| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 83 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-01-2552    อ่าน 11550
 เขื่อนกิ่วคอหมา-แม่กวง ประโยชน์มีมากกว่าที่เห็น

เรียกเสียงฮือฮามาก เมื่อกรมชลประทานพาสื่อไปดูงานความปลอดภัยของการก่อสร้างของ 2 เขื่อนยักษ์ในภาคเหนือ ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น (ยะเยือก)

เขื่อนแรกชื่อว่า "เขื่อนกิ่วคอหมา" ตั้งอยู่ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นเขื่อนใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จในปีนี้ โดยเริ่มประมูลและก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 ด้วย งบประมาณ 3,670 ล้านบาท สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุดถึง 170 ล้านลูกบาศก์เมตร

"นอกจากช่วยเก็บกักน้ำแล้ว เขื่อนใหม่ยังป้องกันเมืองลำปางไม่ให้เกิดน้ำท่วมด้วย เพราะช่วยเก็บกักน้ำด้านเหนือของลำน้ำวังไม่ให้ไหลทะลักลงสู่เขื่อนกิ่วลมซึ่งอยู่ด้านใต้และรองรับปริมาณน้ำได้จำกัด 112 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ18 ของปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนเท่านั้น ทำให้พื้นที่ในอำเภอเมืองลำปาง มีปัญหาน้ำท่วมประจำ แต่ปีนี้จะเป็นปีแรกที่จะไม่เกิดอุทกภัย กลางเมือง" วิทยา ธัยยามาตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้าง 14 กล่าวสรุป

หากระบบส่งน้ำแล้วเสร็จ 100% พื้นที่การเกษตรกว่าแสนไร่ก็จะได้รับอานิสงส์ ที่สำคัญ เขื่อนกิ่วคอหมายังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับเติมให้เขื่อนกิ่วลมได้เป็นอย่างดี โดยขยายพื้นที่การเกษตรในหน้าแล้งได้อีกถึง 30,000 ไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปางได้ด้วย

กิ่วคอหมา เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำวังที่กรมชลฯศึกษา โดยก่อสร้างเขื่อนกิ่วลมเป็นแห่งแรกเมื่อปี 2515 แต่มีข้อจำกัดที่รองรับน้ำได้แค่ 112 ล้าน ลูกบาศก์เมตร เพราะข้อจำกัดทางสภาพภูมิประเทศ กรมชลฯจึงขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเปิดโครงการกิ่วคอหมาอยู่เหนือเขื่อนกิ่วลม บริเวณ อ.แจ้ห่ม และได้รับอนุมัติปี 2546 ให้ดำเนินการก่อสร้างตัวเขื่อน และระบบส่งน้ำ ในระหว่างปี 2548-2553 วงเงินงบประมาณ 3,670 ล้านบาท ขณะนี้ตัวเขื่อนก่อสร้างเสร็จแล้ว เหลือเพียงระบบส่งน้ำซึ่งจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้

กล่าวถึงลำปาง เป็นเมืองประวัติศาสตร์และมีโบราณคดีมากมาย มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 12,534 ตารางกิโลเมตร (7,833,750 ไร่) มีแม่น้ำวัง เป็นลำน้ำสาขาที่สำคัญ ของแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ลุ่มน้ำแม่วัง มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 16 ของจำนวน ลุ่มน้ำทั้งสิ้น 25 ลุ่มน้ำในประเทศไทย ปี พ.ศ.2510 กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา Engineering Consultants Inc. (ECI) ทำการศึกษาจัดทำแผน แม่บท (Master Plan) ของลุ่มน้ำวัง จากผลการศึกษาแผนหลักกรมชลประทานได้เสนอแนะไว้ว่า ควรก่อสร้างเขื่อนเก็บ กักน้ำปิดกั้นแม่น้ำวังรวม 2 แห่ง คือ เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนกิ่วลมที่สร้างเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ.2515

จากปัญหาทางสภาพภูมิประเทศ ทำให้เก็บกักน้ำมีข้อจำกัด หรือเก็บได้เพียง ร้อยละ 18 ของปริมาณน้ำไหลลงอ่างในเกณฑ์เฉลี่ยทั้งปี ทำให้มีน้ำไหลล้นอ่างเป็นปริมาณมากในช่วงฤดูฝนของทุกปี แหล่งเก็บกักน้ำแห่งใหม่จึงมีความจำเป็นยิ่ง

ความปลอดภัยของเขื่อนและผลประโยชน์ของโครงการ ล้วนมีส่วนช่วยให้พื้นที่ภาคเหนือดังที่กล่าวมารอดพ้นจากภัยน้ำท่วม และยังช่วยให้มีการส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรในฤดูแล้งได้อีกถึง 3 แสนไร่ จาก 143,750 ไร่ หลังการก่อสร้างและงานส่งน้ำเสร็จหมดแล้ว

