| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 88 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-10-2551    อ่าน 11952
 บุญลือ วงศ์พรเพ็ญภาพ เปิดวิธีคิดฉบับ "โฮมสแตนดาร์ดฯ"

สัมภาษณ์


"ช้าแต่ชัวร์" อาจเป็นวิธีคิดวิธีบริหารงานองค์กรให้เติบโตแบบคอนเซอร์เวทีฟ แต่สำหรับธุรกิจ "รับสร้างบ้าน" แนวคิดนี้ยังใช้ได้เป็นอย่างดี

อาจเป็นเพราะธุรกิจรับสร้างบ้านค่อนข้างมีข้อจำกัดสำหรับการขยายปริมาณลูกค้า เพราะยิ่งรับงานมาก โอกาสที่คุณภาพสินค้า (บ้าน) จะด้อยลงก็มีสูง

เช่นเดียวกับ "บุญลือ วงศ์พรเพ็ญภาพ" กรรมการผู้จัดการของ บริษัท โฮมสแตนดาร์ด ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ก็เลือกที่จะใช้วิธีคิดแบบนี้ในการบริหารงานบริษัทรับสร้างบ้านที่เขาปั้นมากับมือหลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในงานก่อสร้างบ้านกับบริษัทพัฒนาที่ดินค่าย "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" และ "ศุภาลัย" มาเกือบ 10 ปี

ก่อนจะมาตั้งบริษัทโฮมสแตนดาร์ดฯ เมื่อปี 2539 โดยใช้เงินทุนส่วนตัว 1 แสนบาท และอีกก้อนที่ได้จากการขายฝันกับญาติพี่น้อง ได้เงินมาร่วมกัน ลงขันรวม 1 ล้านบาท นำมาใช้เป็นทุนจดทะเบียนตั้งบริษัท มีสำนักงานขายสาขาแรกในย่านสุขาภิบาล 2 โดยเริ่มต้นจากการจับตลาดสร้างบ้านระดับล่างเป็นหลักในช่วงเริ่มแรกของการออกสตาร์ตบนเส้นทางธุรกิจสายนี้

"ต้องให้เครดิตกับแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และศุภาลัย ที่เป็นเสมือนโรงเรียนให้ความรู้แก่เรา ที่แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ผมได้เรียนรู้วิธีคิดและการวางระบบทำงาน ส่วนที่ศุภาลัย ผมได้เรียนรู้จากการลงมือทำเอง กลายเป็นส่วนผสมประสบการณ์ 2 อย่างที่ลงตัว" บุญลือบอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

หลังจากเริ่มต้นทำธุรกิจในปีแรกบริษัทก็มีลูกค้าเข้ามา 3 หลัง รวมมูลค่าประมาณ 25 ล้านบาท จากนั้นย่างเข้าสู่ ปี 2541 จังหวะการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง เพราะออฟฟิศย่านสุขาภิบาล 2 ซึ่งเป็นที่เช่าหมดสัญญาลง จึงต้องตระเวนหาทำเลใหม่ และมาลงตัวที่ห้องแถวในย่านบางกะปิ

แต่อุปสรรคก็คือบริษัทเหลือเงินทุนที่มีอยู่ในมือ 3 ล้านบาท ส่วนห้องแถวที่ต้องการจะซื้อตั้งราคาขาย 4.5 ล้านบาท

"ตอนนั้นผมพยายามขอกู้เงินจากแบงก์หลายแห่ง แต่เป็นเพราะฟองสบู่เศรษฐกิจเพิ่งแตก สถาบันการเงินมองว่าธุรกิจรับสร้างบ้านคือรับเหมาก่อสร้างทั่วไป ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยง จึงไม่มีแบงก์ไหนกล้าปล่อยกู้"

แต่ว่ากันการทำธุรกิจ ฝีมืออย่างเดียว ไม่พอ เรื่องดวงก็มีส่วนเหมือนกัน เพราะหลังจากเจรจากัน ที่สุดเจ้าของตึกก็ยอม ลดราคาขายเหลือ 3.1 ล้านบาท

หลังจากได้ออฟฟิศแห่งใหม่ ธุรกิจรับสร้างบ้านของโฮมสแตนดาร์ดฯก็มียอดขายเติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 10-15% โดยปี 2544 เปิดสาขาที่ 2 ในย่านปิ่นเกล้า กระทั่งปี 2546 บริษัทก็มียอดขายทั้งปีแตะ 50 ยูนิต หรือประมาณ 100 ล้านบาทและล่าสุดปี 2549 ได้ลงทุนซื้อพื้นที่อาคารสำนักงานในตึกทศพลแลนด์ (ใกล้เซ็นทรัลบางนา) ใช้เงินลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อตกแต่งเป็นสำนักงานแห่งที่ 3 พร้อมๆ กับปรับแผนธุรกิจมาจับตลาดกลุ่มลูกค้าสร้างบ้านระดับกลางถึงบน ราคาตั้งแต่ 3-12 ล้านบาท

