| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 77 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 15-09-2551    อ่าน 11508
 เบื้องลึกขยายสัมปทานทางด่วน โชค 2 ชั้นบีอีซีแอล

นอกจากจะฉวยจังหวะการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรนัดสั่งลา ที่ จ.อุดรธานี อนุมัติโครงการหลายหน่วยงานทิ้งทวน ก่อนศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ "สมัคร สุนทรเวช" พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หนึ่งในนั้นรวมถึงการขยายอายุสัมปทานโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ให้กับ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ หรือบีอีซีแอล เพื่อแลกกับการยุติข้อเรียกร้องให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จ่ายค่าชดเชย ค่าผ่านทางด่วนสูงถึง 7.8 หมื่นล้านบาท โดยให้บีอีซีแอลได้ส่วนแบ่งรายได้จาก ค่าผ่านทางแต่ละวันร้อยละ 40 คิดเป็นเงิน 70% ของผลต่างรายได้ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2541-29 กุมภาพันธ์ 2563 คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันปี 2551 ที่ 18,086 ล้านบาท ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะสหภาพแรงงาน กทพ. ที่เวลานี้เริ่มเคลื่อนไหวคัดค้านแล้ว

การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตาม ข้อเสนอของอนุกรรมการพิจารณาข้อพิพาทระหว่าง กทพ.และบีอีซีแอล มี "พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย" เป็นประธาน และได้รับไฟเขียวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. เมื่อวันที่ 5 กันยายน ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาเจรจากับบีอีซีแอล แค่ 4 ครั้งใน 1 เดือน

"สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์" รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานบอร์ด กทพ.ให้เหตุผลว่า บอร์ดอนุมัติตามที่คณะอนุกรรมการเสนอก็เพื่อชดเชยรายได้ค่าผ่านทางที่มีส่วนต่างอยู่ จากการปรับค่าผ่านทางปี 2541, 2546 และ 2551 หลังบีอีซีแอลฟ้องร้องให้ กทพ.จ่ายค่าชดเชย จากการปรับค่าผ่านทางไม่เป็นไปตามสัญญา

เพราะใช้ฐานในการคำนวณปรับ ค่าผ่านทางต่างกัน จนนำไปสู่ข้อพิพาท และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลฎีกา แต่การบริหารจัดการโครงการทางด่วนนั้นให้ กทพ.บริหารจัดการแต่เพียงผู้เดียว หลังจากสิ้นสุดสัญญาในปี 2563 ส่วนการปรับค่าผ่านทางหลังปี 2551 ให้ถือตามอัตราที่ กทพ.กำหนด โดยบีอีซีแอล จะไม่ขอโตแย้งหรือเรียกร้องค่าชดเชยเหมือนที่ผ่านมาอีก

ก่อนหน้าที่บอร์ดไฟเขียว ปฏิบัติการเจรจาระหว่าง กทพ.และบีอีซีแอลรวดเร็วปานจรวด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความพยายามเจรจาร่วมกันมาโดยตลอด

โดยเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม บีอีซีแอลได้ทำหนังสือมายัง กทพ. ขอเจรจายุติข้อพิพาทเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าผ่านทาง ปี 2541, 2546 และ 2551 โดยระบุว่าหากสามารถตกลงกันได้จะไม่นำผลแพ้-ชนะคดีมาประกอบการพิจารณา และจะพิจารณาบนพื้นฐานของความเป็นจริง ซึ่งบีอีซีแอลเรียกร้องค่าเสียหายผลต่างของรายได้ ค่าผ่านทางที่บริษัทควรจะได้รับ ตั้งแต่ปี 2541-2551 รวมดอกเบี้ย 78,350 ล้านบาท แยกเป็นผลต่างรายได้ 52,248 ล้านบาท ดอกเบี้ย 26,102 ล้านบาท

ขณะที่ กทพ.ประเมินผลต่างรายได้ตั้งแต่ตุลาคม 2541-สิงหาคม 2551 รวม ดอกเบี้ยและผลต่างของรายได้ตั้งแต่กันยายน 2551-กุมภาพันธ์ 2563 ที่ 38,524 ล้านบาท แยกเป็นผลต่างรายได้ 36,899 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1,625 ล้านบาท จนมาวันที่ 29 สิงหาคม อนุฯบอร์ดสรุปผลเจรจาต่อรอง ให้กทพ.ค่าชดเชยอยู่ที่ 18,086 ล้านบาท แบ่งจ่าย 40% ของรายได้ค่าผ่านทาง เป็นระยะเวลา 8 ปี 10.8 เดือน เริ่มปี 2563

จากนั้นวันที่ 5 กันยายน บอร์ดใหญ่ ประชุมลับและอนุมัติเรื่องนี้พร้อมรับรองมติบอร์ดทันทีในวันจันทร์ที่ 8 กันยายน เพื่อให้ "สันติ พร้อมพัฒน์" รมว.กระทรวงคมนาคมเสนอ ครม.วันรุ่งขึ้นวันที่ 9 กันยายนและ ครม.ผ่านฉลุยแบบไร้ข้อกังวล

"ผมเห็นเจ้าหน้าที่บางคนหายไป ตอนแรกนึกว่าลาพักร้อน มารู้ภายหลังว่าผู้ใหญ่ให้มาช่วยทำเอกสารเรื่องนี้ เร่งมือทำกันทั้งวันทั้งคืน ไม่เว้นแม้แต่วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ไม่รู้บอร์ดเร่งรีบไปเพื่ออะไรเหมือนมีอะไรแอบแฝงอยู่ ทำแบบนี้เท่ากับเอื้อประโยชน์ให้เอกชนชัดๆ" แหล่งข่าวจาก กทพ.กล่าว

แต่ที่น่าตกใจคือ ข้อตกลงครั้งนี้ทำให้ บีอีซีแอลได้โชคสองชั้น คือ โชคชั้นที่ 1 ได้ส่วนแบ่งรายได้ 40% เพิ่มอีก 8 ปี 10.8 เดือน โชคชั้นที่ 2 คือ ยังได้ต่ออายุสัมปทานออกไปอีก 10 ปี หลังสัญญา สิ้นสุด ซึ่งในสัญญาระบุชัด บริษัทมีสิทธิ ขอขยายสัมปทานได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 ปี ซึ่งบอร์ด กทพ.ยืนยันแล้วเป็นคนละส่วนกัน ขณะที่สหภาพแรงงาน กทพ.คัดค้าน และระบุว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากเกินไปแถมใช้เวลาพิจารณาเร่งรัดเหลือเกิน เสาร์-อาทิตย์ก็ไม่หยุด จนทำให้เกิดข้อกังขา

สรุปแล้วค่าโง่ใน กทพ.ก็ยังไม่หมดไปเสียทีเดียว เพราะตราบใดที่ "คนใน" ยังแกล้งโง่อยู่
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 15-09-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.