| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-10-2551    อ่าน 11504
 ค่าโง่ ขยายสัมปทาน BECL ใต้เงื้อมมือ "กทพ.-คมนาคม"

ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้ง สำหรับปรากฏการณ์การชุมนุมของสหภาพฯและพนักงาน กทพ. (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) นับ 100 คน แต่งดำตะโกนขับไล่บอร์ด และผู้ว่าการ กทพ. ให้พ้นจากรั้วองค์กรการทางพิเศษฯ

ต้นเรื่องมาจากต้องการให้ทั้งบอร์ด (คณะกรรมการ) และผู้ว่าการ คือ "เผชิญ ไพโรจน์ศักดิ์" รับผิดชอบการกระทำที่ทำให้ กทพ.เสียหาย ต้องจ่ายค่าชดเชย 18,086 ล้านบาท ให้บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL แลกกับการยุติข้อพิพาทปรับ ค่าผ่านทางระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ซึ่งเกิดจากการตีความสัญญาต่างกัน

"ไม่เห็นเหตุการณ์แบบนี้มานาน เคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ครั้งนี้บอร์ดและผู้ว่าการต้องตอบพนักงานให้ได้ว่า ทำไมต้องรีบเร่งและจ่ายค่าชดเชยให้เอกชน" แหล่งข่าวจาก กทพ.กล่าว

จับสังเกต เร่งคลอดมติอนุมัติ

"ดูแล้วผู้บริหาร กทพ.ถูกบีบให้ทำแบบนี้ เพราะตอบไม่ได้ว่าทำไมถึงรีบ ทั้งที่ศาลยังไม่ตัดสิน ผ่านบอร์ดวันที่ 5 กันยายน แล้วเสนอคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 กันยายนทันที สหภาพฯต้านเพราะถูกหลอกว่ายังไม่มีเรื่องนี้เข้าบอร์ด แต่วันที่ 5 ที่ผ่านมา บอร์ดกลับประชุมลับและอนุมัติเรื่องนี้ โดยที่ไม่ให้สหภาพฯเข้าร่วมประชุมเหมือนทุกครั้ง"

"ศราวุธ ศรีพยัคฆ์" ประธานสหภาพฯในฐานะหัวขบวน ตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ กทพ.และ BECL พยายามหาข้อยุติเรื่องข้อพิพาทมาโดยตลอดแต่ยังไม่สำเร็จ ทำไมบริษัทถึงยอมตกลงง่ายๆ

ขณะที่ "ผู้ว่าการเผชิญ ไพโรจน์ศักดิ์" ตอบเพียงสั้นๆ ว่า "วันที่ 8 กันยายนผมกำลังจะชี้แจงเรื่องนี้กับสหภาพฯแต่ไม่ทัน เพราะต้องรีบเดินทางไปอุดรฯ เพื่อชี้แจง ครม."

ที่น่าเห็นใจอีกคนหนึ่ง คือ "สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์" ประธานบอร์ด กทพ. ที่ยังเคลียร์ข้อมูลไม่ชัดเจนนักว่า ทำไม รมว.คมนาคม "สันติ พร้อมพัฒน์" ถึงรีบนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.

"สุรชัย" พยายามชี้ให้เห็นว่า การตัดสินใจของบอร์ดเพื่อลดความเสี่ยงของ กทพ. ไม่ต้องชำระผลต่างรายได้ เต็มจำนวน 78,350 ล้านบาท หากศาลตัดสินให้แพ้คดี เพราะไม่ได้ปรับอัตรา ค่าผ่านทางตามสัญญา ประชาชนผู้ใช้ทางไม่เดือดร้อนจากการปรับค่าผ่านทาง และยุติข้อพิพาทในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ช่วยลดภาระการลงทุนของรัฐ

"มติ ครม.อนุมัติหลักการตามแนวทางที่ กทพ.เสนอ ยังไม่มีอะไรผูกมัด กทพ.ต้องไปทำรายละเอียดดูข้อกฎหมาย เท่ากับ นับหนึ่งใหม่ ยังไม่จบ" นายสุรชัยชี้แจง

แต่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง ดีลนี้มีตำแหน่งสำคัญมาเป็นเดิมพัน โยงไปถึงเก้าอี้ปลัดกระทรวงคมนาคม ที่ "สุรชัย" ได้รับแต่งตั้งวันเดียวกับ ครม.อนุมัติเรื่องนี้ ขยายผลไปถึงการต่อสัญญาจ้างตำแหน่งผู้ว่าการ กทพ.ของ "เผชิญ" กำลังจะหมดวาระวันที่ 20 มกราคม 2552 เพราะ ทุกอย่างดูลงตัว ถูกที่ ถูกจังหวะเวลาพอดี

อินไซด์มติบอร์ด-มติ ครม.

