| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 58 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-12-2551    อ่าน 11450
 ''ปีหนูผี'' ตลาดบ้านหด 20% >ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าตลอดศก

ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าตลอดศก ''การเมือง-ราคาน้ำมัน-วิกฤติการเงินโลก'' ลากอสังหาฯจ่อปากเหว
ประมวลสถานการณ์ตลาดบ้านปี 2551 หรือปีหนูผี มีปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าตลอดทั้งปี การเมือง ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แถมเกิดวิกฤติการเงินโลก ฉุดกำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัว ขณะที่แบงก์เข้มปล่อยกู้-โอนบ้านไม่ได้ ส่งอสังหาฯขาดสภาพคล่อง คาดตลาดบ้านโอนทั้งปีแค่ 56,690 หน่วย หดตัวลงกว่า 20%

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของปี 2551 ผ่านพ้นไปอย่างเงียบๆ เพราะตลอดทั้งปีได้มีปัจจัยลบเข้ามากระทบตลาดอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่กระทบตลาดอย่างรุนแรงคือเรื่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์และความรุนแรงด้านการเมืองภายในประเทศ ผนวกกับมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะเข้ามากระทบกับเศรษฐกิจไทย กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่บั่นทอนความมั่นใจของผู้บริโภคให้ชะลอการใช้จ่ายลง

ย้อนไปในช่วงของไตรมาสแรกปี 2551 หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ขึ้นมา ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณที่ดีเพราะมีนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็กลับมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจากกลุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วย เมื่อมาผนวกกับปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นมาถึง 140 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลต่อเนื่องมาถึงไตรมาส 2 ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา สินค้าข้าวของทุกอย่างปรับราคาขึ้น ผู้บริโภคมีค่าครองชีพที่สูง อำนาจการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันได้ดันให้ต้นทุนค่าก่อสร้างบ้านของผู้ประกอบการสูงขึ้นตามจนต้องปรับราคาสินค้าขึ้นถ้วนหน้า อาทิ บ้านแนวราบปรับขึ้น 5% และแนวสูงคือคอนโดมิเนียมปรับขึ้น 10% เป็นอุปสรรคต่อการทำตลาดด้วยอำนาจในการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลงทำให้เกิดการชะลอการซื้อบ้านออกไปก่อนจนรัฐบาลในขณะนั้น (น.พ.

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ต้องออกมาตรการคลังมากระตุ้นภาคอสังหาฯ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากปกติเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 2 ของมูลค่าซื้อขาย ปรับลดลงเพียงร้อยละ 0.01 และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะจากปกติร้อยละ 3.3 เหลือร้อยละ 0.1 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2551 แต่ก็ไม่ได้ส่งผลดีเท่าที่ควรเพราะผู้บริโภคต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่กดดันกำลังซื้อให้ต่ำลงและการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ยากขึ้น

ทั้งนี้เมื่อเข้าไตรมาส 3 และไตรมาส 4 วิกฤติการเงินโลกได้เริ่มส่งผลชัดเจนขึ้น วานิชธนกิจชื่อดังของสหรัฐฯประกาศล้มละลายและบางแห่งรัฐบาลต้องเข้าไปอุ้ม ขณะที่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเริ่มทวีความรุนแรง คนในชาติขาดความสามัคคี รัฐบาลขาดเสถียรภาพ มีการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและมีการปิดสนามบินของชาติที่เปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำ ธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักทั้งจากการวิกฤติการเงินโลกและวิกฤติการเมืองในประเทศ โดยธุรกิจโรงแรมจากเดิมมีอัตราการเข้าพักประมาณ 80% ลดลงเหลือเพียง 10-20% ซึ่งมีการประมาณการว่าในปีหน้าจะเกิดปัญหาคนว่างงานในอุตสาหกรรมส่งออกและท่องเที่ยวเป็นหลักแสนคน เหล่านี้จนทำให้คณะกรรมการกำกับและดูแลนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์/พี) ลงถึง 1% จากก่อนหน้านี้ที่มักจะปรับลดลงแค่ 0.25% เพื่อต้องการบรรเทาสถานการณ์ให้เบาบางลง

