| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 71 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-12-2550    อ่าน 12312
 ต้นแบบโรงงาน-ศูนย์วิชาการ แผ่นพื้นคอนกรีต "ซีแพค" หัวหอกเจาะตลาดภาคเหนือ

นับเป็นก้าวแรกของการรุกตลาดวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปในภาคเหนืออย่างจริงจัง เมื่อ "ซีแพค" ในธุรกิจซิเมนต์ของเครือซิเมนต์ไทย ถือฤกษ์ดีช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเปิดตัวโรงงานผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแห่งใหม่ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ที่ก่อสร้างด้วยงบฯลงทุน 60 ล้านบาท

ที่พิเศษคือเป็นโรงงานต้นแบบที่มีศูนย์วิชาการคอนกรีตสำเร็จรูปตั้งอยู่ภายใน เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป รองรับการให้บริการทั้งกลุ่มผู้รับเหมา ช่าง บริษัทพัฒนาที่ดิน รวมทั้งประชาชนทั่วไป

ส่วนหนึ่งเพื่อให้สอดรับกับกลยุทธ์ของซีแพค ที่เริ่มรุกตลาดผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปอย่างจริงจังผ่านรูปแบบการขายแฟรนไชส์แบรนด์ "ซีแพค" เป็นครั้งแรกต้นปีนี้ และถือเป็นการขายแฟรนไชส์ตัวที่ 2 ต่อจากคอนกรีตผสมเสร็จที่มียอดขายติดลมบนไปแล้ว

สำหรับโรงงานแห่งใหม่สามารถผลิตแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงชนิดกลวง (hollow core slab) ขนาดความหนาตั้งแต่ 6-25 เซนติเมตร มีกำลังผลิตสูงสุด 5.5 หมื่นตันต่อปี และเมื่อรวมกับโรงงานอีก 2 แห่งในกรุงเทพฯ (ลาดกระบัง) และจังหวัดสระบุรี (หนองแค) มีกำลังผลิตสูงสุดรวม 3 แสนตันต่อปี

แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงชนิดกลวงมีข้อดี คือน้ำหนักเบา ช่วยให้ขนส่งต่อเที่ยวได้มากขึ้น โดยเฉลี่ยกระบวนการผลิตต่อ 1 แผ่น ใช้เวลา รวม 3 วัน เริ่มจากการเทคอนกรีตลงในแม่แบบ จากนั้นดึงลวดภายในแผ่นพื้นให้ตึง ปล่อยทิ้ง ไว้ให้แห้ง แล้วตัดเป็นแผ่นตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ

โดยมีรางสำหรับเทแบบรวม 8 แถว แต่ละแถวมีความยาว 120 เมตร ใช้ระบบควบคุมเครื่องจักรด้วยคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ อาทิ เครื่องจักรสำหรับเทคอนกรีต เครื่องจักรสำหรับตัดคอนกรีต ฯลฯ โรงงานแห่งนี้จึงใช้คนงานเพียง 10-12 คน ต่อ 1 กะเท่านั้น

ภายในบริเวณโรงงานยังมีแพลนต์ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จและศูนย์ทดสอบคุณภาพสินค้า ตั้งแต่แผ่นพื้นคอนกรีต ท่อคอนกรีต บล็อกคอนกรีต เครื่องทดสอบทราย แบบครบวงจร

หลังจากเปิดโรงงานอย่างไม่เป็นทางการ มาตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา มีลูกค้าแล้ว หลายรายส่วนใหญ่เป็นงานโครงการก่อสร้าง ขนาดใหญ่ อาทิ งานก่อสร้างหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ งานก่อสร้างอาคารโอท็อปภายในศูนย์เซรามิกจังหวัดลำปาง ฯลฯ จนปัจจุบันโรงงาน แห่งนี้เดินเครื่องจักร อยู่ถึง 80% ของกำลังผลิตสูงสุด

ส่วนการขยายแฟรนไชส์ปัจจุบันมีสมาชิกแล้ว 14 ราย คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 20 ราย และเพิ่มเป็น 40 รายภายในปีหน้า โดยแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่ผลิตแผ่นพื้นคอนกรีต เสาเข็ม ท่อคอนกรีตอยู่เดิม แต่ต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีโดยหลังจากติดแบรนด์ "ซีแพค" แล้ว เฉลี่ยจะสามารถตั้งราคาขายสินค้าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2% จากเดิม

ในปี 2551 ซีแพคเตรียมเปิดตัวโรงงานผลิตแผ่นพื้นคอนกรีตอีกแห่งในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับการขยายตลาดในภาคตะวันออก ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มแผ่นพื้นคอนกรีตทำยอดขายแตะ 600 ล้านบาท

โดยเชื่อว่าแนวโน้มในอนาคต การก่อสร้างจะเปลี่ยนรูปแบบจากการเทพื้นด้วยซีเมนต์มาใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปมากขึ้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 20-12-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.