| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 58 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-06-2551    อ่าน 11608
 ไร้ข้อสรุปปัญหา "ค่า K" รัฐ-เอกชนแข่งกันชง 4 เวอร์ชั่น

มติ ครม.(คณะรัฐมนตรี) วันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่ต้องการเยียวยาอาการโหนต้นทุนสูงระริกของวงการรับเหมาก่อสร้าง โดยหนึ่งในสาระสำคัญระบุให้เพิ่ม "ค่า K" หรือ ค่าชดเชยต้นทุนวัสดุก่อสร้างอีก 4% แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะนับไปนับมา มีข้อเสนอเยียวยาต้นทุนผู้ประกอบการรับเหมางานภาครัฐอย่างน้อยถึง 4 แนวทางด้วยกัน

ผู้รับเหมาเสนอ 14 ข้อ

ต้นทางปัญหา "ค่า K" มีหัวเรี่ยวหัวแรงหลักคือ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย นำโดย "พลพัฒ กรรณสูต" นายกสมาคม นัดสมาชิกเถ้าแก่รับเหมากว่า 100 ชีวิต ยกพลขึ้นบกที่ทำเนียบรัฐบาล ยื่นหนังสือเรียกร้อง 14 ข้อต่อ "สมัคร สุนทรเวช" นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความสนับสนุนจากรัฐบาลต่อลมหายใจธุรกิจให้อยู่รอดในยุค "อะไรๆ ก็แพงไปเสียทั้งนั้น"

"ไม้ตาย" ของเถ้าแก่รับเหมาคือ ถ้าไม่สามารถเยียวยาต้นทุนให้ได้ ผลกระทบติดตามมาคือ ปัญหา "ทิ้งงาน" เพราะทำไปก็ไม่คุ้มต้นทุน ซึ่งเริ่มมีการส่งสัญญาณให้เห็นแล้วประปราย แต่ที่หนักหน่วงขึ้นมาก็คือ เหตุการณ์ผู้รับเหมาโครงการของ กทม.(กรุงเทพมหานคร) อย่างน้อย 2 ราย คือ บริษัททิพากร และบริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง ซึ่งชนะการประมูลไปแล้ว ตัดสินใจไม่ "ยืนราคา" ภายใน 180 วัน ซึ่งจะมีผลให้ต้องยกเลิกสัญญาในที่สุด

เวอร์ชั่นมติ ครม. สำนักนายกฯ ชงเอง

ปัญหาวงการรับเหมางานภาครัฐเดิมพันสูงเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน ดังนั้นย่อมจะใช้รัฐมนตรี "เปลือง" เป็นธรรมดา อาทิ รมช.คลัง (ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์) กำกับกรมบัญชีกลาง รมว.คมนาคม (สันติ พร้อมพัฒน์) รมว.อุตสาหกรรม (สุวิทย์ คุณกิตติ) จนถึงหัวหน้ารัฐบาล (สมัคร สุนทรเวช)



ท้ายที่สุดก็มีมติ ครม.ออกมา ระบุมาตรการเยียวยา 5 ข้อ คือ 1.เพิ่มค่า K 4% เพื่อเป็นเงินชดเชยราคาวัสดุที่เพิ่มขึ้น 2 รายการ คือ เหล็กเส้นและน้ำมัน เชื้อเพลิง เป็นการชั่วคราว 1 ปี มีผลตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2551

2.ขยายเวลาก่อสร้าง 180 วัน 3.งด หรือยกเว้น หรือลดหย่อน ให้คืนค่าปรับ ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ มีผลย้อนหลัง 1 ตุลาคม 2550 4.เร่งรัดพระราชบัญญัติอาชีพก่อสร้าง พ.ศ. ... ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

และ 5.เปิดโอกาสให้สมาคมมีส่วนร่วมพิจารณากฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ร่วมกับภาครัฐเพื่อความเป็นธรรมและโปร่งใส โดยเวอร์ชั่นนี้ทางสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งขึ้นตรง "สมัคร" เสนอเข้า ครม.เอง

ว่ากันว่า ความล่าช้าหรือรวดเร็วของมาตรการนั้น มีแนวโน้มว่าอาจจะมีการเจรจานอกรอบเกิดขึ้นก็ได้ เนื่องจาก มีข้อมูลไม่เป็นทางการสะพัดหนาหูว่า มีค่าเหนื่อยหลักร้อยล้านบาทเข้ามาเกี่ยวข้อง กับเรื่อง "ความคลุมเครือ" ของข้อมูลว่า ตกลงจะเยียวยาอย่างไร โดยเฉพาะปัญหา "ค่า K" ซึ่งเปรียบเหมือน "กล่องดวงใจ" ของผู้รับเหมาก็ว่าได้ ว่ากันว่าจนป่านนี้ มติ ครม.ที่เป็น "ของจริง" ยังไม่มีใครได้เห็น ที่รับทราบมา 5 ข้อ ก็ล้วนแต่เป็นถ้อยแถลงจากรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเท่านั้น

