| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 72 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-07-2551    อ่าน 11320
 เกมชักเย่อรถไฟฟ้า "บีทีเอส" "สมัคร" แบไพ่ "คีรี" อุบไต๋เงียบ

หลังเดินเกมกดดันจะเข้าซื้อหนี้เพื่อถือหุ้นโครงการรถไฟฟ้า บีทีเอส ต่อเนื่องจากรัฐบาล "ทักษิณ" โดยวาดแผนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริหารสัญญาสัมปทานแทนกรุงเทพมหานคร (กทม.) ถึงขั้นมีการตั้งคณะทำงานเจรจากับเอกชน ล่าสุดท่าทีของรัฐบาล "สมัคร สุนทรเวช" เริ่มเปลี่ยนไป จนหลายคนตั้งตัวไม่ติด

เป็นการเปลี่ยนแปลงไปหลังนายกฯสมัครนั่งเป็นประธานในที่ประชุมคณะ กรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา และได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะทำงานเพื่อเจรจากับผู้บริหารแผนการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า บีทีเอส ที่ผู้อำนวยการบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นประธานรายงานความคืบหน้า ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก แถมมั่นใจว่าก่อน สิ้นเดือนกันยายนนี้ทุกอย่างจะมีความชัดเจนมากขึ้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะทำงานเพื่อเจรจากับบีทีเอส รายงานว่าได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเจรจาใหม่ จากเดิมจะเข้าไปซื้อหนี้จากกลุ่มเจ้าหนี้ของบีทีเอสซี มาเป็นการเจรจากับ ผู้บริหารของบีทีเอสซี คือ "คีรี กาญจนพาสน์" ที่ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูของบีทีเอสซีโดยตรงแทน

ไม่ใช่เพียงแค่ลดภาพด้านลบที่ถูกมองว่าเป็นการสร้างแรงกดดันต่อภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ลงทุนเท่านั้น แต่เป็นเพราะวิเคราะห์แล้วว่าการเข้าไปซื้อหนี้จากกลุ่มเจ้าหนี้เดิมของบีทีเอสซี จะไม่เกิดประโยชน์ต่อรัฐบาลในการเข้าไปมีอำนาจบริหารจัดการบีทีเอส

เพราะหลังจากแผนฟื้นฟูกิจการของ บีทีเอสซีผ่านการพิจารณาของศาล จะทำให้เจ้าหนี้เดิมเหลือหุ้นเพียงแค่ 7% ตามโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เนื่องจากกลุ่มเจ้าหนี้เดิมจะได้รับการชำระคืนหนี้เป็นเงินสด 28,530 ล้านบาท และได้รับสิทธิแปลงหนี้เป็นทุน 16,340 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่เพียงพอต่อการมีอำนาจในการบริหารจัดการใดๆ

ทางเลือกอีกทางหนึ่งด้วยวิธีการเจรจาแบบรอมชอมผลประโยชน์ ที่จะทำให้ทุกฝ่ายวินวิน จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะ "คีรี" เองก็เปิดกว้าง และยืนยันมาตลอดว่าพร้อมจะเจรจากับภาครัฐ เพียงแต่ที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการติดต่ออย่างเป็นทางการแม้แต่ครั้งเดียว

แหล่งข่าวระบุว่า ประเด็นที่คณะกรรมการใช้เป็นแนวทางในการเจรจากับ บีทีเอสมีหลายประเด็นด้วยกัน คือ 1.เรื่องการเข้าถือหุ้นในบีทีเอสซี ในฐานะ strategic partner ใหม่ตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่ากลุ่ม ผู้บริหารเดิม เพื่อให้มีสิทธิในการรับทราบข้อมูล ตรวจสอบการดำเนินงาน และสามารถกำหนดนโยบายการเชื่อมต่อ โครงข่ายรถไฟฟ้า ในส่วนของส่วนต่อขยายและสายทางใหม่ และให้มีสิทธิมีเสียงพอที่จะกำกับดูแลการดำเนินการได้

