| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 71 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 23-09-2551    อ่าน 13541
 จับตาเทรนด์ใหม่! รื้อตึกเก่าทำ “Budget Hotel”

เปิดเทรนด์ใหม่ธุรกิจโรงแรม ซื้อตึกเก่า อาคารพาณิชย์ ปรับสู่ Budget Hotel บูมรับแอร์พอร์ตลิงค์ เจาะช่องว่างโรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ ดึงกลุ่มแบ็คแพ็ค และเจ้าของเอสเอ็มอี วางโพซิชั่นนิ่งพักได้ตลอดปี ไม่มีโลว์ซีซั่น

หากใครเคยผ่านไปผ่านมาในซอยสุขุมวิท 32 คงต้องคุ้นตากับเรือนไทยที่มีชื่อว่า “บ้านไทย” หรือ “เดอะ บ้านไทย เวลเนส รีทรีต” (The Baan Thai Wellness Retreat) ซึ่งเคยเป็นบ้านของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 ต่อมาก็กลายเป็นมรดกมาสู่ ม.ร.ว. พงษ์พรหม จักรพันธุ์ จากนั้นก็ตกทอดมาสู่รุ่นหลานอย่าง ม.ล. สมพงษ์วดี วิกิตเศรษฐี และ ม.ล. สุดาวดี เกรียงไกร

ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นร้านอาหารไทยและหยุดกิจการไป “อินทิรา กตัญญุตานนท์” หลานสาวของ ม.ล.สุดาวดี เจ้าของบ้านไทยหลังนี้ จึงได้ปรับมาเป็นบูติก โฮเทลที่กล่าวถึงข้างต้น จนเมื่อปั้น “บ้านไทย” ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ โดยเฉพาะคนยุโรปประมาณ 2 ปีแล้ว ก็ตัดสินใจขายธุรกิจดังกล่าวให้นักลงทุนที่สนใจในธุรกิจเพื่อสุขภาพนี้มาสานต่อไป

“เหมือนเราเป็นคนสนุกกับการสร้างแบรนด์ พอแบรนด์บ้านไทยติดตลาดแล้ว มีผู้สนใจขอซื้อต่อ เมื่อได้ในราคาที่ดีที่สุด ณ วันนั้น จึงตัดสินใจขาย” อินทิรา อดีตเจ้าของบ้านไทย กล่าว

มาวันนี้ เธอ หันมาจับธุรกิจเครื่องประดับสไตล์ “วินเทจ” ได้พักใหญ่ ก็พร้อมที่จะผลักดันโปรเจคใหม่อีกครั้งกับการรุกธุรกิจ “Budget Hotel” ภายใต้แบรนด์ “Story@Bangkok” โรงแรมราคาประหยัดเจาะกลุ่มแบ็คแพ็ค ซึ่งกำลังกลายเป็นเทรนด์โรงแรมที่น่าจับตามองทีเดียว

คอนเซ็ปต์ของ Budget Hotel คล้ายกับเกสต์เฮ้าส์ แต่อาจมีจำนวนยูนิตที่มากกว่าและมีบริการที่ดีกว่า ใกล้เคียงกับบริการของโรงแรม แต่มีราคาถูกกว่าหลายเท่า อัตราเข้าพักต่อคืนเริ่มต้นไม่เกิน 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับทำเล ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่ขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะย่านสุขุมวิท จะอยู่ในทำเลที่ขยับเข้าไปในซอยที่ไม่ติดรถไฟฟ้ามากนัก

แต่สามารถใช้รถไฟฟ้าแล้วต่อรถสาธารณะอื่นๆ ได้ เช่น อโศกฝั่งถนนเพชรบุรี, บริเวณซอยปรีดีพนมยงค์, สุขุมวิทตอนปลาย มี Budget Hotel เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เดอะ เบดรูมส์ สุขุมวิท 77, รีฟิว นาว ปรีดีพนมยงค์ 42, อิมม์ ฟูสชั่น สุขุมวิท 50 ใกล้บีทีเอสอ่อนนุช เป็นต้น

