| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 74 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 15-01-2552    อ่าน 11415
 จาก "อุโมงค์เมืองดานัง" สู่มอเตอร์เวย์ "บางปะอิน-นครราชสีมา"

คน ละเรื่องเดียวกัน เมื่อเร็วๆ นี้กรมทางหลวงได้จัดคณะศึกษาดูงานการก่อสร้างอุโมงค์ทะลุภูเขาที่เมืองดานัง ในอนาคตหากเมืองไทยจะต้องตัดอุโมงค์ทะลุเทือกเขาบ้าง ที่นี่ก็จะสามารถเป็นต้นแบบได้เป็นอย่างดี

เรากำลังพูดถึง HAI VAN Tunnel อุโมงค์ที่มีความยาว 6.2 กิโลเมตร ถนนอุโมงค์ที่ช่วยร่นระยะทางจากเดิมต้องไต่เขาระยะทาง 24 กิโลเมตร เชื่อมการ เดินทางเข้าสู่เมืองดานัง (ภาคกลาง) กับภาคใต้ของประเทศเวียดนาม

ครั้ง นี้ไม่ใช่การดูงานเพื่อศึกษา เทคโนโลยีการขุดอุโมงค์ หากแต่เป็นการเยี่ยมชมโครงการอุโมงค์ทะลุภูเขาที่รัฐบาลเวียดนามตัดสินใจตัด อุโมงค์โดยคำนึงถึงเหตุผลทางด้าน "สังคม" เป็นด้านหลัก เพราะค่าใช้จ่ายในการขุดอุโมงค์แต่ละครั้งสูงกว่าการตัดถนนปกติหลายเท่าตัว

ข้อมูล จำเพาะของอุโมงค์แห่งนี้ เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อปี 2000 มาเสร็จสิ้นและเปิดบริการในปี 2005 นี่เอง ระบบควบคุมการใช้อุโมงค์มีนโยบายสูงสุดคือด้านความปลอดภัย โดยนับแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ ปี 2005 จนถึงปัจจุบันพบว่ายังไม่เคยมีอุบัติเหตุแม้แต่ครั้งเดียว หากแต่จะมีเหตุของไฟลุกไหม้เครื่องยนต์จำนวน 17 ครั้ง และทุกครั้งเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ภายในอย่างช้าสุดไม่เกิน 5 นาที



HAI VAN Tunnel แห่งนี้ ถนนเส้นเดิมจะต้องไต่ข้ามเขาระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่สิ่งที่รัฐมองเห็นคือสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถปีนเขา ค่อนข้างสูง และเนื่องจากเป็นเส้นทาง ยุทธศาสตร์เชื่อมการเดินทางระหว่างเมืองไซ่ง่อน-ฮานอย มีปริมาณการจราจร ค่อนข้างสูง ดังนั้นรัฐบาลเวียดนามจึงตัดสินใจก่อสร้างอุโมงค์ขึ้นมา ภายใต้ความช่วยเหลือด้านการเงินผ่านกองทุน "เจบิก" ของญี่ปุ่น มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 259 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันอุโมงค์แห่งนี้มีปริมาณรถ เข้า-ออกตก 4,000 คัน/วัน สามารถ ร่นระยะเวลาการเดินทางข้ามเขาเหลือเพียง 20-25 นาที

ทั้ง นี้ค่าผ่านทางรถใหญ่ตกคันละ 35,000 ด่อง ถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่ภายในอุโมงค์ หากแต่จะต้องขนขึ้นรถหัวลากซึ่งบรรทุกได้ครั้งละ 15-20 คัน คิดค่าบริการผ่านทางคันละ 15,000 ด่อง

ภายในอุโมงค์ก่อสร้างเป็น ถนน 2 เลน กว้าง 3.75 เมตร ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างตลอดระยะ 6.2 กิโลเมตร ติดตั้งถังดับเพลิง 123 จุด และทุกๆ 50 เมตรติดตั้งโทรศัพท์สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน

ทั้งนี้อุโมงค์ก่อสร้าง พร้อมกัน 2 ท่อขนานกันไป แต่เปิดใช้เพียงแห่งเดียวในกรณีเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน จะมีประตูอีก 14 จุดที่จะระบายรถไปยังอุโมงค์อีกแห่งทันที

สำหรับประเทศไทย หน่วยงานต้นสังกัดคือกรมทางหลวง โดย "สุจินต์ เรืองพรวิสุทธิ์" ผู้อำนวยการสำนักวางแผน ประเมินจุดเหมาะสมที่น่าจะมีการตัดอุโมงค์ทะลุภูเขา (ในเชิงการวางแผน) พบว่ามีทั้งเขตภาคเหนือ ตั้งแต่เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ไปจนถึงเขต 3 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณยะลา เบตง เป็นต้น

อุตส่าห์ไปไกลจนถึง เมืองดานัง ไฮไลต์ของการดูงานครั้งนี้ไม่ใช่แค่ดูอุโมงค์เท่านั้น หากแต่เป็นการเดินทางแกะรอยเส้นทางยุทธศาสตร์ในการวางแผนบุกเบิกมอเตอร์เวย์ เส้นทางใหม่ สาย 6 (บางปะอิน-นครราชสีมา) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 เส้นทางตามแผนพัฒนาระบบทางหลวงพิเศษระยะเร่งด่วน

ในอนาคตมอเตอร์เวย์ สาย 6 เส้นนี้จะเชื่อมกรุงเทพฯ-เวียดนาม โดยเริ่มต้นสตาร์ตรถที่กรุงเทพฯ ใช้บริการมอเตอร์เวย์สาย 6 (บางปะอิน-นครราชสีมา) ซึ่งตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2553 จากนั้น ตัดเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดขอนแก่น ทะลุมุกดาหารผ่านสะพาน ข้ามโขงแห่งที่ 2 เข้าเมืองสะหวันนะเขต สปป.ลาว และเชื่อมต่อไปยังเมืองดานัง ของเวียดนาม
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 15-01-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.