ส่วนพื้นที่ชลประทานแจ้ห่ม ที่เป็นพื้นที่ชลประทานใหม่ มีประมาณ 20,000 ไร่ เมื่อรวมกับส่วนขยายของพื้นที่ชลประทานกิ่วลม 3 จะทำให้มีพื้นที่ชลประทานทั้งสิ้นประมาณ 70,200 ไร่

จบการดูเขื่อนโครงการแรก รุ่งขึ้น ขบวนรถก็วิ่งตรงไปยังโครงการอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวง ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีมูลค่าก่อสร้างถึง 9,260 ล้านบาท

วัธนา กีรกะจินดา ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา กรมชลประทาน ให้รายละเอียดว่า โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง (โครงการอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง- แม่งัด-แม่กวง) ในส่วนของการพิจารณาความเหมาะสมโครงการนั้น สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) วิเคราะห์แล้วพบว่า ต้นทุนโครงการมีความคุ้มค่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านการเงิน

เหลือเพียงการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ทางกรมชลฯรอการ พิจารณาจากสำนักงานนโยบายและแผน สิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ หลังจากส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้หมดแล้ว

ขณะเดียวกัน กรมชลฯได้ออกแบบสำรวจโครงการอุโมงค์ส่งน้ำ แม่งัด-แม่กวงเป็นที่เรียบร้อย ยังเหลือ โครงการอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่งัดที่อยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ

โครงการเพิ่มน้ำในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนแม่กวง แบ่งเป็นโครงการอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่งัด 5,300 ล้านบาท และโครงการอุโมงค์ส่งน้ำแม่งัด-แม่กวง 3,960 ล้านบาท น้ำที่จะผันจากแม่งัดมายังแม่กวงนั้นมีปริมาณ 47 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี โดยเป็นการผันน้ำส่วนเกินในฤดูฝนมาเติมน้ำต้นทุนให้อ่างเก็บน้ำแม่กวง ซึ่งมีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อยและประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเรื่อยมา

"อ่างเก็บน้ำแม่กวงมีระดับเก็บกัก 263 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เก็บกักจริงได้น้อย เพราะมีพื้นที่รับน้ำฝนน้อยเพียง 569 ตารางกิโลเมตร เทียบกับอ่างเก็บน้ำแม่งัดเก็บกักใกล้เคียงกันคือ 265 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีพื้นที่รับน้ำฝนมากถึง 1,200 ตารางกิโลเมตร หรือมากกว่า เป็นเท่าตัว"

โครงการเพิ่มปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำแม่กวงจึงมีความจำเป็น เพราะนอกจากใช้เพื่อการเกษตรแล้ว น้ำจากอ่างแม่กวงยังใช้เพื่อผลิตน้ำประปาป้อนจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 80% และยังใช้สำหรับนิคมอุตสาหกรรมลำพูนอีกด้วย หากไม่สามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ก็จะมีผลกระทบในวงกว้าง

ย้อนอดีตของลำน้ำแม่กวง เป็นลำน้ำสาขาใหญ่สาขาหนึ่งของลำน้ำปิง มีต้นน้ำอยู่ที่บริเวณเทือกเขาในท้องที่อำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย ลำน้ำนี้ไหลผ่านท้องที่อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่บ้านสบทา อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีความยาวจากต้นน้ำถึงลำน้ำแม่ปิง 115 ก.ม.

ในกรณีเกิดมีพายุดีเปรสชั่นในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ จะทำให้น้ำในลำน้ำต่างๆ ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำปิงไหลลงสู่ลำน้ำปิงอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากลำน้ำแม่กวงนี้มีความลาดชันมาก จึงทำให้น้ำในลำน้ำ แม่กวงไหลท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำน้ำแม่กวง ไปยังบริเวณจุดบรรจบที่บ้านสบทา และไหลตัดผ่านลำน้ำแม่ปิง จึงมีผลทำให้น้ำในลำน้ำแม่ปิงเอ่อท่วมท้นบริเวณพื้นที่ ทั้งสองฝั่งของลำน้ำแม่ปิงในจังหวัดลำพูน จนกระทั่งถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้พื้นที่เพาะปลูกของราษฎรในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายเกือบทุกปี

ดังนั้นกรมชลฯจึงขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เปิดการก่อสร้างโครงการแม่กวงขึ้นบริเวณเหนือฝายแม่กวงเดิมประมาณ 1 ก.ม. และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติ

สุดท้าย เมื่อราษฎรในเขตพื้นที่โครงการแม่กวงมีน้ำพอเพียงในการเพาะปลูกแล้ว ก็จะมีผลให้ราษฎรพื้นที่นั้นๆ ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องไปบุกรุกที่ดินตัดไม้ทำลาย ป่าสงวนอีกต่อไป

เขื่อนจึงมีอะไรมากกว่าที่เห็น !
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 05-01-2552 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.