หากแต่สิ่งที่น่าสนใจของ Budget Hotel เกิดใหม่เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของบรรดานักลงทุนรายย่อยไล่กว้านซื้อตึกแถว อาคารพาณิชย์หรือโรงแรมเก่ามาปรับปรุงใหม่ หรือบางแห่งใช้วิธีรื้อตึกเก่าทิ้งและสร้างใหม่ให้มีสไตล์น่าเข้าพัก ไม่ดูหรูหราเหมือนโรงแรมจนเกินไปนัก แต่ดูดีกว่าเกสต์เฮ้าส์ทั่วไป

อินทิรา กตัญญุตานนท์ เจ้าของ Budget Hotel แห่งใหม่ Story@Bangkok เล่าให้ฟังว่า ทำเลในเมืองมีจำกัด ส่วนใหญ่มีสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว ทำให้บรรดาเจ้าของ Budget Hotel ต้องหาห้องแถวบนทำเลเหล่านี้แล้วมาปรับปรุงใหม่ ซึ่งนอกจากจะได้ทำเลที่ดีแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างใหม่อีกด้วย จึงตั้งราคาเข้าพักได้ไม่แพงนัก

แนวโน้มที่กล่าวถึงในต่างประเทศมีมานานแล้ว

เพราะความต้องการของ Budget Hotel มีสูงมาก ไม่เฉพาะกลุ่มแบ็คแพ็คเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีที่ไม่ต้องการพักโรงแรมระดับห้าดาว และไม่สนใจเข้าพักในเกสต์เฮ้าส์ ตลาด Budget Hotel จึงเป็นโปรดักส์ที่เข้าไปแทรกกลางระหว่างทั้งตลาดโรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ ซึ่งเริ่มขยายตัวในกรุงเทพฯ มากขึ้น

“เทรนด์นี้กำลังมาแรงมาก และจากการที่เราลองเข้าไปสำรวจตาม Budget Hotel ต่างๆ แล้วจะพบว่าส่วนใหญ่อัตราการเข้าพักสูงมาก อย่างเดอะ เบดรูมส์ หรือ รีฟิว นาว เต็มตลอด”

รื้อตึกเก่าผุด Story@Bangkok

จากสถานการณ์ขาขึ้นของตลาดดังกล่าวส่งผลให้ อินทิรา กลับมาสนใจลงทุนธุรกิจโรงแรมอีกครั้ง โดยซื้ออาคารเก่าบนย่านสุขุมวิท 26 และรื้อทิ้งเพื่อสร้างโรงแรมแห่งใหม่ในคอนเซ็ปต์ Budget Hotel ภายใต้แบรนด์ “Story@Bangkok” บนพื้นที่กว่าไร่ครึ่ง แบ่งพื้นที่การพัฒนาเป็น 2 เฟส

เฟสแรกบริเวณด้านหน้าพัฒนาเป็นอาคารสูง 4 ชั้น จำนวน 49 ห้อง อัตราค่าเข้าพักไม่เกิน 3,000 บาท ส่วนเฟสสองเป็นพื้นที่ด้านหลังประมาณ 300 ตารางวาที่ปัจจุบันเป็นบ้าน 2 หลังปล่อยเช่าไว้ก่อน

ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมงานก่อสร้าง หากสามารถขึ้นโครงการได้ประมาณเดือนกันยายนนี้ จะแล้วเสร็จกุมภาพันธ์ 2552 วางงบลงทุนไม่เกิน 80 ล้านบาท ซึ่งพื้นฐานครอบครัวมีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ทำให้มั่นใจเรื่องการคุมต้นทุนงานก่อสร้างได้ดีกว่า และการเริ่มต้นด้วยอาคารสูงเพียง 4 ชั้น เพราะต้องการใช้เงินทุนไม่มากนัก เหมือนชิมลางตลาดก่อน หากได้รับการตอบรับที่ดีในเฟสอื่นๆ ก็พร้อมจะทำอาคารสูงกว่านี้

