| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 104 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-04-2551    อ่าน 11465
 วิบากกรรมซ้ำซาก อสังหาปีชวด

นอกเหนือจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง วัสดุก่อสร้างหลักที่ทยอยปรับขึ้นราคามาแล้วพักหนึ่งตามราคาน้ำมัน และมีแนวโน้มว่าอีกไม่นานราคาวัสดุก่อสร้างอื่นอีกหลายชนิดจะปรับขึ้นตาม ถือเป็นวิบากกรรมซ้ำซากของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วง 2-3 ปีนี้โดยแท้

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเวลานี้คือ หลัง "เหล็กเส้น" และ "ปูนซีเมนต์" ปรับราคาขึ้นล่วงหน้าไปแล้ว ช่วงนี้ถึงคิว "ไม้" ที่คนในวงการก่อสร้างกำลังพากัน จับตามอง เนื่องจากปรับราคาสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ยังประสบปัญหาขาดแคลนอีกด้วย

โดยเฉพาะไม้มะค่าแปรรูปเกรดเอที่ใช้ทำบันได ขนาดหน้ากว้าง 10-12 นิ้ว ความหนา 1.5 นิ้ว และยาว 1.2-1.5 เมตร

"วิสิษฐ์ โมไนยพงศ์" และ "บุญลือ วงศ์พรเพ็ญภาพ" กรรมการผู้จัดการของบริษัทรับสร้างบ้าน "ทรี.ดี.เฮ้าซิ่ง" และ "โฮมสแตนดาร์ด ดีเวลลอปเมนท์" ระบุตรงกันว่า ตอนนี้สถานการณ์ราคาไม้ น่าเป็นห่วงกว่าราคาเหล็กเส้น

สำหรับราคาไม้มะค่าแปรรูปเกรดเอ ถ้านับย้อนหลังตั้งแต่ช่วงต้นปี 2550 ถึงขณะนี้ทยอยปรับขึ้นราคาแล้วกือบ 100% จาก 1,600-1,700 บาทต่อคิวบิกฟุต ปัจจุบันราคาขายอยู่ที่ประมาณ 2,700-3,000 บาทเศษต่อคิวบิกฟุต

ที่น่าห่วงมากกว่าเรื่องราคาน่าจะเป็นปัญหาไม้ขาดตลาดที่เริ่มมีให้เห็นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งหลายฝ่าย คาดว่าจะมาจากผลพวงของนโยบายปิดป่าในประเทศลาวและพม่า ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนไม้แปรรูปในประเทศไทย เนื่องจากไม้ชนิดนี้ปัจจุบันต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

เช่นเดียวกับไม้ปาร์เกต์เกรดเอ เป็น ไม้ไซซ์ใหญ่ ความกว้าง 4 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว ก็เริ่มมีปัญหาขาดแคลนไม่แพ้กัน

ในส่วนของไม้มะค่าที่ยังพอมีเหลือขายอยู่บ้างในขณะนี้จะเป็นไม้เก่าที่ได้ทยอยตัดไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป ส่งผลให้บริษัทรับสร้างบ้านซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ไม้ธรรมชาติต้องวางแผน แก้ปัญหา

"สำหรับ ทรี.ดี.เฮ้าซิ่ง ใช้วิธีสั่งสต๊อกไม้เพิ่มขึ้น ส่วนโฮมสแตนดาร์ดฯที่ใช้วิธี สั่งสินค้าล่วงหน้าก่อน 3 เดือน เพื่อไม่ให้กระทบกับงานก่อสร้างบ้าน" วิสิษฐ์กล่าว

อย่างไรก็ตามยอมรับว่าในอนาคต อาจต้องปรับเปลี่ยนการใช้วัสดุจากไม้ธรรมชาติมาเป็นวัสดุทดแทนไม้ หากว่าปัญหาไม้ขาดแคลนมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