2.ประเด็นการเข้าร่วมทุนในส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 ให้บีทีเอสซีเป็นผู้ลงทุนในส่วนต่อขยายทั้งโครงสร้างพื้นฐานและระบบรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นเงื่อนไขการลงทุนตามสัญญาสัมปทานเดิมที่ทำไว้กับ กทม. โดยบีทีเอสซีอาจขอให้รัฐบาลขยายระยะเวลาสัมปทานออกไป ซึ่งรัฐอาจจะใช้ประเด็นนี้เป็นข้อต่อรองในการเข้าไปถือหุ้นในบีทีเอสในสัดส่วนที่ต้องการได้

ทางเลือกที่ 2 เป็นแนวทางการลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทั้งหมด ที่รัฐจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานส่วนต่อขยายทั้งหมด และให้บีทีเอสซีลงทุนระบบรถไฟฟ้า และทำหน้าที่เป็นผู้เดินรถ หรือ operator อย่างไรก็ตาม หากเลือกแนวทางนี้ก็ควรมีการปรับรูปแบบสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้รัฐมีอำนาจในการกำหนดนโยบายค่าโดยสาร และจัดสรรรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยพิจารณาต้องให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

3.ประเด็นการจัดสรรรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในกรณีที่รัฐเป็นผู้ลงทุนในส่วนต่อขยายและรถไฟฟ้าสายอื่นๆ จะต้องมีการประเมินรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในส่วนต่อขยายและสายทางใหม่ (network effect) ที่มีต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบัน รูปแบบการจัดสรรรายได้ระหว่างรัฐและบีทีเอสซี

4.การเชื่อมต่อระบบของโครงการ บีทีเอสกับรถไฟฟ้าสายทางอื่นๆ เช่น การใช้ระบบตั๋วร่วม ระหว่างบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน และสายทางใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีการจัดตั้งเคลียริ่งเฮาส์ของระบบ โดยช่วงแรกรัฐอาจต้องเข้าร่วมลงทุนกับผู้รับสัมปทานรายเดิม และกำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อใช้สำหรับสายทางที่จะเกิดขึ้นใหม่

โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม จะไม่ให้เป็นภาระให้กับผู้ใช้บริการมากเกินไป

นอกจากนี้คณะทำงานยังได้รายงานเรื่องการจ้างที่ปรึกษาทางการเงินวงเงิน 50 ล้านบาท เพื่อประเมินมูลค่ากิจการของ บีทีเอสภายในเดือนกรกฎาคมนี้ด้วย โดยจะแบ่งการทำงานของบริษัทที่ปรึกษาเป็น 2 ระยะ ใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน ตั้งแต่สิงหาคม 2551-มกราคม 2552

โดยระยะที่ 1 ใช้เวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2551 ทำงานตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้ เช่น ประเมินสถานะทางการเงินของบีทีเอส ข้อเสนอเกี่ยวกับทางเลือกการลงทุนใน ส่วนต่อขยาย และสัดส่วนการถือหุ้นของ บีทีเอสซีในส่วนของรัฐบาล การจัดสรร รายได้ที่เพิ่มขึ้น การเชื่อมต่อระบบ เป็นต้น

ระยะที่ 2 ตั้งแต่พฤศจิกายน 2551-มกราคม 2552 จะลงลึกในรายละเอียดทุกๆ ด้าน หากการเจราจาได้ข้อสรุปว่ารัฐต้องเข้าถือหุ้นของบีทีเอสซี เช่น การ ประเมินมูลค่ากิจการ การสอบทานสถานะทางการเงิน การจัดทำบันทึกข้อตกลงในการเข้าซื้อหุ้นของบีทีเอสซี เป็นต้น

พร้อมจะอนุมัติให้คณะทำงาน เพิ่ม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยเป็นคณะทำงานในการเจรจาด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นหน่วยงานผู้กำกับสัญญาสัมปทาน บีทีเอส กำชับให้มหาดไทยเร่งเจรจากับ กทม. เพื่อให้ รฟม.เป็นผู้ดูแลสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสแทน

ส่วนจะจบลงอย่างไร จะลงเอยกันได้หรือไม่ "คีรี" นายใหญ่บีทีเอสซี คงมี คำตอบอยู่ในใจแล้ว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 17-07-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.