สำหรับการเลือกใช้แบรนด์ คำว่า “Story” จะเหมือนเป็นแบรนด์หลัก ขึ้นอยู่กับว่าพัฒนาบนทำเลใด ก็จะ @ ทำเลนั้น ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้ @Bangkok แทนการใช้ @สุขุมวิท เพราะต้องการให้สะดวกในการทำตลาด โดยปัจจุบันการทำตลาดของโรงแรมจะผ่านตัวแทนเป็นหลักและต้องจองผ่านอินเตอร์เน็ต

การเลือกใช้ Bangkok ต่อท้ายจึงเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการทำตลาด เพราะเวลานักท่องเที่ยวต่างชาติหาที่พักในกรุงเทพฯ จะค้นหาจากคีย์เวิร์ดคำว่า “Bangkok” ชื่อ Story@Bangkok ก็จะขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินให้กับเซิร์สเอนจิ้ง เช่น กูเกิ้ล

วิธีการดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในเทคนิคการทำตลาดของบรรดา Budget Hotel ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีวิธีการที่น่าสนใจอื่นๆ อีก โดย อินทรา เล่าให้ฟังว่า Budget Hotel เปิดใหม่รายหนึ่ง ใช้วิธีเจาะตลาดคอร์ปอเรทดึงองค์กรที่มีเครือข่ายในต่างจังหวัดเข้ามาใช้บริการ เสนอแพ็คเกจเหมาองค์กร เพื่อให้กับพนักงานเข้าพักเวลามาประชุมกับสาขาแม่ที่กรุงเทพฯ หรือการจัดสัมมนาภายในองค์กรต่างๆ ซึ่งจะทำให้ Budget Hotel เต็มตลอดทั้งปี ไม่มีช่วงโลว์ซีซั่นเลย และจะมีอัตราเฉลี่ยการเข้าพักอยู่ที่ 80%

ชี้เทรนด์ Budget Hotel อิงแอร์พอร์ตลิงค์

ปัจจัยที่ทำให้ตลาด Budget Hotel มาแรงมากในช่วงนี้ เพราะเป็นบรรดานักลงทุนต้องการเปิดแมนชั่น อพาร์ทเมนท์บริเวณใกล้แนวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ที่เชื่อมตรงไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ แต่พื้นที่ใกล้เคียงถูกพัฒนาไปจนไม่เหลือที่ดินเปล่าให้พัฒนาใหม่แล้ว จึงต้องอาศัยการซื้อตึกแถวเก่า อาคารพาณิชย์บริเวณใกล้เคียงมาปรับปรุงใหม่เป็น Budget Hotel ในย่านที่ใกล้กับแอร์พอร์ตลิงค์จะมีจำนวนของโรงแรมลักษณะนี้เกิดขึ้นจำนวนมาก

โดยหากเอ่ยถึงคอนเซ็ปต์ Budget Hotel ในกรุงเทพฯ อาจไม่ใช่เรื่องใหม่นัก เกิดขึ้นในย่านข้าวสาร แล้วค่อยๆ ขยายมาแถวเยาวราช สุขุมวิท

โดยเฉพาะสุขุมวิท ซอย 11 มี Budget Hotel ขึ้นจำนวนมากในช่วงเวลาเพียง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในอัตราเข้าพักต่อคืนไม่เกิน 1,000 บาท เป็นห้องพักขนาดเล็กที่ใช้ห้องน้ำรวม

"เพราะมีนักลงทุนต้องการทำโรงแรมใกล้แอร์พอร์ตลิงค์ แต่หาที่ดินผืนใหม่ไม่ได้ จึงเป็นที่มาของการนำตึกเก่ามาปรับปรุงใหม่"

เจ้าพ่อน้ำเมาร่วมแจมตลาด Budget Hotel

ก่อนหน้านี้ กลุ่มทุนของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้มีฉายาเจ้าพ่อแห่งวงการน้ำเมา มีโรงแรมหรูในเครืออยู่ทั่วประเทศ ได้ประกาศลงทุนในตลาด Budget Hotel ตั้งเป้า 5,000 ห้องทั่วประเทศ ภายใต้แบรนด์ “อิมม์” (Imm) ซึ่งย่อมาจาก อิมพีเรียล หนึ่งในแบรนด์โรงแรมของเครือ โดยเริ่มเปิดให้บริการ 2 Budget Hotel แห่งใหม่อย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว

