| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 127 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-02-2551    อ่าน 11621
 เปิดแนวเส้นทางพร้อมเวนคืน ประชาพิจารณ์ "รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน"

เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้า 9 สาย 8 แฉก ตามนโยบายของรัฐบาลสมัคร 1 จนป่านนี้ข้อมูลยังคง "เบลอ" ต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบเดือนแล้ว หลังจากนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 "สมัคร สุนทรเวช" เล่นบท "ล้วงลูกคมนาคม" ออกข่าวรายวันด้วยตนเองในเรื่องนี้

นโยบายเป็นเรื่องหนึ่ง ในทางปฏิบัติตอนนี้ "เสมือนว่า" เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดย รฟม. (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) ไม่ได้ชะลอแผนงานแต่อย่างใด โดยเดินหน้า จัดประชุมชี้แจงข้อมูลเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ กรมอู่ทหารเรือ งานนี้มีประชาชนที่สนใจเข้าร่วมฟังหลายร้อยคน

ผู้ว่าการ รฟม. "ประภัสร์ จงสงวน" ประเมินโครงการนี้ว่า ในระดับนโยบายของรัฐบาลเชื่อว่าจะไม่มีการรื้อแนวเส้นทางสายสีน้ำเงินใหม่ ถ้าหากจะมีการเปลี่ยนแปลงน่าจะเป็นเรื่องของการปรับประสิทธิภาพเป็นด้านหลัก ในขณะที่ขั้นตอน "ระหว่างทาง" กว่าจะสำเร็จทั้งโครงการต้องใช้เวลามากทั้งด้านเวลาและขั้นตอนกฎหมาย

ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือ ทำงานภาคปฏิบัติให้คู่ขนานไปกับระดับนโยบาย นั่นคือแนวเส้นทางที่มีการศึกษาไว้แต่เดิมก็จะเดินหน้าต่อไป เพราะเชื่อมั่นว่าจะเป็นแนวเส้นทางเดียวกับของรัฐบาลสมัคร 1 อยู่แล้ว

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน "ของเดิม" มีสาระสำคัญคือ ข้อเสนอแนวทางการลงทุน จะใช้รูปแบบสัมปทาน โดยรัฐลงทุนงานโยธา ส่วนเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนระบบรถไฟฟ้า โปรแกรมการประมูลคือ จะเปิดประกวดราคาเดือนมิถุนายน 2551 เริ่มก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2552 มีการทดสอบระบบในเดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนก็จะเปิดให้บริการได้ในกรกฎาคม 2558

เปิดจุดที่ตั้ง 12+10 สถานีใหม่

รฟม.ค่อยๆ ปูพื้นความรู้ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน" จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์ใต้ดิน 5 กิโลเมตร ทางยกระดับ 9 กิโลเมตร 11 สถานี แบ่ง เป็นสถานีใต้ดิน 4 สถานี และยกระดับ 7 สถานี

แนวเส้นทางเริ่มจาก "สถานีหัวลำโพง" (สถานีรถไฟหัวลำโพงเดิม) ก่อสร้างเป็นเส้นทางใต้ดินวิ่งไปตามถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนเจริญกรุง ผ่านวัดมังกรกมลาวาสบริเวณซอยเจริญกรุง 16 ปักหมุด 1 แห่ง "สถานีวัดมังกรฯ" ผ่านแยก สามยอดเป็น "สถานีวังบูรพา" เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามไชยเป็น "สถานีสนามไชย" บริเวณโรงเรียนวัดราชบพิธ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ ถนนอิสรภาพ บริเวณซอย 34 เป็น "สถานีอิสรภาพ"

จากนั้นแนวเส้นทางจะเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับเข้าสู่สี่แยกท่าพระเป็น "สถานีท่าพระ" วิ่งไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ มี "สถานีบางไผ่" ที่โรงพยาบาลบางไผ่ "สถานีบางหว้า" บริเวณแยกถนนเพชรเกษมตัดถนนราชพฤกษ์ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งไปตามถนนเพชรเกษม มี "สถานีเพชรเกษม 48" ใกล้ฟิวเจอร์ พาร์ค บางแค และสำนักงานเขตภาษีเจริญเป็น "สถานีภาษีเจริญ" ผ่านซอยเพชรเกษม 62/3 หรือตลาดบางแค เป็น "สถานีบางแค" สิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษกบริเวณซอยเพชรเกษม 82 หรือเดอะมอลล์ บางแค เป็น "สถานีปลายทางหลักสอง"

ส่วนช่วง บางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร ออกแบบเป็นทางยกระดับทั้งหมด มีจำนวนรวม 10 สถานีด้วยกัน เริ่มจาก "สถานีรถไฟบางซื่อ" วิ่งไปแยกเตาปูนเป็น "สถานีเตาปูน" ไปตามถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่าน

