| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 92 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-02-2551    อ่าน 11640
 แต้มต่อบิ๊กกระเบื้อง "โสสุโก้" ลุย ตปท.-ลุ้นรัฐจัดระเบียบนำเข้า

สกู๊ป


ตลาดกระเบื้องปูพื้นบุผนังปีที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิชะลอตัว ไม่ต่าง จากภาพรวมตลาดวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง ประเภทอื่นๆ

แต่ลึกๆ ไม่ใช่ปัจจัยเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ที่ส่งผลให้ตลาดกระเบื้องไม่เติบโตขึ้น อีกด้านยังมีกระเบื้องนำเข้าจาก "จีน" เข้ามาแชร์ ส่วนแบ่งตลาด

ประเด็นที่ต้องจับตาคือวันนี้กระเบื้องจากจีนมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็สามารถกดราคาขายให้ต่ำลงกว่าเดิมมาก

ทำให้เสียงเรียกร้องจากผู้ผลิตกระเบื้องในประเทศที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามากำกับดูแล "มาตรฐาน" กระเบื้องนำเข้าเริ่มมีถี่ขึ้นและดังขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการที่รวมตัวกันภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากคาดหวังให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานกระเบื้องนำเข้า

โดยปีนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมฯ จะผลักดันเรื่องดังกล่าวต่อเนื่องอีก แม้ที่ผ่านมายังไม่ได้รับการตอบรับจากภาครัฐมากนัก

เบื้องต้นอาจให้ภาครัฐยึดมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ในแถบยุโรปมาเป็นต้นแบบ ซึ่งเงื่อนไขหลักๆ อาทิ แผ่นกระเบื้องต้องไม่บิดเบี้ยว ไม่มีรอยร้าวบนผิวหน้าเกินกว่า 2 มิลลิเมตร ไม่มีรอยด่าง รับแรงกดทับได้มากกว่า 250 กิโลกรัม ต่อตารางเซนติเมตร และเพิ่มขึ้นตามเกรดของกระเบื้อง ฯลฯ

เหมือนกับที่กระเบื้องจีนหรือจากเมืองไทยที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในมาเลเซีย ก็ต้องผ่านด่าตรวจสอบคุณภาพ การผลักดันมาตรฐานกระเบื้อง เซรามิกนำเข้าจึงเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องการจะเห็น

"คิดว่าข้อเสนอของกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกฯ เป็นเรื่องที่ดี ถ้าเป็นไปได้อยากให้รัฐบาลหันมามองเรื่องนี้บ้าง เพราะเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เขาออกกฎควบคุมมาตรฐานกระเบื้องนำเข้ามา 4-5 ปีแล้ว แต่มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งจีน สามารถส่งกระเบื้องมาขายในเมืองไทยได้อย่างเสรี" กิตติชัย ไกรก่อกิจ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โสสุโก้ เซรามิค จำกัด หนึ่งใน ผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่ภายใต้แบรนด์ "โสสุโก้" ให้ความเห็นกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

เฉพาะปี 2550 ที่ผ่านมา ภาพรวมตลาดกระเบื้องในประเทศมีความต้องการใช้ประมาณ 128 ล้าน ตร.ม. หรือ 2 ตร.ม./คน ทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2549 ในจำนวนนี้กระเบื้องนำเข้าจีนมีส่วนแบ่งตลาด 8% หรือประมาณ 10 ล้าน ตร.ม. ตลาดส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ อาทิ โรงแรม ศูนย์ประชุม ที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงไฮเอนด์ โดยผู้ผลิตกระเบื้องและร้านจำหน่ายกระเบื้องรายใหญ่ แทบทุกรายนำเข้ากระเบื้องจากเมืองจีนมาขายแทบทั้งสิ้น

ถือเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร หากเปรียบเทียบกับหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง บมจ.โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม (อาร์ซีไอ) ที่มีกำลังผลิตต่อปีประมาณกว่า 5 ล้าน ตร.ม.

"กิตติชัย" มองว่า มีโอกาสที่กระเบื้องเมืองจีนจะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากราคาลดลงเหลือเพียงกว่า 200 บาท/ตร.ม.

เห็นได้จากประมาณปี 2544-2545 ช่วงแรกๆ ที่เริ่มมีการนำเข้ากระเบื้องจากจีนมาจำหน่ายซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกระเบื้องพอร์ซเลนแผ่นใหญ่ ขนาด 50x50 หรือ 60x60 เซนติเมตร ราคาประมาณ 500-600 บาท/ตร.ม. แต่ปัจจุบันสินค้าขนาดเดียวกันในบางรุ่นบางเกรดราคาลดเหลือเพียง 220-230 บาทเศษ/ตร.ม.เท่านั้น

เรื่อง "คุณภาพ" ของกระเบื้องจีนจึงเป็นคำถามที่คาใจใครหลายคนอยู่ลึกๆ แม้ว่าหน้าตาภายนอกอาจดูไม่แตกต่าง

"เชื่อว่ากระเบื้องเมืองจีนมีหลายเกรด ส่วนที่มีคุณภาพดีย่อมมีแน่นอน แต่ก็เป็นไปได้ว่าประมาณ 50% ที่มีการนำเข้าเวลานี้น่าจะมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน" "กิตติชัย" ให้ความเห็น

ในส่วนนี้ถ้าทำได้นอกจากจะช่วยสกรีนผู้เล่น และให้แต่ละรายแข่งขันภายใต้กติกาเดียวกันแล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคไทยได้ใช้กระเบื้องที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมากขึ้นอีกด้วย

ขณะเดียวกันเพื่อรับมือกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาฯ และการแข่งขันที่รุนแรง นอกจากโสสุโก้จะปรับกลยุทธ์ในการบริการจัดการทั้งภายในและภายนอกองค์กรแล้ว ยังมีแผนจะผลักดันตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง

"กิตติชัย" ย้ำว่าจากปัจจุบันที่สัดส่วนการส่งออกกระเบื้องปูพื้น-บุผนังของบริษัทอยู่ที่ 20% ของยอดขาย ซึ่งปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.6 พันล้านบาท ภายใน 4-5 ปีข้างหน้าจะการส่งออกจะต้องเพิ่มเป็น 30% โดยตลาดใหญ่อยู่ที่ออสเตรเลียและเกาหลี เฉลี่ยเดือนละกว่า 1 แสน ตร.ม. เพื่อกระจายความเสี่ยง และให้มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดต่ำลง

ถือเป็นการวางเกมเพื่อให้องค์กรมีความพร้อมทั้งในสถานการณ์ที่ต้องรุกหรือตั้งรับ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 21-02-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.