ขณะเดียวกัน ภาคอสังหาฯ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันราคาน้ำมันจะลดลงมาจาก 140 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลมาอยู่ราวๆ 38 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล แต่จากความไม่มั่นใจในสถานการณ์การเมืองและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ กำลังซื้อเกิดการชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดโดยตลาดบ้านเดี่ยวกำลังซื้อหดหายไปประมาณ 20-30% ขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียมนั้นหายไปถึง 50% ลูกค้าในส่วนที่เป็นชาวต่างชาติและเก็งกำไรหายไปและพบว่าลูกค้าไม่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อจากแบงก์เป็นจำนวนมากถึง 30% ต่อโครงการ ผู้ประกอบการมีการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการเมืองในประเทศ และผู้ประกอบการบางรายเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องด้านการเงินจากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก และสินเชื่อผู้กู้ซื้อบ้าน ทำให้ต้องตัดขายที่ดินหรือขายโครงการให้กับผู้ประกอบการที่มีฐานการเงินที่แข็งกว่า

อย่างไรก็ดี ในภาคอุตสาหกรรมอสังหาฯ ภายใต้วิกฤติของตลาดก็เป็นโอกาสของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพราะจากการที่แบงก์หยุดปล่อยสินเชื่อในผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก ส่งผลให้อุตสาหกรรมอสังหาฯเหลือแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งภาพรวมของอุตสาหกรรมที่ดูเหมือนชะลอตัวลงและแย่แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ก็มียอดขายที่ดีกันแทบทุกรายเพราะว่าได้ส่วนแบ่งตลาดของผู้ประกอบการรายกลาง-เล็กที่ชะลอการลงทุนไปเข้ามาทดแทนโดยบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯปัจจุบันนี้กินส่วนแบ่งอยู่ที่ 60-70% นอกจากนั้นแล้วยังประหยัดภาษีไปได้อีกประมาณ 4.3% จากมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขายอสังหาฯ ทำให้กำไรสุทธิของผู้ประกอบการรายใหญ่ในไตรมาส 3 โตกันเกือบเท่าตัวทั่วทุกราย

ทั้งนี้ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่แย่มาตลอดทั้งปีดูเหมือนว่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้นหลังจากที่ปลายไตรมาส 4 พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและมีนายกรัฐมนตรีชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งทั้งภาคประชาชนและเอกชนต่างก็ฝากความหวังไว้ว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถกู้วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศให้กลับคืนมาได้

ด้านนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้มีการคาดการณ์ว่าที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกทม.และปริมณฑลในปี 2551 น่าจะอยู่ที่ 56,690 หน่วย ในขณะตัวเลขที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกทม.และปริมณฑลปีก่อนอยู่ที่ 74,221 หน่วยลดลงกว่า 20% โดยมีสัดส่วนบ้านเดี่ยวร้อยละ 47.7 ทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ร้อยละ 17.6 และอาคารชุดมีสัดส่วนร้อยละ 34.7 ส่วนจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในเขตกทม.และปริมณฑลประมาณการว่าจะอยู่ที่ 66,783 หน่วย เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 81,384 ลดลง 18%

ส่วน สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปคงค้าง ณ สิ้นไตรมาส 3/2551 อยู่ที่ 1,551,305 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 9% จากปีก่อน 1,479,903 ล้านบาท ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่อยู่ที่ 209,115 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 270,466 ล้านบาท สำหรับมูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ทั่วประเทศทั้งปีของธอส.ประมาณการว่าจะอยู่ที่ 73,500 ล้านบาทหดตัวลง 8% จากปีก่อนที่ปล่อยไป 80,000 หน่วย ขณะที่สินเชื่อผู้ประกอบการคงค้างทั่วประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 3/2551 อยู่ที่ 221,978 ล้านบาท และเมื่อสิ้นตุลาคม 2551 ในระบบธนาคารพาณิชย์มีสัดส่วนเงินฝาก 6,869,964 ล้านบาท และสินเชื่อ 7,340,904 ล้านบาท
  
ที่มา
[ กรุงเทพธุรกิจ ] วันที่ 25-12-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.