| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 67 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 18-08-2551    อ่าน 11824
 ติวเข้มรับเหมาคู่สัญญารัฐ ยื่นคำร้องตามมติ ครม.ก่อนเดดไลน์

วันที่ 18 สิงหาคมนี้ เป็นวันเดดไลน์ที่ผู้รับเหมาทั่วประเทศ จะต้องยื่นขอความช่วยเหลือ จากหน่วยงานคู่สัญญา ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 11 ข้อ ที่ออกมาช่วยบรรเทาธุรกิจรับเหมา ที่ได้รับความ เดือดร้อนในยุคน้ำมันแพงและวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น

แม้มติ ครม.จะคลอดออกมาตั้งแต่ วันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ในทางปฏิบัติถึงขณะนี้ผู้รับเหมาจำนวนมากยังสับสนและไม่เข้าใจแนวทางปฏิบัติ นอกจากนี้เมื่อยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือ ไปยังหน่วยงานราชการยังถูกตีกลับโดยอ้างว่ายังไม่มีหนังสือเวียนมติ ครม. ดังกล่าว จึงไม่สามารถรับเรื่องไว้ได้ ทั้งที่เวลางวดเข้ามาทุกขณะ

เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ ที่ถูกต้อง สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดสัมมนาโดยเชิญผู้รับเหมากว่า 100 ราย มาพบกับผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อไขข้อข้องใจ

แจงที่มามติ ครม. 2 ฉบับ

"ปัญญาพล ศรีแสงแก้ว" ผู้อำนวยการกลุ่มงานจัดทำมติ ครม. และตอบข้อหารือสำนักวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวว่า มติ ครม.ช่วยผู้รับเหมามีออกมา 2 ฉบับ เพราะผู้รับเหมาไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะให้รัฐช่วยอะไรบ้าง เดิมทางสภาพัฒน์นำเรื่องเข้า ครม.เพราะมีปัญหาเรื่องค่า K โครงการรถไฟฟ้า จึงให้กระทรวงการคลังจัด รายละเอียด บังเอิญผู้รับเหมาต้องการให้รัฐช่วยเหลือ จากผลกระทบต้นทุนก่อสร้าง นายกรัฐมนตรีจึงให้นำเรื่องเข้าพิจารณา ใน ครม. ทำให้มี 2 เรื่อง 2 วาระพร้อมกัน จริงๆ แล้วมติ ครม.มีผลตั้งแต่วันที่ ครม. มีมติออกมา โดยหนังสือเวียนลงวันที่ 30 มิถุนายน เพราะต้องรวบทั้ง 2 มติเข้าเป็นฉบับเดียว

สูตรค่า K ใหม่ใกล้คลอด

"วลัยรัตน์ ศรีอรุณ" ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ แจงถึงแนวทางการขอความช่วยเหลือค่า K ว่า ผู้รับเหมาที่ทำสัญญาแบบปรับราคาได้ จะได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม.ด้วยการผ่อนผันวิธีการคำนวณค่า K ให้หักบวก-ลบ 2% จากเดิม 4% ชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 เฉพาะสัญญาจ้างที่ได้ดำเนินงานก่อสร้างแล้วเสร็จ และส่งมอบงานงวดสุดท้ายแล้วเท่านั้น โดยจะได้รับเงินชดเชยในงวดสุดท้าย แต่ถ้ายื่นมาหลังจากนี้จะไม่ได้รับความ ช่วยเหลือ ส่วนสัญญาที่ไม่มีการปรับราคาได้จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ แต่กำลังหาแนวทางช่วยเหลือ

"เราเตรียมเงินสำหรับจ่ายค่า k ให้ผู้รับเหมาหลายพันล้านบาท น่าจะ มากกว่าที่ ครม.ประมาณการไว้ที่ 2 พันกว่าล้านบาท"

ส่วนการรื้อสูตรค่า K ใหม่ สำนักงบฯกำลังดำเนินการ เพราะสูตรเก่าใช้มานานหลาย 10 ปีแล้ว เพื่อให้ทันสมัย ครบประเภทของงาน และครอบคลุม ทุกสูตร ขณะนี้คืบหน้าแล้ว 50% เดือนกันยายนนี้น่าจะได้ข้อสรุป

ลงลึกมาตรการ 11 ข้อ

ด้าน "ชุณหจิต สังข์ใหม่" ผู้อำนวยการสำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ลงลึกรายละเอียดมติ ครม.ในแต่ละข้อเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ 1.การชะลอการยกเลิกสัญญา ให้ชะลอไว้ 30 วันนับแต่ ครม.มีมติบอกเลิกไปแล้วหลัง 1 ตุลาคม 2550-17 มิถุนายน 2551 ไม่ถือเป็นผู้ทิ้งงาน จัดหาใหม่โดยใช้วิธีพิเศษจากรายเดิมก่อนภายใต้เงื่อนไข และวงเงินตามสัญญาเดิมที่เหลืออยู่หาก ได้รับการปฏิเสธให้จัดหาใหม่

