| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 63 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 04-02-2551    อ่าน 13568
 เวนคืน "อินทามระ" เพิ่ม "ทางลัด" ทะลุท้ายซอย 4 ถึงซอย 14 ขยาย 2 เลนเชื่อม "วิภาวดี-พหลโยธิน"

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต


วันที่ 26 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างและขยาย ทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่าง ซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 มีระยะเวลาใช้บังคับ 3 ปี มีผลให้พื้นที่ที่จะทำการเวนคืนที่ดินอยู่ในท้องที่แขวงสามเสนใน เขตพญาไท มีส่วนแคบที่สุด 20 เมตร และส่วนที่กว้างที่สุด 110 เมตร

เหตุผลที่กทม.ออกพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องสร้างและขยายทางสายเชื่อมระหว่างซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง

และอีกเหตุผลหนึ่ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกทม.หรือผู้แทน (บริษัทที่ปรึกษา) มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องทำการเวนคืนที่แน่นอน ว่ามีบ้านเรือนกี่หลังและที่ดินกี่แปลง

ปัจจุบัน "อินทามระ" เป็นถนนที่เชื่อมต่อกับถนนสะพานควายและสุทธิสาร มีขนาดไม่กว้าง จนอาจจะถือได้ว่าค่อนข้างแคบ แต่ด้วยทำเล ที่ตั้งอยู่กลางเมืองทำให้มีจุดเด่นเป็นถนนที่มี ตรอกซอกซอยลัดเลาะเส้นทางทะลุกับถนนสายหลักๆ ได้ทั้งฝั่งถนนวิภาวดีและฝั่งถนนพหลโยธิน สำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการจราจรบริเวณแยกสะพานควายและแยกสุทธิสาร



ดังนั้น "ซอยอินทามระ 14" และ "ซอยอินทามระ 4" จึงกลายเป็นเส้นทางลัดที่มีปริมาณการจราจรคับคั่งไม่เว้นแต่ละวัน โดยซอยอินทามระ 14 จะเป็นซอยที่สามารถเป็นทางลัดไปออกถนนวิภาวดีด้านหลังบริษัทโกดัก

สภาพโดยทั่วไปของซอยอินทามระ 14 จะเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ขนาดกว้างประมาณ 1-2 เมตรเท่านั้น ถือว่าค่อนข้างแคบ เวลามีรถวิ่งสวนทางจะต้อง "มีลุ้น" กันเสมอ เนื่องจากเป็นซอยเก่าแก่ตลอด 2 ข้างทางจึงแออัดไปด้วยบ้านเรือนตั้งอยู่จำนวนมาก

ส่วนซอยอินทามระ 4 เป็นถนนที่คนใช้เป็น ทางลัดเพื่อไปออก "ถนนพหลโยธินซอย 8" ได้ โดยที่ไม่ต้องไปติดไฟแดงที่แยกสะพานควาย สภาพปัจจุบันแม้จะเป็นถนนขนาด 2 ช่อง จราจร แต่ค่อนข้างแคบไม่แตกต่างจากซอยอินทามระ 14

แนวโน้มที่จะทำให้อินทรามะ 4 มีโอกาสเป็น "จุดวิกฤต" (ถ้าไม่ทำอะไรเลย) คือ สัญญาณการเข้ามาของโครงการคอนโดมิเนียมระดับราคา 1 ล้านต้นๆ เหตุผลไม่มีอะไรซับซ้อนเพราะซอย 4 แห่งนี้อยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้าบีทีเอสนั่นเอง

