิจ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกัน ภาคเอกชนเองก็ลำบากมากแล้ว อะไรที่ช่วยกันได้ก็ต้องประคับประคองกันไปก่อน เพราะการกระจายรายได้ การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นสิ่งที่ต้องทำแต่ก็ทำได้หลายอย่าง เช่น พัฒนาระบบสาธารณูปโภคกระจายไปทั่วประเทศ เส้นทางคมนาคมให้สะดวกมีต้นทุนในการเดินทางลดลง การพัฒนาด้านการศึกษา หากสิ่งเหล่านี้ดีขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้จะดีขึ้น” นายวรพล กล่าว

ชี้เพิ่มภาษีช่วงวิกฤติ ศก.ทำได้ลำบาก

น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงมีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจจะเก็บภาษีอะไรเพิ่มคงลำบาก แม้ว่าแนวทางการจัดเก็บภาษีมรดกจะเก็บจากคนมีฐานะ แต่คงไม่กระทบต่อกลุ่มดังกล่าวมากนัก และคงต้องดูว่าเมื่อจัดเก็บแล้วจะช่วยได้หรือไม่ หรือควรรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวก่อน จึงค่อยดำเนินการ

ส่วนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากดำเนินการก็ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ เพราะจะเป็นองค์กรที่รู้เกี่ยวกับพื้นที่มากที่สุดว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน และหากเก็บได้ อปท. ก็จะมีรายได้พัฒนาท้องถิ่นโดยไม่ต้องพึ่งรัฐบาลกลาง แต่ขณะนี้ต้องให้ อปท.ทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ว่าภาษีดังกล่าวมาใช้พัฒนาท้องถิ่น ประชาชนก็จะยอมเสียภาษีเพราะมีการนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์

หวั่นก่อปัญหาสังคมในระยะยาว

ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ นักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า หากรัฐบาลจะออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีมรดกหรือภาษีที่ดินในช่วงนี้ ถือว่าเป็นห้วงเวลาที่ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะผู้ที่ถูกกระทบจากนโยบายดังกล่าวคือ คนที่มีมรดกหรือคนมีที่ดินมาก ซึ่งก็คือ คนรวย ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันคนรวยถือเป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มี ปัญหาและต้องการการกระตุ้นการบริโภค รวมทั้งการออกกฎหมายดังกล่าวจะทำให้มีแรงต้านจากคนรวย นอกจากนั้นฐานภาษีของประเทศปัจจุบันก็มาจากคนรวย

นอกจากนี้กฎหมายภาษีมรดกหรือภาษีที่ดินนั้น ในกลุ่มประเทศในยุโรป มีกฎหมายแบบนี้มานานแล้ว และขณะนี้หลายประเทศกำลังพิจารณาที่จะยกเลิกการจัดเก็บภาษีมรดกหรือภาษี ที่ดิน เพราะที่ผ่านมาการเก็บภาษีดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เพราะคนแก่ที่มีมรดกหรือที่ดิน กลัวเสียภาษีจะรีบโอนให้ทายาทหรือลูกหลานโดยเร็ว แต่ปรากฏว่าเมื่อโอนมรดกไปแล้ว ลูกหลานกลับไม่เลี้ยงดูยามแก่ชรา ทำให้กลายเป็นปัญหาสังคมตามมา

"ในระยะยาวแล้ว เมื่อรัฐบาลต้องใช้เงินแก้ปัญหาเศรษฐกิจจำนวนมาก ก็ต้องหาแหล่งรายได้ส่วนอื่นเข้ามาเสริม ภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และภาษีมรดก เพื่อให้มีฐานรายได้สูงขึ้น แต่ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจเป็นแบบนี้ ก็ยังไม่เหมาะที่จะเก็บภาษีเพิ่ม"

แนะทำประชาพิจารณ์ก่อนออก ก.ม.