มาตรการคมนาคม-คลัง รอถกรอบ 2

ยังมีเวอร์ชั่นมาตรการเยียวยาอีกอย่างน้อย 3 กระทรวงที่ไร้ข้อสรุปชัดเจน เริ่มต้นจากมาตรการของกระทรวง "คมนาคม-คลัง" ที่ถูกถอนรอคิวเสนอครั้งต่อไป ได้แก่ 1.ข้อเสนอขยายเวลาก่อสร้าง 180 วัน แต่ต้องเป็นสัญญาหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2550 และยังไม่ส่งมอบงานงวดสุดท้าย

2.ข้อเสนอในการเพิ่มคู่สัญญา ในวงเงินก่อสร้างเดิม แต่เปลี่ยนคู่สัญญา ไม่ได้ 3.ยกเลิกสัญญาได้โดยไม่เป็นผู้ทิ้งงาน แต่ค่างานที่ทำไปแล้วเบิกจ่ายไม่ได้ 4.ให้เบิกเงินล่วงหน้า 15% ได้ 5.แบ่งงวดงานและงวดเงินใหม่ได้เพื่อเกิดสภาพคล่อง 6.ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสมาคมที่ร้องขอให้ปรับราคากลาง 20% ตามต้นทุน แต่เสนอให้คิดราคาก่อสร้างให้เป็นปัจจุบันก่อนเคาะราคา 45 วัน

ส่วนเวอร์ชั่นกระทรวง "อุตสาหกรรม" ที่รัฐมนตรีบริหารแบบ "คิดนอกกรอบ" โดยการโยนหินถามทางว่า จะยกเลิกมาตรา 20, 21 ทวิ ภายใต้ พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2522 เกี่ยวกับมาตรฐานเหล็กนำเข้าดีหรือไม่ โดยทางผู้รับเหมาในประเทศขอยกเว้นการใช้ระเบียบพัสดุ ข้อ 16 เรื่องการบังคับใช้เหล็กตีตรา "มอก." ที่ผลิตภายในประเทศเป็นการชั่วคราว เพื่อบรรเทาปัญหาต้นทุนเหล็กเส้นราคาแพง ซึ่งเท่ากับแก้ปัญหาต้นทุนก่อสร้างโดยตรง อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปเรื่องนี้คือ "ยังต้องหารือกันต่อไป"

ข้อสรุปปัญหา "ค่า K"

ทั้งนี้ทั้งนั้น กล่องดวงใจของผู้รับเหมาจริงๆ ที่ต้องการรื้อทลายลงก็คือ "ค่า K" ซึ่งก็คือสูตรคำนวณชดเชยค่าก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาวัสดุที่สูงขึ้น มี "เงื่อนตาย" หรือ dead lock อยู่ 2 จุดด้วยกัน คือ 1.ระเบียบการคำนวณค่า K ที่ล็อกตัวเลข "บวกลบ 4%" ในทางปฏิบัติ ถ้าสัญญาก่อสร้างใดทางผู้รับเหมาแจกแจงต้นทุนวัสดุเพิ่มขึ้น จะต้องบริหารจัดการให้อยู่ใน "บวกลบ 4%"

ตัวอย่างเช่น ถ้าต้นทุนวัสดุแพงขึ้น 6% จะต้องนำมา "บวกลบ 4%" เสียก่อน เท่ากับว่าการคำนวณค่า K จะเหลือจริงเพียง 2% ที่รัฐจะชดเชยให้ ในประเด็นนี้ทางสมาคมระบุเป็นข้อเรียกร้องข้อที่ 3 โดยต้องการให้ยกเลิกการหัก "บวกลบ 4%" และเปลี่ยนมาใช้การคำนวณค่า K ตามต้นทุนวัสดุที่เกิดขึ้นจริง

อีกจุดคือ 2.รัฐจะต้องไม่สร้างเพดานการชดเชยค่า K ขึ้นมาอีก โดยให้คำนวณสูตรค่า K ตามต้นทุนแท้จริง ล่าสุด แม้มติ ครม. 17 มิถุนายนจะอนุมัติให้ปรับค่า K เพิ่ม 4% ก็ตาม แต่ก็ยังวิ่งตามต้นทุนวัสดุที่สูงขึ้นไป 20% ไม่ทันอยู่ดี

ปัญหาค่า K จึงคาดว่าจะเป็นหนังชีวิตเรื่องยาวในวังวนเดิมๆ ที่มี "รัฐ-รับเหมา" เป็นทั้งคู่สัญญาและคู่กรณีในคราวเดียวกัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 26-06-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.