| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 102 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-06-2551    อ่าน 11920
 ภารกิจหลัก "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" ปั้นโครงการถนนปลอดฝุ่นทั่ว ปท.

เอ่ยชื่อ "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ทั้งในแวดวงข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ยิ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างชื่อนี้ ก็ยิ่งคุ้นหู

เพราะกว่าจะก้าวขึ้นนั่งเก้าอี้อธิบดีกรมทางหลวงชนบทในวัย 55 ปี เขาเคยผ่านงานมาหลายกระทรวง หลายกรม เริ่มตั้งแต่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย 3 กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย เป็นนายช่างโยธา 2 กองควบคุมการก่อสร้างโครงการย่อย กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ก่อนจะข้ามห้วยเป็นวิศวกรโยธาออกแบบทางหลวง ระดับ 3-8 กองสำรวจและออกแบบกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม จากนั้นก็ไต่ระดับเป็นผู้อำนวยการกองฝึกอบรม กรมทางหลวง เป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นรองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และล่าสุดก้าวขึ้นเป็นอธิบดีกรมทางหลวงชนบท

"สุพจน์" บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภารกิจใหญ่และเร่งด่วนสุดของกรมทางหลวงชนบทตอนนี้ คือ โครงการถนนปลอดฝุ่น ตามนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่ต้องการจะเปลี่ยนถนนลูกรังทั่วประเทศ มาเป็นถนนคอนกรีต

เดิมทีโครงการนี้ชื่อโครงการยกระดับมาตรฐานทั่วประเทศ เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการถนนปลอดฝุ่นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม "สันติ พร้อมพัฒน์" ให้ความสำคัญและจัดให้เป็นนโยบายเร่งด่วน

สาเหตุที่ต้องที่เปลี่ยนชื่อก็เพื่อให้คนเข้าใจง่ายๆ และจะใช้เวลาก่อสร้างแค่ 1 ปี เพราะก่อนหน้านี้กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการในส่วนนี้มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ระยะทางรวม 3,000-4,000 กิโลเมตร เพราะ งบประมาณมีค่อนข้างจำกัด

ปีงบประมาณ 2552 กรมได้รับ งบประมาณทั้งหมด 17,600 ล้านบาท จากที่ขอไป 26,000 ล้านบาท ถูดตัดออกไป 6,000 ล้านบาท ในจำนวน 17,600 ล้านบาทเป็นงบฯโครงการถนนปลอดฝุ่นประมาณ 3,300 ล้านบาท คิดเป็นระยะทาง 700 กิโลเมตร ถูกปรับลดลงจากที่ ขอไป 6,900 ล้านบาท คิดเป็นระยะทางประมาณ 1,500 กิโลเมตร

แม้จะได้งบประมาณมาอยู่ในมือ แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะจากงบฯที่ได้รับมาดำเนินการโครงการนี้ไม่มากนักในแต่ละปี ทำให้ยังเหลือถนนที่จะต้องปรับปรุงให้เป็นถนนปลอดฝุ่นครอบคลุมทั่วประเทศ คิดเป็นระยะทาง 7,000 กิโลเมตร ซึ่งจะต้องใช้งบฯดำเนินการอีก 32,000 ล้านบาท

"หลังจากที่งบฯถูกตัดเราได้หารือกับ รมว.คมนาคมเพื่อหาทางให้ได้งบฯเพิ่ม ซึ่งจะใช้เงินกู้บางส่วนโดยให้คลังกู้ให้ เร็วๆ นี้ตามขั้นตอนกรมจะต้องทำเรื่องเสนอโครงการไปยังกระทรวงคมนาคมก่อน ถ้าได้เงินมาก็จะดำเนินการต่อเลย ส่วนที่เหลือให้ทาง ส.ส.แต่ละพื้นที่แปรญัตติกลับเข้ามาบ้างอีกบางส่วน"

ถามถึงโครงการอื่นๆ "สุพจน์" บอกว่าถูกตัดทอนงบประมาณเช่นกัน แต่ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปจะเริ่มประมูลงานหลายโครงการ จากนั้นประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนจะทยอยเซ็นสัญญา เช่น โครงการถนนปลอดฝุ่น โครงการ ริเวียร่า ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวภาคใต้ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ไตรมาส 2-3 ปีหน้า

สำหรับโครงการสะพานนนทบุรี 1 จะเป็นโครงการสุดท้ายที่กรมจะก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับคนกรุงเทพฯ ที่เหลือจะเป็นโครงการที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะดำเนินการ เช่น สะพานเกียกกาย สะพานท่าราชวงศ์

"แต่ในปีงบประมาณ 2552 สำนัก งบประมาณไม่ให้งบฯ ผมกำลังจะเปลี่ยนวิธีการใหม่ โดยขอกู้เงินจากเจบิก (ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น) แทน วงเงิน 3,800 ล้านบาท ได้ทำเรื่องหารือไปยัง สบน. (สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ) แล้ว ตามแผนที่วางไว้จะใช้เงินกู้ 70% หรือประมาณ 2,500 กว่าล้านบาท ที่เหลือ 30% หรือ 1,100 ล้านบาท จะใช้เงินงบประมาณ 1,100 ล้านบาท โดยจะขอตั้งงบประมาณปี 2553 และเริ่มก่อสร้างได้ปี 2553"

"ส่วนอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ ตอนนี้ประมูลและได้ตัวผู้รับเหมาแล้ว คือ บริษัทสามประสิทธิ์ฯ แต่ยังไม่เซ็นสัญญาเพราะสำนักงบฯโยกงบฯให้ท้องถิ่นก่อน"

อธิบดีกรมทางหลวงชนบทบอกว่า แม้ปัจจุบันปัญหาต้นทุนก่อสร้างปรับตัว สูงขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ผู้รับเหมาไม่กล้าประมูลงาน แต่ในส่วนของกรมการันตีได้ว่ายังไม่มีรายไหนสักรายที่ทิ้งงาน โดยจะใช้วิธีจ่ายเงินให้เร็วขึ้นเพื่อเร่งรัดงานให้เสร็จตามกำหนด ถือเป็นการช่วยประคับประคอง ไม่ให้มีการทิ้งงาน และทำให้ผู้รับเหมา ถูกขึ้นบัญชีดำ

งานของกรมทางหลวงชนบทส่วนใหญ่จะเป็นงานโครงการเล็กๆ แต่ผู้รับเหมาของกรมก็ยังมีงานเข้ามาเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีปัญหา
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 05-06-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.