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าววันนี้ (25 ม.ค.) ถึงแนวคิดของรัฐบาลในการผลักดันกฎหมายภาษีมรดกและที่ดิน ว่า จะเป็นการช่วยให้รายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น และเป็นการวางรากฐานของภาษีต่างๆ ให้ปรับตัวใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากรัฐบาลจะสูญเสียรายได้จากการเปิดการค้าเสรี FTA ส่งผลให้ภาษีศุลกากรมีรายได้ลดลง รวมไปถึงภาษีรายได้นิติบุคคล รวมทั้งก่อให้เกิดการนำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่าตามระบบเศรษฐกิจด้วย สำหรับหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บนั้น คงต้องพิจารณาและศึกษาอย่างรอบคอบด้วยว่าจะจัดเก็บได้เมื่อไร หรือจัดเก็บเท่าไร ซึ่งอาจทำประชาพิจารณ์เพื่อดูว่า ภาษีที่จัดเก็บจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศมากน้อยแค่ ไหน

นายกฯ มั่นใจไม่กระทบคะแนนเสียง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการผลักดันกฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและภาษีมรดก ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงการคลังว่า เรื่องภาษีที่ดินมีหลักการคือการปรับปรุงระบบภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน โดยประเมินภาษีตามมูลค่าทรัพย์สิน ยกเว้นที่อยู่อาศัย และอาจจะมีบทลงโทษเป็นภาษีก้าวหน้าสำหรับที่ดินรกร้างว่างเปล่าจำนวนมากที่ ไม่ใช่ประโยชน์ ซึ่งอาจจะมีข้อยกเว้นเหมือนกับภาษีอื่นสำหรับผู้ที่มีรายได้หรือมีมูลค่า ทรัพย์สินไม่สูงมาก

ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านวิจารณ์ว่ารัฐบาลคงทำเรื่องนี้ไม่สำเร็จเนื่องจากมีนักการเมืองที่ อาจจะเสียประโยชน์อยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เรากำลังเดินหน้าเรื่องนี้อยู่ เมื่อถามย้ำว่ากลัวหรือไม่ว่าเรื่องนี้จะทำให้รัฐบาลเสียคะแนนเสียง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทุกมาตรการคงมีทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจคน แต่เรามีหน้าที่ตัดสินและเดินหน้าในสิ่งที่คิดว่ามีประโยชน์ที่สุดสำหรับ ส่วนรวม

เดินหน้าผลักดันให้เกิดในรัฐบาลนี้

เมื่อถามว่ามีความมั่นใจหรือไม่ที่จะลบล้างสิ่งที่เรียกว่ากฎหมายอาถรรพ์ได้ นายกฯ กล่าวว่า "เมื่อก่อนใครมักจะพูดว่ามีกฎหมายอาถรรพ์หลายเรื่องแต่ในที่สุดก็มีผู้ทำ สำเร็จ เช่นในสมัยหนึ่งใครๆ ก็พูดว่ากระทรวงแรงงานตั้งไม่ได้อาถรรพ์แต่ในที่สุดก็ตั้งได้"

นายกฯ กล่าวย้ำว่า คิดว่าในที่สุดประเทศไทยต้องมีกฎหมายนี้ เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้จะเดินหน้าผลักดัน โดยตั้งใจว่าจะให้เสร็จภายในรัฐบาลนี้ และอย่างที่ได้เรียนไว้แล้วว่าทุกมาตรการมีผลทั้งนั้น แต่อะไรที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม อะไรที่ดีที่สุดเราต้องเดินหน้าทำต่อไปและทำความเข้าใจ ซึ่งเชื่อว่าทุกคนยอมรับได้ ถ้าเราไม่ได้ทำเพื่อตนเอง เราทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมคนที่ได้รับผลกระทบเขามักจะยอมรับ

ประดิษฐ์ เตือนอย่าเพิ่งวิตกภาษีมรดก

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะดำเนินการออกกฎหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง และพระราชบัญญัติภาษีมรดก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล ว่า ยังเป็นเพียงแค่แนวคิดเท่านั้น ต้องศึกษาข้อดี-ข้อเสีย รวมทั้งผลกระทบต่างๆ ให้รอบคอบ ก่อนที่จะออกเป็นกฎหมายมีผลบังคับใช้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ประชาชนจึงไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะได้รับความเดือดร้อนหรือเกิดผลกระทบจากการ ต้องชำระภาษีในทันที โดยเฉพาะประชาชนที่มีฐานะยากจนหรือมีรายได้น้อย
  
ที่มา
[ กรุงเทพธุรกิจ ] วันที่ 26-01-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.