| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 56 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 23-06-2551    อ่าน 11679
 อยากทันสมัย สถาปัตย์สมัยใหม่ นิทรรศการแห่งปีสถาปนิกสยามฯ

คอลัมน์ Zoom Content


สมาคมสถาปนิกสยามใน พระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) สร้างสรรค์งานนิทรรศการดีๆ ที่คนไทยไม่ควรพลาด ในชื่อ "อยากทันสมัย สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทย พ.ศ.2510-2530" (Keeping up Modern Thai Architecture 1967-1987) สถานที่จัดงานอยู่ติดกับ SF Cinema ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าดิ เอ็มโพเรียม มีพื้นที่ จัดงาน 530 ตารางเมตรไม่ขาดไม่เกิน

ใช้เวลาเตรียมงานนานกว่า 3 เดือนเต็ม คัดกรองผลงานสถาปัตยกรรมส่งประกวดกว่าร้อยอาคาร เหลือรอบคัดเลือกเพียง 20 อาคาร และนำร่องมาจัดแสดงเพียง 11 อาคารเท่านั้น

"ทั้ง 11 อาคารจะต้องมีอะไรบางอย่างที่ร้อยเข้าหากันได้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวได้ทั้งสาระและความสนุกสนานในการชม ก็พบว่าแต่ละอาคารจะมี 3 ประเด็นหลักคือ 1.สถาปนิก ผู้ออกแบบ 2.ผู้ใช้งานตัวอาคาร และ 3.เทคโนโลยีในการก่อสร้างและทุน" คำแนะนำวิธีเยี่ยมชมนิทรรศการของ "คุณลูกตาล" ศุภมาศ พะหุโล ตำแหน่งภัณฑารักษ์ (Curator) ประจำ TCDC ซึ่งเป็นคนสร้างสรรค์เกม (สำนวนบอลยูโร) สำหรับนิทรรศการครั้งนี้

สิ่งที่คาดหวังคือจะทำให้ประชาชน คนไทยตลอดจนเยาวชนหันมาสนใจใน เรื่องราวทางด้านสถาปัตยกรรมมากขึ้น รวมทั้งหวังจะเป็น "แรงกระเพื่อม" ให้เกิดความรู้สึกอยากอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ในบ้านในเมืองให้มากยิ่งขึ้น

"อยากให้ลองเข้ามาดู เพราะไม่ได้มีแค่โมเดล แต่ยังลงลึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ของตึกซึ่งก็คือประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นๆ ด้วย แล้วในที่สุดก็จะรู้ว่าสถาปัตยกรรมไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด..."

สำหรับเหตุผลที่เลือกสถาปัตยกรรม ยุค 2510-2530 มานำเสนอ เป็นเพราะ 1.ในส่วนของ "สถาปนิก" เป็นยุคที่กลับจากศึกษาต่อเมืองนอก เปิดหูเปิดตามาแล้วในมหานครใหญ่ๆ ของโลก และเป็นแรงบันดาลใจนำมาออกแบบที่เมืองไทย

โซนนี้จะมี 4 อาคาร คือสถานีรถไฟสามเสน โรงเรียนปานะพันธุ์ ที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ และโรงเรียนสอนคนตาบอด (ปี 2511-2514) โดย 3 อาคารแรกถูกรื้อไปแล้ว

ตัวอย่างที่โดดเด่นคือสถาปัตยกรรมโมเดิร์นคอร์บูเซียน ณ ตึก 9 โรงเรียน ปานะพันธุ์ ลาดพร้าว หรือจะเป็นเทคนิค "กล่องลูกฟูก" ของสมาคมนิสิตเก่าฯ เป็นต้น

2.ในแง่ "ผู้ใช้สอยตัวอาคาร" เป็นยุคประมาณ 10 ปีหลังจากประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับแรก พร้อมกับอิทธิพลตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้ ยุคนั้นเมืองไทยโหยหาไลฟ์สไตล์แบบ "ชาวกรุงสมัยใหม่"

โซนนี้มี 4 อาคาร คือโรงแรมอินทรา อาคาร CMIC พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ (ท้องฟ้าจำลอง) และอาคารใหม่สวนอัมพร (ปี 2513-2525)

จุดเด่นโรงแรมอินทราคือเป็นอาคารแรกที่มีการนำลายไทย "ประจำยาม" มากรุบนแผงกันแดดกลายเป็น unique ทิ้งห่างคู่แข่ง หรืออาคารใหม่สวนอัมพรที่ใช้เทคนิคโครงสร้างหลังคาพับ ยื่นยาว 15 เมตร โดยปราศจากเสาค้ำ ในยุคที่งานเอ็กซิบิชั่นใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ คืองานกาชาดสวนอัมพร สถาปัตยกรรมแห่งนี้ในยุคนั้นย่อมไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน

และ 3.เทคโนโลยีสมัยใหม่ (ขณะนั้น) กับนายทุนหรือเจ้าของ จะต้องมีวิสัยทัศน์ จึงจะเกิดได้ นั่นคือเป็นยุคแรกของประเทศที่เริ่มมี "ตึกสูง" นั่นเอง

ลองทายสิว่าตึกสูงแห่งแรกของไทยชื่ออะไร คำตอบสุดท้ายคือ "ตึกโชคชัย อินเตอร์เนชั่นแนล" ตำนานที่เร้าใจกว่า ตัวตึกคือสร้างไว้เพื่อให้ "ซีไอเอ" แห่งรัฐบาลสหรัฐเช่า สูงเพียง 26 ชั้น แต่เป็นตึกสูงที่สุดในเอเชีย (ยุคนั้น) โดยสหรัฐ เช่ายก 24 ชั้น เหลือแค่ 2 ชั้นให้เจ้าของ (คุณโชคชัย บูลกุล) ได้ใช้สอย

ที่เหลืออีก 2 อาคาร สร้างเสร็จพร้อมกันในปี 2524 คือสำนักงานใหญ่แบงก์กรุงเทพ สีลม 33 ชั้น คว่ำแชมป์เก่า 26 ชั้น และได้รับการยอมรับในฐานะตึกที่เป็น "สัญลักษณ์แหล่งทุน" กับสำนักงานใหญ่แบงก์กสิกรไทย พหลโยธิน เป็นอาคาร "กล่องกระจก" หลังแรกของประเทศ โดยโซนนี้แถมเรื่องราว "สาแหรกกลุ่มเศรษฐีจีน 18 ตระกูล" ไว้ประดับความรู้ อีกต่างหาก

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลฉบับย่อ ติดตามฉบับเต็มอิ่มได้ภายในงานซึ่งมีกำหนดจัดยาว 3 เดือนเต็ม ระหว่าง 12 มิถุนายน-14 กันยายน 2551 เวลาสิบโมงเช้าถึงสามทุ่ม เว้นวันจันทร์
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 23-06-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.