| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 60 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-12-2551    อ่าน 11267
 "เศรษฐา ทวีสิน" ภารกิจไล่ล่าแชมป์อสังหาฯ "แสนสิริ"

สัมภาษณ์


เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตโลกที่กำลังชะลอตัวอย่างหนัก ถือเป็น "โจทย์" ใหญ่ที่ ดีเวลอปเปอร์ต้อง พลิกตำราหาทางแก้เกมความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้กลับคืนมาเร็วที่สุด โดยอาศัยช่วงจังหวะดีๆ ที่อุณหภูมิการเมืองเริ่มคลี่คลาย

"เศรษฐา ทวีสิน" เอ็มดีค่ายแสนสิริ บริษัทพัฒนาที่ดินเบอร์สอง ถือโอกาสกาง "โรดแมป" แผนลงทุนโครงการใหม่ในปี 2552 แบบสวนกระแสถึง 16 โปรเจ็กต์ มูลค่ารวม 2.1 หมื่นล้านบาท หวังไล่บี้ เบอร์หนึ่ง "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" แบบหายใจรดต้นคอ นอกจากนี้เขายัง ประเมินทิศทางธุรกิจอสังหาฯยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดอย่างถึงลูกถึงคนตามสไตล์

"เศรษฐา" มองว่าการขยายตัวของอสังหาฯปีหน้าขึ้นอยู่กับตัวแปรหลักเพียงไม่กี่ตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี อัตราดอกเบี้ย และความเชื่อมั่น ผู้บริโภค (confidence consumer) ในแง่ของการขยายตัวปีหน้าตลาดที่อยู่อาศัยคงไม่ขยายตัว และมองว่าคงปรับตัวลดลงไม่เกิน 5-10% สาเหตุหนึ่งมาจากธนาคารพาณิชย์หยุดปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อยมานานแล้ว การแข่งขันจึงอยู่ระหว่างบิ๊กแบรนด์แค่ ไม่กี่รายที่แย่งเค้กซึ่งเดิมเป็นของผู้ประกอบการรายเล็กกับรายกลาง

"ปรากฏการณ์ที่จะได้เห็นในปีหน้าคือ ผู้ประกอบการจะหายไปจากตลาดกว่า 50% ไม่ได้หมายความว่าเจ๊งนะ แต่ไม่ทำเพราะหาทุนทำไม่ได้ จึงหยุดรอจังหวะที่เศรษฐกิจดีค่อยกลับมาใหม่ เป็นโมเดลธุรกิจที่ต่างไปจากปี 2540 เพราะครั้งนี้ผู้ประกอบการไม่ยอมกู้เยอะ เลยทำให้ไม่เจ๊ง มีน้อยใช้น้อย กินน้อย จังหวะไม่ดีก็หยุดไป ส่วนรายใหญ่ยังมีสถาบันการเงินปล่อยกู้ ทำให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความระมัดระวัง"

แน่นอนช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก ลูกค้าที่ได้รับเอฟเฟ็กต์หนีไม่พ้นกลุ่ม ต่างชาติ เขายอมรับว่า "แสนสิริ" ได้รับ ผลกระทบทางอ้อมจากกรณีดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการที่บริษัทข้ามเข้ามาทำธุรกิจในไทยอาจดึงคนกลับประเทศ ลูกค้าที่ซื้อคอนโดฯแสนสิริเพื่อปล่อยเช่า จึงอาจได้รับผลกระทบบ้าง ส่วนตลาดเก็งกำไรจะหายไปตามภาวะตลาดหุ้นที่ซบเซา

อย่างไรก็ตามบิ๊กอสังหาฯรายนี้ตั้งการ์ดป้องกันไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยให้ลูกค้าผ่อนดาวน์สูงถึง 20-30% หรือหากโครงการไหนขายดีก็อาจเรียกเก็บเงินดาวน์ถึง 40% ส่งผลให้ลูกค้ากว่า 50% โอนสดโดยไม่กู้แบงก์ทำให้มียอด reject น้อยมาก เพียงแค่ 5-7% เท่านั้น

แม้ว่าเศรษฐกิจในขณะนี้ยังอยู่ในช่วงคาบลูกคาบดอกแต่เครือแสนสิริยังเดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮาส์ 16 โครงการ มูลค่า 21,000 ล้านบาท เป็นคอนโดฯ 3 โครงการ มูลค่า 7,700 ล้านบาท, บ้านเดี่ยว 6 โครงการ มูลค่า 7,100 ล้านบาท และทาวน์เฮาส์ 7 โครงการ มูลค่า 5,500 ล้านบาท ทุกโครงการมีไฟแนนซ์หมดแล้ว

เป้าหมายคือไล่ล่าแชมป์จากเบอร์หนึ่ง "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" หากดูตัวเลขยอดรับรู้รายได้ในปีนี้ (2551) ประมาณ 16,000 ล้านบาท และมีแบ็กล็อกในมือรอรับรู้ 17,000 ล้านบาท ส่วนปี 2552 ประเมินยอดขาย (พรีเซล) ไว้ที่ 17,000 ล้านบาท ยอดรับรู้ประมาณ 17,000 ล้านบาท ความฝันที่จะเบียดยักษ์ใหญ่ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งเป็นไปได้ค่อนข้างมาก แม้ในด้านกำไรสุทธิแล้วจะน้อยกว่าแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ค่อนข้างมาก ซึ่งในประเด็นนี้เศรษฐายอมรับว่าเป็นเพราะแสนสิริกำลังอยู่ในช่วงการสร้างแบรนด์