ถามถึงแนวคิดวิธีบริหาร "บุญลือ" บอกว่า ยึดหลักค่อยเป็นค่อยไปมาตลอด ส่วนแนวคิดในการพัฒนาองค์กรให้ความสำคัญใน 4 ส่วน คือ 1)แบบบ้าน 2)งานก่อสร้าง 3)บริการ และ 4)บุคลากร

อย่างเรื่องแบบบ้าน โฮมสแตนดาร์ดฯวางเป้าหมายว่า แต่ละปีจะต้องมีแบบใหม่ๆ ออกมาอย่างน้อย 8 แบบมีการทำโปรแกรมพัฒนาช่าง การบริการต้องสร้างความเป็นกันเองกับลูกค้า ตั้งแต่เริ่มติดต่อกันทางโทรศัพท์ การต้อนรับ บริการระหว่างและหลังการขาย และการฝึกอบรมบุคลากร

"สิ่งที่เป็นจุดเด่นของเราคงเป็นเรื่องบริการ อย่างบริการหลังการขาย บริษัทจะส่งทีมไปตรวจเช็กหลังส่งมอบบ้านแล้วทุกๆ 4 เดือน รวม 6 ครั้ง หรือประมาณ 2 ปี วางเป้าว่าในระยะยาว เราต้องเหนือกว่าคู่แข่งในเรื่องบริการ"

กับเป้าหมายในระยะยาว "บุญลือ" ยอมรับว่าการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯคือความตั้งใจสูงสุด เพราะหมายถึงการเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน และส่วนหนึ่งยังสามารถระดมทุนเพื่อนำมาขยายธุรกิจได้อีกมาก

เพราะธุรกิจรับสร้างบ้านมีข้อจำกัดด้านการขยายงานให้เติบโตแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น เพราะการพัฒนาทีมงานก่อสร้างจำเป็นต้องอาศัยเวลา จึงเป็นธุรกิจแบบเก็บเล็กผสมน้อย ธุรกิจรับสร้างบ้านมีมาร์จิ้นไม่สูง เฉลี่ยกรอสมาร์จิ้นอยู่ที่ 20-25% และมีเน็ตมาร์จิ้นอยู่ที่ 5-15% แล้วแต่ความสามารถในการทำกำไรของแต่ละบริษัท ซึ่งส่วนอยู่ในระดับ 7-10%

"บุญลือ" ยอมรับว่าในอนาคตธุรกิจ รับสร้างบ้านจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบหรือระบบการก่อสร้าง จากปัจจุบันที่พึ่งพาแรงงานเกือบ 100% มาใช้เครื่องจักรช่วยผลิตหรือที่เรียกว่าการก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูปหรือบ้านสำเร็จรูป เพราะปัจจุบันถึงแม้บริษัทมีแรงงานก่อสร้างประมาณ 400 คน แต่ก็เพียงพอรองรับงานก่อสร้างได้ประมาณ 30 ยูนิตต่อปีเท่านั้น

การปรับกระบวนการสร้างบ้านมาเป็นกึ่งสำเร็จรูปจึงเป็นเหมือนการใช้ตัวช่วย และยังสามารถควบคุมคุณภาพบ้านให้นิ่งขึ้น เพราะถ้าขยายตลาดโดยใช้วิธีให้ผู้รับเหมาเข้ามาซับงานก็เป็นเรื่องยากที่จะควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานบริษัท

อีกเหตุผลหนึ่งของการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ "บุญลือ" บอกว่าเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรในบริษัทได้มีโอกาสเติบโต เพราะทุกวันนี้ทีมงานของโฮมสแตนดาร์ดฯหลายคนมีฝีมือและประสบการณ์ทำงานมานาน ถือว่ามีแวว เป็น "เถ้าแก่" ได้

เมื่อบริษัทมีการขยับขยายงานจากการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯก็เสมือนเป็นการ สร้างโอกาสมีส่วนเป็นเจ้าของธุรกิจขณะเดียวกันก็มีหลายสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป เช่น การใช้งบประมาณเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์องค์กร ฯลฯ เชื่อว่าทุกองค์กร ก็คิดเช่นนี้ แต่จังหวะยังมาไม่ถึง

"บุญลือ" คาดหวังไว้ว่าการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯน่าจะเกิดขึ้นได้ภายในเวลา 3-5 ปีข้างหน้า และเมื่อถึงจุดนั้น ตัวเขาตั้งใจที่จะลดบทบาทการทำงานลง และเปิดโอกาสให้บุคลากรที่มีฝืมือเข้ามาบริหารงานแทน ที่สำคัญ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเติบโตในธุรกิจรับสร้างบ้านเพียงอย่างเดียว ต่อไป โฮมสแตนดาร์ดฯอาจเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร

โดยใช้ประสบการณ์จากงานรับสร้างบ้านเป็นฐานต่อยอดธุรกิจ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 02-10-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.