| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 79 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-03-2551    อ่าน 11474
 วันที่รอคอย รถไฟฟ้า

ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและขนส่งมวลชนครั้งแรก ที่ "สมัคร สุนทรเวช" นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธาน ใช้เวลา 2 ชั่วโมงเศษหมดไปกับการพิจารณาหารือ หลังจากนั้น "นายกฯสมัคร" ยังคุมเกมต่อ ลงจากตึกไทยคู่ฟ้าเดินลิ่วมานั่งแถลงข่าวด้วยตนเอง เปลี่ยนคิวที่จากเดิมวางตัวให้รองโฆษกเป็นผู้แถลง

รัฐบาลเดินเกมฮุบสายสีเขียว

"จะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การต่อเส้นทางบีทีเอสออกไปไม่ใช่เรื่องยากเย็น สิ่งที่รัฐบาลจะทำคือจะเริ่มต้นเจรจากับ กทม. โดยโอนโครงการให้มาเป็นของรัฐ เพราะจะทำให้งานไม่ยาก ลงมือก่อสร้างได้ทันที" นายกฯสมัครเริ่มต้นการแถลงแบบปล่อยหมัดตรงไปที่ "กล่องดวงใจ" พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะคุมพื้นที่การเมือง กทม.

จากนั้นเป็นช่วงเวลา "ลงลึกรายละเอียด" แต่ละเส้นทางให้ฟังว่า แผนปีนี้ที่จะทำทันทีคือ ระบบรถไฟฟ้า "สายสีเขียว" สร้างเป็นทางยกระดับต่อขยายบีทีเอส ออกไป 3 ทิศรวด เริ่มจาก "ทิศเหนือ" จากหมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง 4 ระยะทาง 30 กิโลเมตร "ทิศใต้" สะพานตากสิน-บางหว้า-อ้อมน้อย และ "ทิศตะวันออกเฉียงใต้" จากแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู

ส่วน "สายสีม่วง" แนวเส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ จะเปิดประมูลทันที "สายสีน้ำเงิน" ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค จากนั้น "สายสีแดง" เป็นรถไฟชานเมืองที่มีโครงสร้างยกระดับเพื่อแก้ปัญหาจุดตัดต่อจากจุดศูนย์กลางที่สถานีบางซื่อลากออกไปชานเมือง ทิศเหนือบางซื่อ-รังสิต-อยุธยา ทิศตะวันออกไปบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา ทิศใต้บางซื่อ-ตลิ่งชัน-นครปฐม



ที่ดูเหมือนจะเป็น "วาระจร" ของเมกะโปรเจ็กต์นัดนี้และมาโผล่กลางที่ประชุมคือ เพิ่มอีก 1 สาย เป็น "opentrench" (ทางรถไฟฟ้าที่เจาะลงใต้ดินแต่ไม่ลึกมาก มองเห็นได้จากพื้นผิวดินแต่ไม่มีหลังคา) แนวเส้นทางเพียงสั้นๆ เลาะเลียบพระราชวังสวนจิตรลดา มีเส้นทางจากบางซื่อ-ยมราช-หัวหมาก

ส่วนรถไฟวงแหวนชั้นในหรือ "วงแหวนรถไฟฟ้า" ส่วนที่เพิ่มเติมจากสายสีน้ำเงินและวงแหวนรอบนอกอีกประมาณ 88 กิโลเมตร ที่บางคนเรียกว่าเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในฝันของ "สมัคร สุนทรเวช" เป็นเรื่องอนาคตที่จะต้องทำในเฟสต่อไป

รวม 2 เฟสลงทุน 7.7 แสนล้าน

แผนการใช้เงินของระบบรถไฟฟ้า รัฐบาลพรรคพลังประชาชนสรุปยอดตัวเลขวงเงินลงทุนรวม 7.7 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้จะเป็นวงเงินลงทุนเฟสแรก 7 เส้นทางประมาณ 3 แสนล้านบาท

แหล่งเงินใหญ่จะมาจาก "เจบิก" แห่งญี่ปุ่น และแหล่งที่ระดมมาจากหลายทิศทาง ทั้งงบประมาณ เงินกู้ในประเทศ ข้อมูลที่รัฐบาล "เอ็นจอย" ต่อไปไม่หยุดคือรูปแบบการลงทุนแบ่งให้รัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า