"หากดูเรื่องการรับรู้รายได้ปีนี้ที่ 16,000 ล้านบาท และปีหน้าน่าจะรับรู้ได้ 17,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นยอดที่มีการเติบโต แต่ตัวเลขที่น่าสนใจมากกว่าคือ 17,000 ล้าน ที่จะรับรู้ปีหน้าตอนนี้อยู่ในกระเป๋าแล้ว 10,000 ล้าน เกือบ 65% ซึ่งเป็นอะไรที่ค่อนข้างสบายใจ ทางสถาบันการเงินเห็นแล้วก็แฮปปี้กับเราด้วย ขณะเดียวกันเราก็จะพยายามรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อทุนก็จะทำให้อยู่ที่ 1-1.2 เท่าให้ได้ และจะต้องบริหารสภาพคล่องที่มีกว่า 2,000 ล้านบาทอย่างมีประสิทธิภาพ"

แม้จะเชี่ยวชาญคอนโดฯระดับบน แต่ "เศรษฐา" บอกว่า ปีหน้า "แสนสิริ" จะเซอร์ไพรส์ด้วยการเปิดตัวคอนโดฯภายใต้แบรนด์และคอนเซ็ปต์ใหม่ ขนาดพื้นที่ห้องชุดเป็นแบบคอมแพ็กต์ ราคาประมาณ 1 ล้านบาทปลายๆ อีกเซ็กเมนต์หนึ่ง ดีเดย์ช่วงไตรมาสแรก ตัวโครงการจะค่อนข้างใหญ่และอยู่ในแนวรถไฟฟ้า

ถามว่า คอนโดฯแบรนด์ใหม่จะเข้าไปกินตลาดบริษัทในเครืออย่าง "พลัส พร็อพเพอร์ตี้" หรือไม่ เอ็มดีค่าย "แสนสิริ" ยืนยันว่า ไม่เป็นอย่างนั้นแน่นอน แต่ในฐานะผู้ประกอบการรายใหญ่ก็ต้องพร้อมจะเข้าไปแทรกตลาดในทุกเซ็กเมนต์ ไม่สามารถมองข้ามสินค้าหรือช่องว่างการตลาดที่มีอยู่ นอกจากนั้นยังต้องรักษาอัตราการเติบโตเฉลี่ยให้ได้ 10-15% เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้น

อย่างไรก็ตามสำหรับ "แสนสิริ" แล้ว การมียอดขาย 17,000 ล้านบาทได้ ทำให้งบฯการตลาดโดยรวมลดลงมาก และสามารถใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสื่อออนไลน์ เว็บไซต์ ฯลฯ ทำให้ต้นทุนการตลาดต่ำลงมาก

"ผมมั่นใจทุกโครงการที่จะเปิดตัวปีหน้า เหตุผลง่ายๆ ผู้ประกอบการรายย่อยกับ รายกลางไม่ทำแล้ว จึงเป็นโอกาสของเรา เพราะแบรนด์เราแข็งแกร่ง ทุกโครงการขายได้หมด มั่นใจว่ากำลังซื้อมีแน่นอนที่จะได้เห็นคือการรุกเข้าไปในทำเลที่เราไม่เคยไปมาก่อน เช่น ย่านพหลโยธิน เราจะขึ้นโครงการตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่

ห่างรถไฟฟ้าแค่ 300 เมตร จะเปิดตัวราวเดือนกุมภาพันธ์"

"เศรษฐา" มองว่าวิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสของ "แสนสิริ" เพราะสถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายไปหมด เพราะเดิมประเมินว่าไตรมาส 1/52 เศรษฐกิจไทยจะเลวร้ายที่สุด แต่การที่ราคาน้ำมันที่ลดลงจาก 140 เหรียญ/บาร์เรล เหลือแค่ 38 เหรียญ/ บาร์เรล จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลง บวกกับรัฐบาลมีนโยบายจะช่วยเหลือภาคการเกษตรอย่างเต็มที่ จุดนี้น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ทุกอย่างดีขึ้น

"ไตรมาส 1 อาจเร็วเกินไปที่ผลงานของรัฐปรากฏเป็นรูปธรรม อาจเห็นในไตรมาส 2 แต่ขึ้นอยู่กับทีมงานเศรษฐกิจว่าจะผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน ทุกคนต้องช่วยกัน ที่สำคัญผู้บริหารสูงสุดไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี หรือหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ต้องกล้าที่จะ peak action คือ ถ้าคุณไม่ทำก็ต้องย้าย แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ให้คนทำงานอยู่บนพื้นฐานของความกลัว หรือหวาดระแวง"

ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการแนะทริกการทำธุรกิจช่วงขาลงในปีหน้าว่า ต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีวินัยทางการเงิน และศึกษาช่องว่างทางการตลาดให้ดี สำคัญที่สุดคือ การบริหารสต๊อก (stock management) บ้านสร้างเสร็จจะต้องไม่เยอะเกินไป ต้องให้มีพร้อมกับยอดที่ขายออกไป เพราะทำให้มีภาระในเรื่องการดูแลรักษา และต้องบริหารต้นทุนให้ลดต่ำลง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 25-12-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.