| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 90 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-11-2551    อ่าน 11666
 ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล ติดอาวุธปูนซีเมนต์ "ตราเสือ" แปรวิกฤตเป็นโอกาส

สัมภาษณ์


ด้วยจังหวะเศรษฐกิจช่วงนี้ไม่ใช่ ขาขึ้นของธุรกิจปูนซีเมนต์ โจทย์สำคัญจึงอยู่ที่ใครจะ ปรับตัวเพื่อเปลี่ยน "วิกฤต" ให้เป็น "โอกาส" ได้เร็วกว่ากัน

อาจเป็นเพราะปูนซีเมนต์คือเป็นวัสดุก่อสร้างต้นน้ำ การรับรู้แรงกระเพื่อม จึงมาก่อนวัสดุอื่นๆ แต่สำหรับเครือซิเมนต์ไทยหรือ "SCG" กลับใช้โอกาสนี้ ส่งปูนถุงสูตรใหม่ภายใต้ชื่อ "ซูเปอร์ซีเมนต์ ก่อ ฉาบ เท" พร้อมอัดงบฯ การตลาด 40-50 ล้านบาท ออนแอร์หนังโฆษณาสร้างแบรนด์ เพื่อเป็น "อาวุธ" สำคัญ ในการกระตุ้นยอดขายสินค้าในกลุ่มปูนฉาบตราเสือที่มีอายุยาวนานถึง 70 ปี

"ผมว่าเราอยู่นิ่งไม่ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ต้องหาให้ได้ว่า ณ ช่วงเวลานั้นตลาดต้องการอะไร อย่างปูนซูเปอร์ซีเมนต์เราถือเป็น second brand ที่ต่ำกว่าตราเสือลงมาอีกขั้น เพื่อเข้ามาจับกลุ่มลูกค้าที่อยากใช้ปูนคุณภาพใกล้เคียงกับตราเสือแต่ต้องการจ่ายเงินน้อยลง" ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด ในเครือซิเมนต์ไทยให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ"

ซีอีโอธุรกิจซีเมนต์ของ SCG ขยายความว่า ได้ใช้เวลาในการศึกษาตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้นาน 2-3 ปี อนตัดสินใจวางตลาดในช่วงนี้ เพราะ ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย สินค้าตัวนี้ น่าจะเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค สำหรับปูนซูเปอร์ซีเมนต์ขนาดบรรจุถุงละ 40 กิโลกรัม จากปกติปูนถุงทั่วไปมีขนาดบรรจุ 50 กิโลกรัม และวางราคาต่ำกว่าปูน ตราเสือ 10% และบรรจุในถุงเคลือบพลาสติกป้องกันความชื้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยเนื้อปูนที่มีความ เข้มข้นขึ้น แม้ขนาดบรรจุจะลดลง 20% แต่สามารถก่อฉาบเทได้เท่ากับขนาด 50 กิโลกรัม การันตีด้วยเนื้อปูนที่เข้มข้นขึ้น และโลโก้ปูนเสือติดที่ถุง

ปัจจุบันการทำตลาดของปูนก่อฉาบเทของ SCG แบ่งเป็น 3 เซ็กเมนต์หลักๆ ลดหลั่นกันลงมาคือ 1) เสือพลัส 2) ตราเสือ และ 3) ซูเปอร์ซีเมนต์ ซึ่งเป็นการขยายฐานลูกค้า ไม่นับรวมปูนตราแรดที่ถือเป็นไฟติ้งแบรนด์ของค่ายนี้

"วัตถุประสงค์ของพัฒนาผลิตภัณฑ์คือคัสคอมไมซ์ให้ตรงความต้องการผู้บริโภคมากขึ้น ขอยืนยันว่า "ซูเปอร์ซีเมนต์" ไม่ใช่แบรนด์เฉพาะกิจที่ออกมาทำตลาด ในช่วงเศรษฐกิจซบเซา"

ในแง่ยอดขาย "ปราโมทย์" บอกถึง เป้าหมายว่าในช่วงปีแรกปูนซูเปอร์ซีเมนต์ต้องส่วนแบ่ง 10% ของตลาดปูนถุง (ก่อฉาบเท) ทั้งหมดที่มีความต้องการใช้ 8-9 ล้านตัน/ปี หรือคิดง่ายๆ คือมียอดขายเกือบ 1 ล้านตัน

หลังจากวางจำหน่ายมา 2 เดือน ผลตอบรับถือว่าดีเห็นได้จากมีเอเย่นต์ทั้งที่ขายให้ผู้รับเหมาและร้านค้าช่วงสั่งซื้อสินค้าซ้ำเข้ามาแล้ว ส่วนยอดขายปูนเสือก็ยังคงไปได้ในระดับใกล้เคียงกับของเดิม

แต่ในแง่การวัดผลคงต้องใช้เวลาอีก เป็นปีๆ เพราะปูนซีเมนต์ไม่ได้เป็นสินค้า ที่มีความถี่ในการใช้งาน

"ปราโมทย์" บอกอีกว่า SCG ยังคง ต้องมุ่งพัฒนาสินค้าที่เป็นอินโนเวชั่นใหม่ๆ ออกมาต่อเนื่อง ไม่ว่าสถานการณ์ตลาดจะโตขึ้นหรือหดตัวลง เพราะภารกิจคือ ต้องหาจุดที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ได้

ส่วนตระกูลปูน "ตราช้าง" ที่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในแง่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นเพราะส่วนหนึ่งมีช่องทางการขายผ่าน "คอนกรีตผสมเสร็จซีแพค" เหมือนเป็นหนึ่งในวัตถุของคอนกรีตซีแพค อินโนเวชั่น จึงออกไปทางนั้น

ปัจจุบันแนวโน้มการใช้ปูนถุงโดยเฉพาะปูนสำหรับงานโครงสร้างจะลดลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ต้องมีสต๊อกปูน ไม่เกิดความสูญเสีย อย่างการซื้อปูน ไปผสมเองที่แน่ๆ คือต้องซื้อเผื่อเหลือไว้ก่อน เพราะถ้าไม่พอใช้งานจะขาดตอนทันที แต่คอนกรีตใช้เท่าไหร่สั่งเท่านั้น เชื่อว่าเทรนด์จะมาแบบนี้เหมือนกับทั่วโลก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 27-11-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.