| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 102 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-12-2550    อ่าน 13374
 กระเบื้องหลังคายุค "ขอดน้ำก้นบ่อ" คู่กัด "ตราช้าง-ตราเพชร" ฝ่าด่านหินปีชวด ชิงดำตลาดรีโนเวต

เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก่อนจะผ่านพ้นปี 2550 ว่ากันว่าวัสดุก่อสร้างในกลุ่ม "กระเบื้องหลังคา" มูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา เป็นปีแห่งความยากลำบากตามที่คาดการณ์กันไว้

มุมมองของผู้ผลิตยักษ์ใหญ่อย่าง "ตราช้าง" ประมาณการว่า ภาพรวมตลาดกระเบื้องหลังคา ปีนี้หดตัวลงถึง 15% ส่วน "ตราเพชร" มองภาพรวมเชิงบวกกว่าเล็กน้อย กล่าวคือ ตลาดทรงตัวถึงติดลบเล็กน้อยเท่านั้น เป็นผลพวงมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาและเทรนด์ธุรกิจอสังหาฯที่เติบโตในเซ็กเมนต์คอนโดมิเนียมมากกว่าโครงการ บ้านจัดสรร

ขณะที่แนวโน้มตลาดปี 2551 ยังเต็มไปด้วยปัจจัยลบ แต่ทุกคนต่างยังมีความหวังลึกๆ ว่า หลังจากผ่านพ้นการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 23 ธันวาคม และฟอร์มทีมรัฐบาลแล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจน่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้น

"...ปีหน้าคงไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่านี้อีกแล้ว" เป็นบทสรุปของ "ธงชัย โสภณ" ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาด บริษัท กระเบื้องกระดาษไทย จำกัด ธุรกิจในเครือซิเมนต์ไทย และ "สาธิต

สุดบรรทัด" รองกรรมการผู้จัดการสายงานการขายและการตลาด บมจ.กระเบื้องหลังคาตราเพชร เมื่อ "ประชาชาติธุรกิจ" ตั้งคำถามว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะถึงคิว "เผาจริง" หรือไม่ !

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ผลิตหลังคาทั้ง 2 แบรนด์วางกลยุทธ์ไว้คล้ายๆ กันคือ การมุ่งเจาะตลาด รีโนเวต (ปรับปรุงซ่อมแซม) ซึ่งน่าจะเป็นทางออกในภาวะที่เศรษฐกิจรอจังหวะการฟื้นตัว

ภาวะแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง นำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน แต่แตกต่างที่กลยุทธ์ สมรภูมิการแข่งขันปีหน้าระหว่างแบรนด์ลีดเดอร์ทั้งสองรายจึงน่าสนใจว่า "ตราช้าง" กับ "ตราเพชร" จะงัดทีเด็ดอะไรออกมาประชันกันบ้าง



"ตราช้าง" นำร่อง "ขายสินค้าพ่วงสินค้า"

ปี 2551 ที่หลายคนตั้งตารอนั้น "ตราช้าง" ในฐานะแบรนด์ลีดเดอร์ตลาดหลังคาได้ปรับกลยุทธ์หันมาใช้สินค้าเป็นระบบมากขึ้น ทั้งในแง่ "หลังคา" และ "งานผนัง" โดยในกลุ่มหลังคาจะ ชู "ระบบหลังคาระบายอากาศ" รูปแบบคือการนำเสนอผลิตภัณฑ์หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ ควบคู่กับฉนวนกันความร้อน และฝ้าเพดาน พร้อมคำนวณการติดตั้งฝ้าเพดานให้มีจำนวนช่องระบายอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม ทดแทนการมุ่งขายสินค้าเพียงอย่างเดียว เพื่อให้หลังคาสามารถระบายความร้อนได้ดีที่สุด

ประเมินว่าบ้านที่ติดตั้งระบบหลังคาระบายอากาศช่วยลดอุณหภูมิลงได้อีกประมาณ 2 องศาเซลเซียส นั่นหมายถึงการลดค่าไฟฟ้าได้ส่วนหนึ่ง งานนี้บริษัทวางแผนเปิดตัวผ่านศูนย์ให้บริการติดตั้งหลังคาครบวงจร "ซิเมนต์ไทย รูฟฟิ่ง เซ็นเตอร์" ตามร้านซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ท ภายในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551

ส่วนในกลุ่มสินค้างานผนัง หลังจากปีนี้บริษัทกระเบื้องกระดาษไทยประกาศตัวเป็นผู้ผลิตหลังคา ไม้สังเคราะห์ และแผ่นบอร์ดสำหรับงานผนังและฝ้ารายแรกที่ผลิตสินค้าแบบปลอดส่วนผสมสารใยหินทั้งหมด ส่งผลให้คุณสมบัติแผ่น "สมาร์ต บอร์ด" ตราช้างเหนียว ทนทาน มากขึ้น ขยายผลในการนำไปใช้งานได้ทั้งผนังภายในและภายนอกอาคาร จากเดิมที่ใช้ติดตั้งกับงานฝ้าเพดานเท่านั้น