2.การขยายหรือเพิ่มระยะเวลางาน ลงนามก่อน 1 ตุลาคม 2550 ที่ยังมีนิติสัมพันธ์อยู่ และยังไม่ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้ขยาย 180 วันหากสัญญาก่อสร้างมีระยะเวลาน้อยกว่าให้ขยายได้เท่ากับอายุสัญญาเดิม งานลงนามหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ให้ขยาย 180 วันเช่นกัน ส่วนงานที่เสนอราคาหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2550-17 มิถุนายน 2551 ยังไม่เซ็นสัญญาให้เจรจายกเลิกได้ หากไม่ยกเลิกให้เพิ่มระยะเวลาอีก 120 วัน หรือน้อยกว่านี้ให้เท่ากับสัญญาเดิม

3.งานที่เสนอราคาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2551 หากยังไม่เซ็นสัญญาหรือต้องการจะยกเลิกไม่ถือเป็นผู้ทิ้งงาน และให้คืนหลักประกันสัญญารวมถึงผู้รับเหมาเซ็นสัญญาแล้วแต่ยังไม่เริ่มงานงวดแรกด้วย แต่ถ้าส่งงานงวดแรกแล้วไม่ได้

4.การเพิ่มคู่สัญญา ต้องเป็นเพราะขาดสภาพคล่อง และจะทำงานต่อ จึงจะขอเพิ่มคู่สัญญาได้ และการแก้ไขสัญญาต้องไม่เพิ่มวงเงินหรือลดเนื้องาน และหลักประกันสัญญาจะใช้รายเดิมหรือรายใหม่ก็ได้ 5.การจ่ายเงินล่วงหน้า 15% ต้องเป็นสัญญาที่มีนิติสัมพันธ์ หากยังไม่ ส่งงานหรือส่งงานแล้วบางส่วนหรืองวดใดงวดหนึ่ง และต้องมีหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าเต็มจำนวนที่ขอเบิก โดยให้ ผู้รับจ้างจัดทำบัญชีแสดงวัตถุประสงค์และแผนการใช้เงิน ฯลฯ

6.การหักเงินค้ำประกันผลงาน สัญญาจ้างที่ยังไม่เสร็จนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2551 และมีเงื่อนไขหักเงินประกันผลงาน หากมีคำขอให้แก้ไขสัญญาให้คืนเงินประกันผลงาน โดยให้มีหนังสือค้ำประกันแทน ส่วนงานก่อสร้างที่เสนอราคาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ผู้รับจ้างนำหนังสือ ค้ำประกันวางแทนได้

7.การแบ่งงวดงาน งวดเงินใหม่ เพราะงวดงานไม่สอดคล้องกับเงินให้เสนอแผนการดำเนินการและแผนการใช้จ่ายเงิน จะไม่มีการปรับวงเงินเพิ่มหรือลดเนื้องาน 8.การกำหนดระยะเวลาในการยื่นซอง ให้คำนึงถึงวงเงินในการจัดหา ความซับซ้อนของงาน ระยะเวลาการส่งมอบงาน เป็นส่วนประกอบในการใช้เวลาคิดคำนวณราคาค่างาน และให้ผู้รับเหมามีระยะเวลา พียงพอคำนวณราคาและตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมเสนอราคาหรือไม่

9.การกำหนดราคากลาง หากงานที่ได้รับการอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่ได้ประกาศประมูลใน 45 วัน ให้ทบทวนก่อนการประกาศ หากราคากลางสูงกว่าวงเงินต้องขอเพิ่มวงเงิน และปรับลดรายการลงโดย ไม่ให้กระทบแผนงานและโครงการเดิม

รับเหมาบ้านเอื้อฯกว่า 100 รายกินแห้ว

จากมติ ครม.ที่รัฐบาลออกมาหวังชุบชีวิตผู้รับเหมาทั่วประเทศนั้น ยังไม่ได้รับกันถ้วนหน้า เพราะยังมีผู้รับเหมาอีกกลุ่มหนึ่งที่มาตรการนี้เยียวยาไม่ถึง ไม่เข้าข่ายที่จะได้รับผลพลอยได้จากมติ ครม. คือ ผู้รับเหมาของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ที่ก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรทั่วประเทศ เนื่องจากสัญญาจ้างเป็นแบบเทิร์นคีย์ จัดหาที่ดินและปลูกสร้างขายให้ กคช. แต่กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณ รับเรื่องจะไปพิจารณาในรายละเอียด
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 18-08-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.