| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 151 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 10-01-2551    อ่าน 11249
 กม.อาคารชุดฉบับใหม่รับคอนโดฯบูม แผนดัน"ต่างชาติ"ซื้อเกิน49%วืดสนิท

กรมที่ดินนับถอยหลังประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่ หลังยกร่างปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมแบบยกกระบิ 13 ประเด็น ชี้เหลือแค่รอการลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทันรองรับตลาดคอนโดฯบูมต่อเนื่องใน ปีนี้พอดี มั่นใจคนซื้อ-คนอยู่อาศัยในคอนโดฯ ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น เผยแนวคิดหนุน ต่างชาติถือครองห้องชุดเกินกว่า 49% ใน กทม. หัวหิน พัทยา ภูเก็ตถูกติดเบรกกลายเป็นหมัน




แหล่งข่าวจากกรมที่ดินเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ร่างแก้ไข พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. ...ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการประชุม สนช.ครั้งสุดท้ายเมื่อปลายปี 2550 ขั้นตอนต่อจากนี้ไปเหลือเพียงรอการลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายฉบับนี้ก็จะมีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์ มั่นใจว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเสร็จเรียบร้อยและมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการภายในเวลาอีกไม่นานจากนี้ไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคที่ซื้อหรืออยู่อาศัยในโครงการคอนโดฯได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น ตรงกับวัตถุประสงค์ของการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายฉบับดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมากรมที่ดินได้รับการร้องเรียนจากผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯจำนวนมาก

ประเด็นปัญหาหลัก อาทิ การรับภาระค่าส่วนกลางที่ค้างชำระ การเรียกประชุมเจ้าของร่วม การถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างด้าว (ชาวต่างชาติ) ฯลฯ ที่ผ่านมากรมที่ดินจึงพยายามผลักดันปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ใช้บังคับมานานเกือบ 30 ปีแล้ว

ขณะเดียวกันจะสอดรับกับสถานการณ์ตลาดและพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้บริโภคในปัจจุบันที่นิยมอยู่อาศัยในห้องชุดมากขึ้น เห็นได้จาก

โครงการคอนโดฯในเมืองและคอนโดฯตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าบูมต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตัวเลขยอดจดทะเบียนห้องชุดในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ (ธอส.) ระบุว่า ไตรมาส 3 ปี 2550

ที่ผ่านมามียอดจดทะเบียนห้องชุดรวม 6,716 หน่วย เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 และ 2 ที่มี 2,872 หน่วย และ 3,558 หน่วย ตามลำดับ ส่วนไตรมาส 1-4 ปี 2549 มียอดจดทะเบียนห้องชุด 748 หน่วย 5,983 หน่วย 6,512 หน่วย และ 3,723 หน่วย ตามลำดับ

แหล่งข่าวกล่าวว่า เชื่อว่าภายหลังร่างแก้ไข พ.ร.บ.อาคารชุด มีผลบังคับใช้ ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการซื้อ ขาย หรือการอยู่อาศัยในห้องชุดจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น สำหรับสาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขรวมแล้วมีกว่า 10 ประเด็น อาทิ 1.แก้ไขเพิ่มเติมนิยาม "เจ้าของร่วม" ให้ รวมถึงผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดซึ่งยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดภายหลังที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดแล้วด้วย

2.แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินส่วนกลางก่อนจดทะเบียนห้องชุด 3.แก้ไขอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนกลาง 4.แก้ไขเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ผู้มีหน้าที่ชำระเงิน และสภาพบังคับกรณีไม่ชำระตามกำหนดเวลา 5.แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด และการเสียสิทธิ

6.เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายร่วมกัน

7.แก้ไขเพิ่มเติมสาระสำคัญของข้อบังคับ นิติบุคคลอาคารชุด

8.แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการนิติ บุคคลอาคารชุด

9.แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด 10.แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ การกำหนดวาระการประชุม บุคคลที่มีสิทธิเรียกประชุม การมอบฉันทะของเจ้าของร่วม มติการประชุมเจ้าของร่วมในบางกรณี และการลงคะแนนเสียง

11.แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม โดยให้นำบทบัญญัติค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดินมาใช้โดยอนุโลม 12.เพิ่มบทกำหนดโทษ และ 13.แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายท้าย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ในส่วนของค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ดและค่าใช้จ่าย ฯลฯ

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามแนวคิดที่จะให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มขึ้นได้ในบางพื้นที่ อาทิ กรุงเทพฯ พัทยา หัวหิน ภูเก็ต ฯลฯ จากปัจจุบันกำหนดสัดส่วนไว้ไม่เกิน 49% ของจำนวนห้องชุดทั้งหมด ไม่ผ่านการพิจารณา โดยยังคงสัดส่วนการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติไว้ที่ 49% ตามเดิม
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 10-01-2551 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.