ก้าวถัดไปในปีหน้า จะเริ่มแผนการตลาดเชิงรุกด้วยการขายสินค้าเป็นระบบเช่นเดียวกัน ได้แก่ 1)ระบบผนังกันเสียง 2)ระบบผนังทนไฟ 3)ระบบผนังระบายอากาศลดความร้อน ถือเป็น "โปรดักต์ไฮไลต์" ก็ว่าได้ เพราะเป็นการขายแผ่นสมาร์ตบอร์ดที่มีการติดตั้งฉนวนความร้อน พร้อมกับใช้เทคนิคการเว้นช่องระบายอากาศตรงกลางแผ่นบอร์ด 2 แผ่นที่นำมาประกบกัน โดยชื่อที่เรียกว่า "composite wall" (ผนังประกอบ)

"การขายสินค้าเป็นระบบเรามุ่งไปที่ตลาดบ้านเก่าที่ต้องการเปลี่ยนหลังคาเป็นหลัก ถ้าลูกค้าต้องการหลังคาหรือระบบผนังที่ระบายอากาศได้ดีขึ้นต้องนึกถึงตราช้าง โดยเฉพาะระบบผนังสมาร์ต บอร์ดเราเชื่อว่าในอนาคตจะเข้ามาทดแทนผนังระบบก่ออิฐฉาบปูน ต่อไปการต่อเติมบ้านจะง่ายขึ้นไม่ต้องมีคาน แต่ใช้แผ่นบอรด์ติดตั้งได้เลย" ธงชัย โสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ของ "กระเบื้องกระดาษไทย" บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

โดยเชื่อว่าจากกลยุทธ์ทั้งหมดจะช่วยผลักดันยอดขายบริษัทในปี 2551 จำนวน 6,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตัวเลข 6,500 ล้านบาทดังกล่าว มีนัยของความพยายามที่จะ "ฟื้นฟู" เป้าหมายยอดขายของปี 2550 ที่คาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมียอดขายรวมประมาณ 6,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังติดลบอยู่ 15-20% (เป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2550 คือมากกว่า 7,000 ล้านบาท)

"ตราเพชร" ขายสินค้าพ่วง (ทีมช่าง) บริการ

ด้าน "กระเบื้องหลังคาตราเพชร" ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 25% ให้มุมมองว่า กลุ่มบ้านเก่าที่ต้องการปรับเปลี่ยนหลังคาเป็นตลาดที่ยังสดใสอยู่ แนวทางที่วางไว้คือการขยาย "ทีมช่าง" เหมามุงหลังคารองรับลูกค้าที่ต้องปรับเปลี่ยนหลังคาใหม่ ในรูปแบบการขาย "สินค้า" พ่วง "บริการ"

โดยเตรียมจัดตั้ง "ศูนย์อบรมช่าง" ขึ้นที่จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดฝึกอบรมรองรับการขยายทีมช่าง จากปัจจุบันที่มีเครือข่ายช่างรองรับการติดตั้งหลังคาได้สูงสุดเดือนละ 100 ยูนิต คาดว่าในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2 เท่า

ส่วนการให้บริการจะเริ่มขยายออกสู่ตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น โดยอาศัยร้านผู้แทนจำหน่ายในจังหวัดใหญ่ในแต่ละภูมิภาค

เป็นศูนย์กลางรองรับการจัดหาและติดต่อช่างให้กับลูกค้า คิดค่าบริการเหมามุงหลังคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 200 บาท ระยะเวลารับประกันนาน 5 ปี

ในการขยายทีมติดตั้งหลังคายังเชื่อมโยงกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์แบบกระเบื้องว่าวภายใต้แบรนด์ "เจียระไน" ที่จะมีการเปิดตัวหลังคารูปทรงใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามแผนจะดีเดย์ประมาณช่วงต้นปีหน้า

มีการใส่นวัตกรรมให้กับกระเบื้องรุ่นใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบการติดตั้งแบบแห้ง คือ ใช้การยึดด้วยสกรูเป็นหลัก แทนการฉาบด้วยปูน โดยเฉพาะตลาดโครงการสปา รีสอร์ต ที่กำลังนิยมใช้หลังคาประเภทนี้ และมีความเป็นไปได้ในอนาคต "หลังคา" จะเป็นสินค้า "กึ่งๆ แฟชั่น" มากขึ้น

"เราหวังว่าในปีหน้างานโครงการบ้านจัดสรร ที่เคยชะลอแผนลงทุนไปจำนวนมากจะเริ่มกลับมา อย่างไรก็ตามกลุ่มบ้านเก่าที่ปรับปรุงซ่อมแซมหลังคายังเป็นตลาดที่สดใส และช่วยผลักดันให้มียอดขายในปีหน้าประมาณ 2,750 ล้านบาท เติบโตจากปีนี้ประมาณ 10%" สาธิต สุดบรรทัด รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.กระเบื้องหลังคาตราเพชร บอกถึงเป้าหมาย

ต่างค่ายต่างกลยุทธ์ ทำงานหนักกันขนาดนี้ เป็นเรื่องต้องติดตามอย่างใกล้ชิด จะสามารถ recover ตัวเลขตลาดรวม 1 หมื่นล้านบาทได้ หรือไม่
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 24-12-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.