"ผมฝากกระทรวงการคลังไปเจรจา ต่อรองเงินกู้เจบิก ช่วยร่นระยะเวลาพิจารณาที่จะต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนให้เร็วขึ้นได้ไหม เพราะใจผมอยากจะให้เห็น ตอกเสาเข็มในปีนี้" ประกาศิตจากนายกฯสมัครในวันแถลงข่าว

หากตัดฉากกลับมาดูขั้นตอนดำเนินงานประกวดราคาที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำไว้ของเฟสแรก ตารางเวลาที่วางไว้คือคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญากับผู้รับเหมา ในปี 2552 เพราะต้องเผื่อเวลาอยู่ที่เจบิก นาน 8 เดือนดังกล่าว

โดยสายสีม่วงคาดว่าจะลงนามสัญญาเดือนกุมภาพันธ์ สีน้ำเงินลงนามเดือนพฤษภาคม สีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่เดือนมิถุนายน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เดือนมิถุนายน และสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เดือนพฤษภาคม

"ฮอตอิสชูส์" อีกประเด็นที่คนสนใจกันมากจากข่าวหน้า 1 "ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับวันที่ 13-16 มีนาคม 2551 พาดหัวข่าว "สันติเคลียร์สมัคร ตัดทิ้งสายชานเมือง" นั้น บนเก้าอี้นายกรัฐมนตรี "สมัคร" ยังคงดำรงจุดมุ่งหมายที่จะคงแนวเส้นทางลากยาวไปถึงชานเมืองตามที่เคยประกาศไว้ โดยมีจุดพบกันครึ่งทางก็คือ "ทำแน่" แต่เป็นเฟสต่อไป

ด้าน "พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์" ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า เม็ดเงินลงทุนรถไฟฟ้า 7.7 แสนล้านบาทเป็นวงเงินเบื้องต้น ยังไม่รวมเงินที่จะซื้อหุ้นบีทีเอสอีกกว่า 5 หมื่นล้านบาท แนวทางที่เตรียมรองรับไว้คือ รัฐจะออกพันธบัตรระยะยาว 30 ปี วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท ดีเดย์เดือนเมษายนนี้ จะออก เป็นเชื้อก่อน 5 พันล้านบาท ดอกเบี้ย 5.1-5.2% เพื่อนำมาใช้สมทบในเฟสแรกก่อน 2.9-3 แสนล้านบาท

ส่วนเฟสที่ 2 ใช้เงินลงทุน 5.37 แสนล้านบาท มีเงินจากงบประมาณประจำปี ใช้เวนคืนที่ดินและจ้างที่ปรึกษา 3 หมื่นล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 40% เงินกู้ ต่างประเทศ 60%

ตั้งเป้าปีหน้าขายแบบเฟส 2

จนถึงนาทีนี้ ข้อยุติเบื้องต้นคือโครงการที่เปิดประกวดราคาได้แน่ๆ ในปี 2551 มี 7 สาย มูลค่า 3 แสนล้านบาทโดยประมาณ (ดูตารางประกอบ)

ส่วนเฟสที่ 2 วางแผนจะเริ่มดำเนินการประกวดราคาปี 2552 เนื่องจากเป็นนโยบายที่เพิ่มเติมเข้ามาของนายกฯ "สมัคร" job description สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปีนี้คือต้องจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมให้เสร็จ ประกอบด้วยสายสีเขียวช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา-รังสิต สายสีน้ำเงิน ช่วงรัชดาฯ-พระรามที่ 7 และช่วงท่าพระ-คลองเตย สายวงแหวนรอบนอก 88 กิโลเมตร

เส้นศาลายา-มีนบุรี เป็นการรวมกันระหว่างสายสีน้ำตาลบางกะปิ-มีนบุรี และสีส้มบางกะปิ-บางบำหรุ สายสีเขียว ตากสิน-บางหว้า-พุทธมณฑลสาย 4 สายสีม่วงส่วนใต้ ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ-ป้อมพระจุล ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีช่วงตลิ่งชัน-นครปฐม 43 กิโลเมตร ช่วงมักกะสัน-ฉะเชิงเทรา 50 กิโลเมตร ช่วงธรรมศาสตร์-อยุธยา และช่วงหัวลำโพง-มหาชัย

งานนี้ประเดิมด้วยงบฯที่คาดว่าไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทสำหรับศึกษาและออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติม โดยมี "สนข." รับเป็นแม่งานเหมือนเดิม
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 17-03-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.