สี่แยกบางโพ เป็น "สถานีบางโพ" จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 88 หรือโรงพยาบาลยันฮี เป็น "สถานีบางอ้อ"

ผ่านแยกถนนจรัญสนิทวงศ์มี "สถานีบางพลัด" บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 74/1 หรือสำนักงานเขตบางพลัด "สถานีสิรินธร" ที่แยกบางพลัด บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 53 เป็น "สถานีบางยี่ขัน" ต่อไปเป็น "สถานีบางขุนนนท์" บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 หรือสำนักงานเขตบางกอกน้อย

จากนั้นไปถึงแยกถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนน บรมราชชนนี หรือแยกบรมราชชนนี เป็น "สถานีแยกไฟฉาย" สถานีต่อไปอีก 1-2 ก.ม.เป็น "สถานีจรัญสนิทวงศ์ 13" อยู่บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 และสิ้นสุดที่สี่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ 13-ถนนเพชรเกษมหรือแยกท่าพระ เป็น "สถานีท่าพระ"

ปรับแบบหวังประหยัดค่าก่อสร้าง

เพื่อเป็นการประหยัดค่าก่อสร้างและการเวนคืนที่ดิน รฟม.ได้มีการปรับรูปแบบก่อสร้างใหม่ให้เพรียวลง แยกเป็น "โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน" ออกแบบเป็นอุโมงค์คู่รางเดี่ยว รูปวงกลมวางตามแนวถนน ช่วงที่เป็นถนนแคบ จะวางซ้อนเป็นแนวตั้ง บริเวณกว้างจะออกเป็นอุโมงค์ขนานแนวนอน ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี

"โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ" จะออกแบบเป็นคานเดี่ยวรูปกล่องรองรับรางคู่ วางบนเสาเดี่ยว ตามแนวเกาะกลางถนนเป็นส่วนใหญ่ และจะใช้เสาคู่กรณีที่ไม่สามารถวางเสาบนเกาะกลางถนนได้ ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีครึ่ง

"ทางวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา" ตั้งอยู่บริเวณท่าน้ำบางโพ ออกแบบเป็นสะพานความยาว 335 เมตร มีช่วงระหว่างเสากว้างที่สุดช่วงกลางแม่น้ำ 140 เมตร และช่องลอดเพียงพอต่อการสัญจรทางน้ำ ส่วนอุโมงค์ลอดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นอุโมงค์คู่รางเดียว มีระบบป้องกันน้ำซึม

สำหรับ "รูปแบบสถานี" บริเวณที่เป็นทางยกระดับ จะออกแบบให้ดูสวยงาม มีความเรียบง่ายและทันสมัย ลักษณะเป็นชานชาลาข้างเหมือน บีทีเอส เพื่อให้รถวิ่งสวนทางกันได้ ขณะที่สถานีใต้ดินออกแบบเน้นความปลอดภัย ความสวยงามและความทันสมัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ มีพื้นที่ที่พิเศษคือ สถานีที่สนามไชย และสถานีวังบูรพา ออกแบบการก่อสร้างโดย ไม่เปิดหน้าดินเพื่อลดผลกระทบต่อโบราณสถาน

ส่วนสถานีวัดมังกรฯได้มีการปรับแบบการขึ้น-ลงสถานีใหม่ เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน โดยย้ายทางขึ้น-ลงมาอยู่จุดด้านหน้า โรงหนังศิริรามาและบริเวณพื้นที่รกร้างด้านหน้าวัดมังกรฯแทน

เวนคืน 1.1 พันราย งบฯ 5.9 พันล้าน

ด้านข้อมูลการเวนคืน พบว่าตลอดแนว เส้นทางโครงการทั้ง 2 ช่วง มียอดการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งเป็นที่ดินจำนวน 1,100 แปลง ประมาณ 184 ไร่ 3 งาน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 780 หลัง รวมวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ทั้งหมด 5,900 ล้านบาท แยกเป็นช่วงหัวลำโพง-บางแค 5,341 ล้านบาท ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 559 ล้านบาท โดยเฉพาะที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุง ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ และแขวงจอมเทียน เขตจอมทอง ใกล้กับสถานีเพชรเกษม 48 มีจำนวน 79 แปลง ประมาณ 100 ไร่ คิดเป็นวงเงินค่าเวนคืน 1,200 ล้านบาท

ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนทั้งโครงการรวม 75,318 ล้านบาท ได้แก่ช่วงหัวลำโพง-บางแค 52,272 ล้านบาท เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,341 ล้านบาท ค่างานโยธา 33,926 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 10,770 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 2,235 ล้านบาท ส่วนวงเงินลงทุนของช่วงบางซื่อ-ท่าพระ อยู่ที่ 23,046 ล้านบาท เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 559 ล้านบาท ค่างานโยธา 11,763 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 9,653 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 1,071 ล้านบาท
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 21-02-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.