"ใจเราอยากจะขยายซอยอินทามระ 14 และซอย 4 ตั้งแต่ต้นซอยไปจนถึงปลายซอยเลย แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องของสภาพพื้นที่ที่แออัด ซึ่งถ้าจะขยายจริงๆ ต้องใช้งบเวนคืนมาก จึงทำให้เราตัดสินใจขยายแค่ท้ายซอยตั้งแต่ซอย 4 ไปจนถึงท้ายซอย 14 แทน" แหล่งข่าวจากสำนักการโยธา กทม.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ไฮไลต์พื้นที่ที่จะเวนคืนคือแนวเส้นทางโครงการ พบว่า มีจุดเริ่มต้นจากท้ายซอยอินทามระ 14 ก่อนที่จะถึงถนนวิภาวดี ซึ่งจะมีพื้นที่ว่างอยู่ในบริเวณการออกแบบจะตัดถนนแบบ "ตัดตรง" ลากเส้นทางผ่านซอยอินทามระ 12 บริเวณกลางซอย จากนั้นจะเลียบแนวถนนเดิมของซอยอินทามระ 12 โดยใช้วิธีขยายถนนให้กว้างขึ้นจนถึงสุดปลายซอย 12

จากนั้น เส้นทางจะตัดเลี้ยวขวาไปเชื่อมกับท้ายซอยอินทามระ 10 ตัดตรงไปผ่านท้ายซอยอินทามระ 8 แล้วเบี่ยงขวาเล็กน้อยตัดออกไปเชื่อมกับท้ายซอยอินทามระ 4 ใกล้กับโรงเรียนรุจิเสรีบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ รวมระยะทางประมาณ 844 เมตร

โดยสรุป "พื้นที่เวนคืน" จะกินอาณาบริเวณ "ท้ายซอย" เป็นหลัก เรียงลำดับตั้งแต่ท้ายซอยอินทรามระ 4, 8, 10, 12 และ 14

"บริเวณจุดสิ้นสุดที่ซอยอินทามระ 4 จะเป็น ทางตันซึ่งมีบ้านพักอาศัยอยู่ รวมถึงโครงการ พหลโยธินพาร์ค ซึ่งเราจะต้องเวนคืนบางส่วน แต่ไม่มาก ประมาณ 5-6 หลัง ขึ้นอยู่กับผลสำรวจพื้นที่จริง และตัดถนนใหม่ทะลุเพื่อไปเชื่อมกับถนนในซอยเดิม และขยายถนนเดิม เล็กน้อย ให้มีฟุตบาท เพื่อให้ผู้ที่ใช้ทางเส้นนี้สามารถเดินทางสะดวก

ในอนาคตจะใช้เป็นทางลัดไปออกได้ทั้งพหลโยธินซอย 8 และถนนอินทามระซอย 4 โดยที่ไม่ต้องไปแออัดกันอยู่ภายในซอย"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า โครงการก่อสร้างถนนสายนี้ กทม.เคยทำผลการศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2546 รายละเอียดของเนื้องานจะมีการปรับปรุง ถนนให้ได้มาตรฐาน บางส่วนใช้แนวถนนเดิมและมีบางส่วนที่ต้องตัดถนนใหม่ขนาด 2 ช่องจราจรหรือมีความกว้างประมาณ 10 เมตรจากเดิมไม่มีถนน

นอกจากนี้ จะมีระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่างครบถ้วน รวมถึงทางเท้าด้วย คาดว่าใช้งบประมาณกว่า 91 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้างประมาณกว่า 16 ล้านบาท ค่าชดเชยอสังหาริมทรัพย์อีกกว่า 74 ล้านบาท

ก่อนจะลงมือจริง การใช้ประโยชน์ที่ดิน เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากมาโครงการคอนโดฯ หน้าปากซอยฝั่งพหลโยธิน ตอนนี้ฟันธงได้ล่วงหน้าว่างบประมาณโครงการนี้ต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ทาง กทม.แจ้งว่าจะเร่งเข้าพื้นที่ทำการสำรวจก่อนที่ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินจะหมดอายุลง เพื่อนำมาประเมินค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนใหม่อีกครั้ง ส่วนประเด็น "ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย" ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่สุดนั้น ทางผู้บริหาร กทม. เตรียมจัดชุดลงพื้นที่ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 04-02-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.