| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 51 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-06-2551    อ่าน 11366
 เชื่อม "มักกะสัน" รอบทิศรับแอร์พอร์ตลิงก์ ตัด 4 เลน "จตุรทิศ-นานา"

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต


แม้งานก่อสร้างโครงการรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์จะคืบหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่น่าจะเกินต้นปีหน้าน่าจะเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 2552 แต่หันมาดูความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสบายสำหรับผู้ที่จะมาใช้บริการแล้วยังน่าห่วง โดยเฉพาะที่สถานีมักกะสันซึ่งเป็นสถานีใหญ่ และเป็นสถานีสำคัญ เพราะเป็นสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ city air terminal (CAT) เพียงแห่งเดียวที่ผู้โดยสารสามารถนำสัมภาระมาเช็กอินเข้าสู่บริการขนถ่ายสัมภาระไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ได้สะดวก

แม้ในแง่ความพร้อมของงานก่อสร้างอาคารหรือตกแต่งภายในสถานีค่อนข้างจะลงตัว แต่ระบบโครงข่ายคมนาคมและ สิ่งอำนวยความสะดวกสบายมีน้อยมากและไม่เพียงพอ คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เองก็ยังต้องส่ายหน้ากับการทำงานที่ล่าช้าของการรถไฟฯ แม้ขณะนี้จะพยายามเร่งสปีดเต็มที่มากขึ้น โดยประสานงานเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปยังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) หลังจากถูกบอร์ดจี้ เพราะแอร์พอร์ตลิงก์ไม่ใช่แค่ เมกะโปรเจ็กต์ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการดำเนินการของการรถไฟฯเท่านั้น แต่จะเป็นหน้าตาของประเทศไทยด้วย เนื่องจากคนทั่วโลกจะมาใช้บริการ

"จะให้คนที่มาใช้บริการเดินลากกระเป๋าขึ้นสะพานลอยเพื่อเข้ามาเช็กอินที่สถานีได้ยังไง อย่างน้อยก็ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ เช่น บันไดเลื่อน ระบบคมนาคมโดยรอบสถานีด้วย เพราะคนจะมาจาก ทั่วทุกสารทิศ" นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม กรรมการในบอร์ดการรถไฟฯกล่าว

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ สนข.การรถไฟฯ และ กทม. ได้นัดหารือเรื่องนี้แล้ว

หลังการหารือ "ประณต สุริยะ" รองผู้อำนวยการ สนข. ฉายภาพให้เห็นถึงการเชื่อมต่อระบบรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่สถานีมักกะสันว่าจะมี 3 รูปแบบ คือ 1.เดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีพญาไท โดยจะสร้างทางเชื่อมเข้าหากัน ซึ่งได้หารือกับ บีทีเอสแล้ว เชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีเพชรบุรี โดยจะทำเป็นลักษณะ sky walk และมีบันไดเลื่อนเดินเข้าสถานีได้เลย

2.ถนนปกติ กทม.จะสร้างทางยกระดับเชื่อมกับถนนจตุรทิศ บริเวณด้านเหนือสถานีมักกะสัน เลียบบึงมักกะสันแล้วค่อยๆ ลดลงระดับพื้นดินเพื่อเชื่อมกับถนนกำแพงเพชร 7 หรือถนนนิคมมักกะสัน ระยะทางประมาณ 700-800 เมตร จากนั้น กทม.จะสร้างถนนยาวออกไปเชื่อมกับแยกมิตรสัมพันธ์หรือซอยนานา ระยะทางโดยรวมประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้งบฯก่อสร้าง 200-300 ล้านบาท

เพื่อให้ผู้ที่จะมาจากเส้นรัชดาฯ พระราม 9 สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ โดยวิ่งเข้ามาถนนประชาอุทิศเลี้ยวบริเวณโบสถ์แม่พระเข้าถนนจตุรทิศ แล้วยูเทิร์นเข้าทางเชื่อม

3.ทางด่วน กำลังหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะสร้างทางเชื่อมกับทางด่วนบริเวณด่านอโศก ซึ่ง กทพ.จะขอดูความชัดเจนของโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ก่อน เพราะ กทพ.ไม่ได้ลงทุนเองแต่คู่สัญญาซึ่งเป็นเอกชน คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล จะเป็นผู้ลงทุนวงเงิน 300-500 ล้านบาท จึงต้องดูความคุ้มทุนด้วย ขณะที่ "จุมพล สำเภาพล" รองผู้อำนวยการสำนักการโยธาฯ กทม.กล่าวว่า กทม.มีแผนจะตัดถนนเชื่อมกับจตุรทิศยาวถึงซอยนานา กำลังพิจารณาว่าจะก่อสร้าง 2 หรือ 4 ช่องจราจรไปและกลับเพื่อแก้ปัญหาการจราจรบริเวณราชปรารภและเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการรถไฟฯพอดี คาดว่าจะของบประมาณดำเนินการในปี 2552 วงเงิน 200-300 ล้านบาท โดยจะไม่มีการเวนคืนที่ดินเพราะก่อสร้างบนที่ดินของการรถไฟฯที่มักกะสัน

ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้ทาง แต่ถ้าใครไม่อยากเดินทางหลายต่อ จากบ้านมุ่งตรงไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ทีเดียวเลยก็ไม่ว่ากัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 19-06-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.