แห่งแรกในกรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อ “อิมม์ ฟูสชั่น” (Imm Fusion) บนทำเลสุขุมวิท 50 ใกล้สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช และแห่งที่สอง ภายใต้ชื่อ “อิมม์ อีโค เชียงใหม่” (Imm Eco Chiang Mai)

Budget Hotel ทั้งสองแห่งของกลุ่มทุนน้ำเมา ล้วนเป็นการซื้อโครงการเดิมมาปรับปรุงทั้งนั้น โดยแห่งแรกที่สุขุมวิท เป็นการซื้อโรงแรมที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง แล้วเจ้าของโครงการไปไม่ไหวจึงประกาศขายต่อ กลุ่มทีซีซีฯ จึงเทคโอเวอร์มาปรับปรุงต่อด้วยงบประมาณไม่มากนัก

ส่วนโครงการที่เชียงใหม่ น่าสนใจตรงที่ซื้อโรงเรียนอนุบาลเดิม บนถนนบำรุงราษฎร์ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ด้วยเงินลงทุน 10 ล้านบาท มาปรับเป็นโรงแรมราคาประหยัด มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรม คล้ายกับต้องการเจาะกลุ่มนักเรียนอินเตอร์ทั้งที่อยู่ในไทยและต่างชาติ

สำหรับแบรนด์ดังกล่าวของกลุ่มทีซีซีฯ ไพสิฐ แก่นจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ทีซีซี แลนด์ เลเชอร์ จำกัด ดูแลพอร์ตการลงทุนด้านโรงแรม กล่าวว่า Budget Hotel ทั้งสองแห่งที่เปิดให้บริการแล้ว เป็นเพียงการเริ่มต้น ซึ่งคอนเซ็ปต์ที่แท้จริงยังไม่ลงตัวว่าต้องการจะเดินไปในแนวทางใด ลงทุนก่อสร้างใหม่ หรือใช้วิธีเทคโอเวอร์ เพราะถ้าลงทุนใหม่ ต้นทุนก่อสร้างสูง ใช้เวลานาน แต่คุมคอนเซ็ปต์ได้

ส่วนการซื้อตึกเก่าใช้เงินลงทุนน้อย ปรับปรุงไม่นาน คืนทุนเร็ว แต่คุมคอนเซ็ปต์ได้ยากกว่า เพราะทรัพย์สินที่ซื้อมาแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน ซึ่งหากใครมีโอกาสได้ไปอิมม์ สุขุมวิท แล้วไปอิมม์ เชียงใหม่จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าไม่เหมือนกันเลย

นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของทั้งทุนเล็ก ทุนใหญ่กับการลงมาเล่นในตลาด Budget Hotel ซึ่งหากต้องการรองรับการเปิดแอร์พอร์ตลิงค์แล้ว มั่นใจได้เลยว่า เส้นทางรถไฟฟ้าสายดังกล่าวเปิดให้บริการเมื่อไร Budget Hotel คงยิ่งขยายตัวมากขึ้น

มีสิ่งหนึ่งที่ อินทรา ว่าที่เจ้าของ Budget Hotel แห่งใหม่ และจากประสบการณ์ที่เซอร์เวย์มาเกือบทุกแห่งแล้ว ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจว่า

งานนี้ มีเงินลงทุนเพียงอย่างเดียวไม่สำคัญเท่ากับการมีวิธีคิดที่เหนือชั้นในการบริการลูกค้าให้ประทับใจ เพื่อดึงให้กลับมาใช้บริการได้อีกครั้ง

เรื่องโดย สุกัญญา สินถิรศักดิ์
  
ที่มา
[ กรุงเทพธุรกิจ ] วันที่ 23-09-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.