| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 72 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-07-2551    อ่าน 11503
 "เคล็ด (ไม่) ลับ" สร้างบ้านให้ถูกใจ บริหารงบฯไม่ให้บานปลาย

รายงาน


กำลังเข้ากับกระแสพอดี สำหรับงานสัมมนา "สร้างบ้านอย่างไร...ให้ถูกใจไม่บานปลาย" จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อเร็วๆ นี้

แหม๋...ใครๆ ก็รู้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่ผู้รับเหมาต่างพากันอกสั่นขวัญแขวนไปตามๆ กัน เพราะราคาวัสดุก่อสร้างหลายตัวปรับราคาสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะวัสดุหลักอย่างเช่น เหล็กเส้น ปูนซีเมนต์ เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เจ้าของบ้านหรือ ผู้ว่าจ้างปลูกสร้างบ้านอย่างเราๆ ต้อง ปาดเหงื่อ เพราะปัญหางบฯสร้างบ้านบาน (ปลาย) สมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงส่งเทียบเชิญ "พันธุ์เทพ ทานชิติกุล" กรรมการผู้จัดการบริษัทรับสร้างบ้าน "เมคเคอร์โฮม" มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในฐานะสถาปนิกที่คร่ำหวอดในธุรกิจสร้างบ้านมาร่วม 20 ปี เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ "พันธุ์เทพ" นำมาถ่ายทอดในวันนั้น เริ่มต้นเข้าประเด็นด้วยการบอกถึงเหตุผลของการสร้างบ้านแล้วงบฯบานปลายว่า เกิดจากความต้องการที่แตกต่างกัน

"ความต้องการ" ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจากประสบการณ์ของเอ็มดีบริษัทเมคเคอร์โฮมฯที่สร้างบ้านมาแล้วกว่า 1,000 หลัง ตลอดระยะเวลา 20 ปี ก็ยังไม่เคยก่อสร้างบ้านที่มีแบบหรือฟังก์ชันเหมือนกัน 100%

ดังนั้นการจะสร้างบ้านไม่ให้งบประมาณบานปลายจึงต้องคำนึงถึงหัวใจสำคัญ 6 ข้อ ประกอบด้วย 1)กำหนดความต้องการ ของตัวเองให้ชัดเจน 2)ต้องเข้าใจความต้องการของสมาชิกในครอบครัว 3)ศึกษาหาข้อมูลการสร้างบ้านเบื้องต้น 4)ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ 5)ต้องตัดสินใจแน่วแน่ และ 6)เลือกผู้ก่อสร้างบ้านที่มีคุณภาพ

นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านฟันธงว่า ใครไม่ทำตามสูตรสำเร็จข้างต้น รับรองว่าปัญหางบฯบานปลายจะเกิดขึ้นแน่นอน

ลงลึกไปในรายละเอียด สิ่งที่ผู้ว่าจ้างจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ อาทิ "สัญญาจ้างเหมา" (สัญญาก่อสร้าง) ควรทำความเข้าใจกับรายละเอียดก่อนจะ เซ็นสัญญา และไม่ควรแยกสัญญาออกเป็นหลายฉบับ ได้แก่ สัญญาก่อสร้าง สัญญาซื้อวัสดุ เพราะการที่ผู้ว่าจ้างขอรับ ภาระการซื้อวัสดุต่างๆ เองไม่ได้ทำให้ ได้สินค้าราคาถูกลงกว่าการให้ผู้รับเหมา ซื้อมากนัก ขณะเดียวกันก็ไม่รับรองว่า ผู้รับเหมาบางรายที่ไม่มีจรรยาบรรณ อาจสับเปลี่ยนนำวัสดุที่มีคุณภาพต่ำกว่า มาใช้ก่อสร้างบ้านแทน "ผู้รับเหมา" ควรเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และ น่าเชื่อถือ เพราะอาจเกิดปัญหาก่อสร้าง ผิดแบบ ในแง่ "แรงงาน" แม้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับบริษัทรับเหมามากกว่าผู้ว่าจ้าง แต่ถือว่า มีความสำคัญเพราะกรณีที่แรงงานได้รับ ค่าตอบแทนไม่ถูกใจ อาจเกิดปัญหาทิ้งงานตามมาทำให้งาน ก่อสร้างล่าช้า "เวลาก่อสร้าง" หากการก่อสร้างล่าช้า อาจทำให้ต้นทุนก่อสร้างบ้านเพิ่มขึ้นเนื่องจากวัสดุต่างๆ มีการปรับ ราคาอย่างไรก็ตามมีคำถามว่า การ ปลูกสร้างบ้านควรว่าจ้างวิศวกรหรือสถาปนิก มาควบคุมงานหรือไม่ ! ในเรื่องนี้ตามหลักกฎหมายระบุว่า หากเป็นการก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่า 2 ชั้น จะต้องว่าจ้างผู้ควบคุมงานก่อสร้าง แต่หากไม่ถึง 2 ชั้น ผู้ว่าจ้างสามารถควบคุมงานเองได้ โดยใช้ความรู้เบื้องต้น อาทิ การตรวจสอบว่า การก่อผนังได้แนวดิ่งฉากหรือไม่ ผนังไม่มีร้อยร้าว ฯลฯ ถ้าทำได้ตามนี้จะช่วยลดโอกาสสร้างบ้านแล้วงบฯบานปลายได้แน่นอน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 03-07-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.