ขณะที่ "สุธรรม สุวรรณนภาศรี" กรรมการผู้จัดการ บริษัท นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า วงการพัฒนาที่ดินทั้งแนวสูง-แนวราบได้รับ ผลกระทบจากที่ไม้มะค่ามีราคาแพงขึ้นและขาดแคลนเช่นเดียวกัน ผู้ประกอบการ บางรายจึงอาจต้องพลิกกลยุทธ์หันมาใช้วัสดุทดแทนไม้ โดยเฉพาะบ้านและ คอนโดฯระดับล่าง แต่ถ้าเป็นระดับบนคงทำได้ยากเพราะลูกค้าอาจไม่ยอมรับ

ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง "ร้านเฮงทวี ค้าไม้" หนึ่งในร้านจำหน่ายไม้มะค่าและปาร์เกต์รายใหญ่ย่านถนนบางกระบือ กรุงเทพฯ ได้รับการชี้แจงว่า ปริมาณ ส่งออกไม้มะค่าและปาร์เกต์จากประเทศลาวเริ่มลดลงมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก ลาวมีนโยบายลดการตัดไม้และส่งออก ไม้แปรรูป โดยให้ส่งออกเป็นวัสดุสำเร็จรูป อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ราคาไม้จึงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้เริ่มมีปัญหาขาดตลาด

นอกจากนี้ปัญหาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประเทศจีนมีความต้องการใช้ไม้เพิ่มขึ้นมาก และได้เข้ามากว้านซื้อโดยเสนอราคาสูงกว่าพ่อค้าไทย

"โดยทั่วไปคาดว่าราคาจำหน่ายไม้มะค่าเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 2,000-3,000 บาทต่อคิวบิกฟุต ส่วนทางร้านปัจจุบันตั้งราคาจำหน่ายประมาณกว่า 2,000 บาท/คิวบิกฟุต แต่มีความเป็นไปได้สูงที่ราคาจะขยับขึ้นไปถึงกว่า 3,000 บาท/คิวบิกฟุต ทำให้ปัญหาไม้ขาดตลาดจะรุนแรงกว่านี้อีก" แหล่งข่าวระบุ

ขณะที่สถานการณ์เหล็กเส้นก็ยังคงไม่มีทีท่าว่าจะปรับลดลงแต่อย่างใด โดยนับจากช่วงกลางปี 2550 ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ปรับขึ้นไปแล้วประมาณ 50% จากประมาณ 20 บาทต่อกิโลกรัม เป็นกว่า 30 บาทต่อกิโลกรัม และอาจนำมาสู่ปัญหาเหล็กเส้นขาดตลาดได้ภายในช่วง 1-2 เดือนนับจากนี้

เหตุผลที่ปัญหาเหล็กเส้นขาดตลาดยังไม่เห็นผลแบบทันตา อาจเป็นเพราะในเดือนเมษายนนี้เป็นเดือนที่มีวันหยุดเยอะ ทำให้ความต้องการใช้เหล็กไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น แต่หากเข้าสู่ช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งไซต์งานก่อสร้างกลับมาเริ่มงานตามปกติ เชื่อว่ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเหล็กเส้นขาดแคลนได้

ดังนั้นกลุ่มที่เป็นผู้รับเหมารายย่อยน่าจะได้รับผลกระทบเป็นรายแรกๆ เนื่องจากบริษัทรับเหมารายใหญ่ย่อมมีอำนาจต่อรองสูงกว่า หรือบริษัทรับสร้างบ้านที่มีเครดิตก็จะใช้วิธีวางเงินสดล่วงหน้าจำนวนหนึ่งเพื่อให้ได้ส่วนลดพิเศษ และมีโอกาสเจอปัญหาของขาดน้อยกว่า

ทั้งราคาไม้และเหล็กเส้นถีบตัวสูงขึ้น ไม่แพ้น้ำมันทีเดียวอย่างนี้ อสังหาฯเหนื่อยหนักทั้งวงการอีกปีหนึ่งแน่
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 21-04-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.