ผลการเจรจาระหว่างคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทและบีอีซีแอล ได้ข้อยุติและผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด กทพ.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 คือ

1.ชดเชยให้ BECL 70% ของผลต่าง รายได้ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2541 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ ปี 2551 เป็นเงิน 18,086 ล้านบาท ณ อัตราลด 9% จากเดิม 25,838 ล้านบาท แบ่งเป็นผลต่างปี 2541-2546 วงเงิน 1,412.71 ล้านบาท ปี 2546-2551 วงเงิน 7,967.20 ล้านบาท รวม 9,380 ล้านบาท และผลต่างปี 2551-2556 วงเงิน 7,022.30 ล้านบาท ปี 2556-2563 วงเงิน 9,435.50 ล้านบาท รวม 16,458 ล้านบาท

2.ให้สิทธิในการรับส่วนแบ่งรายได้ 40% ของค่าผ่านทางแต่ละวัน หลังสิ้นสุดสัญญาอีก 8 ปี 10.8 เดือน 3.กทพ.มีสิทธิเป็น ผู้บริหารจัดการโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 เพียงผู้เดียว หลังสิ้นสุดสัญญาในปี 2563 4.การปรับอัตราค่าผ่านทางหลังจากปี 2551 ให้ถือตามอัตราค่าผ่านทางที่ กทพ.กำหนด โดย BECL จะไม่โต้แย้งใดๆ อีก

5.หาก BECL นำสิทธิดังกล่าวไปขายลดหรือโอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลที่ 3 ในอัตราคิดลดที่ต่ำกว่าที่ตกลงไว้กับ กทพ. จะต้องนำผลต่างเงินชดเชยที่ได้จากการขายสิทธิกับเงินชดเชยที่ตกลงไว้คืนให้ กทพ.เป็นเงินสดด้วย

"เท่ากับ กทพ.ยอมรับว่าการปรับค่าผ่านทางที่ผ่านมาผิดจริง และพยายามคล้อยตาม เพราะเห็นว่าศาลชั้นต้นตัดสินแล้วว่า กทพ.ผิด จึงคิดว่าศาลฎีกาจะตัดสินออกมาเหมือนกัน" แหล่งข่าววิเคราะห์

อย่างไรก็ตามหลังถูกกระแสกดดันมากๆ กทพ.พยายามลบข้อครหาด้วยการดึงขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นไปตาม ขั้นตอนราชการมากที่สุด ดูได้จากขั้นตอนต่างๆ ที่ กทพ.ต้องทำหลัง ครม.มีมติ คือ

1.หารือกฤษฎีกาถึงหลักการว่า เข้าข่ายพระราชบัญญัติร่วมทุนฯหรือไม่ 2.ให้ยกเลิกข้อพิพาททั้งหมด เช่นเดียวกับกรณีของบริษัท ทางยกระดับดอนเมืองฯ

3.ตรวจสอบปริมาณการจราจรเกิดขึ้นจริงหลังปรับค่าผ่านทางเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 เพื่อนำมาทบทวนหาผลต่างรายได้ 4.ให้มีการทบทวนอัตราคิดร้อยละ 9 กรณีหากบีอีซีแอล ขายสิทธิของรายได้รับเกินชดเชยส่วนต่างรายได้ให้แก่บุคคลอื่น

5.ชดเชยรายได้ร้อยละ 40 ของค่าผ่านทางแต่ละวัน คำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน (2551) มียอดรวมครบ 18,086 ล้านบาท ก่อนครบกำหนดระยะเวลา 8 ปี 10.8 เดือน เมื่อไรถือว่าสิ้นสุด ไม่ต้องชดเชยต่อ

ชำแหละ จ่ายจริง 5-6 หมื่นล้าน !

แหล่งข่าวจาก กทพ.ขยายผลว่า หากลงลึกในรายละเอียดจริงๆ วงเงินที่ กทพ.จ่ายจริงไม่ใช่แค่ 18,086 ล้านบาท เพราะต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอีก 9% โดยวงเงิน 18,086 ล้านบาท ถึงเวลาจ่ายจริง กทพ.ต้องจ่ายถึงกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท

"กรณีนี้เหมือนกับ BECL นำเงินมาฝากไว้กับ กทพ. เพราะ กทพ.ไม่มีเงินก้อนจ่ายตอนนี้ จึงผ่อนชำระเป็นรายปีให้ BECL มารับเงินคืนอีก 12 ปีข้างหน้า จึงต้องบวกดอกเบี้ย ไม่งั้นคงไม่ยอมลดจาก 78,955 ล้านบาท มาเหลือเท่านี้ และนี่คือเหตุผลที่ กทพ.พยายามต่อรองว่า เมื่อครบวงเงินที่ 18,086 ล้านบาทเมื่อไหร่เป็นการสิ้นสุด"

ที่สำคัญหากย้อนดูตั้งแต่การร่างสัญญาสัมปทาน มีช่องโหว่ให้ตีความได้หลายมาตรฐานจนเกิดเป็นข้อพิพาทบานปลาย มาจนถึงวันนี้ จึงต้องดูกันต่อไปว่า กทพ. จะแก้ข้อครหานี้ได้อย่างไร
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 02-10-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.