| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 233 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 10-12-2550    อ่าน 13101
 ไขวิธีคิดแบบ "ฤทธา" "สุวัฒน์ เชาว์ปรีชา" จากมือปืนรับจ้างสู่ยักษ์รับเหมา

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจซบเซา การที่ธุรกิจจะรักษาอัตราเติบโตของรายได้เฉลี่ยให้อยู่ในระดับเกือบ 20% อาจไม่ใช่เรื่องง่าย

แต่สำหรับ "ฤทธา" หนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ก้าวขึ้นมาติดทำเนียบยักษ์ใหญ่อย่างรวดเร็ว ได้ก้าวผ่านจุดนั้นมาแล้ว ตึกสูงที่ผุดขึ้นไม่หยุดทั่วกรุงเทพฯหลายแห่งเป็นผลงานของฤทธา

ว่ากันว่าปีนี้ "ฤทธา" น่าจะมียอดรับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท และก้าวขึ้นไปแตะหลัก 10,000 ล้านบาท ได้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ก่อนจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตามการจะก้าวมาถึงจุดนี้ได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องบริหารคนงานจำนวนมาก "สุวัฒน์ เชาว์ปรีชา" ประธานกรรมการ บริษัท ฤทธา จำกัด ในฐานะผู้นำองค์กร ได้ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงวิธีคิด วิธีบริหารองค์กร ที่กลั่นมาจากประสบการณ์กว่าครึ่งชีวิต

- อยากให้เล่าประวัติคร่าวๆ ของฤทธา

ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด จบ ม.6 จากจังหวัดนครสวรรค์ มาต่อ ม.8 ที่โรงเรียนผดุงศิลป์วิทยา แล้วก็มาสอบติดวิศวะจากจุฬาฯ ที่เรียนจบรุ่นเดียวกันมี ดร.ศรีสุข จันทรางศุ หลังจากจบมาใหม่ๆ ผมเริ่มงานครั้งแรกเป็นข้าราชการที่ กรมทางหลวง ช่วง พ.ศ.2510 ถูกส่งไปทำงานถนน บังเอิญมีบริษัทรับเหมาก่อสร้างไปรับสร้างทางทำถนนเข้าเขื่อนสิริกิติ์ อยากได้วิศวกรไปเป็นโปรเจ็กต์ ก็เลยตัดสินใจลาออกจากกรมทางหลวง ทำอยู่ประมาณปีเศษหมดโครงการก็มาอยู่กับบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น ที่นี่ผมถือเป็นวิศวกรไทยคนแรกๆ ที่ได้ทำงานขุดเจาะอุโมงค์ส่งน้ำประปา เป็นโครงการจากบางเขนไปตามถนนประชาชื่น ถึงวงเวียนใหญ่ ทำอุโมงค์อยู่หลายปี ถึงขนาดเคยติดอยู่ในอุโมงค์นานหลายชั่วโมงเพราะเจาะไปแล้วดินพัง

กระทั่งปี 2530 คิดว่ามีประสบการณ์มากพอแล้ว อีกอย่างผมว่าความสุขอยู่ที่การได้ทำงานตามที่เราชอบ และถ้าสามารถเป็นผู้กำหนดได้ยิ่งดีใหญ่ เพราะการเป็นลูกจ้างบางครั้งก็มีข้อจำกัด เลยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฤทธาขึ้นมา ด้วยเงินทุน 1 ล้านบาท แต่จดไว้แบบเงียบๆ ยังไม่ได้รับงานอะไร กระทั่งปี 2532 ลูกน้องเก่าสมัยที่เคยทำงานอุโมงค์ด้วยกันติดต่อเข้ามา ถามผมว่าเมื่อไหร่จะทำกันเองสักที เป็นจังหวะพอดี ตอนนั้นมีทั้งหมด 4 คน ซึ่งเป็นการรวมตัวของวิศวกรที่มีความคิดคล้ายๆ กัน และเริ่มลุยงาน

- ฤทธาเริ่มเป็นที่รู้จักตอนไหน

เราเริ่มต้นจากการรับงานแบบซับคอนแท็กต์จากโครงการละ 2 ล้าน เพิ่มเป็น 3 ล้าน 10 ล้าน จนเข้าสู่ระดับ 50 ล้าน เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา แต่ช่วงมีงานเข้ามาเยอะจริงๆ คือ 6-7 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม ที.ซี.ซี.แคปปิตอลแลนด์ฯก็ว่าจ้างเราหลายโครงการ คอนโดมิเนียมดังๆ แถวสุขุมวิทหลายแห่ง เราเป็นคนก่อสร้าง โลตัส โฮมโปร ใช้เราเกือบหมด เบ็ดเสร็จนับจากตั้งบริษัทถึงขณะนี้ น่าจะรับงานแล้วคิดเป็นมูลค่ารวม 2-3 หมื่นล้านบาท อาจจะมีคนตั้งคำถามว่าในช่วงที่ธุรกิจก่อสร้างไม่ค่อยดี ทำไมเรายังเติบโตได้ต่อเนื่อง ยอมรับว่าถึงขณะนี้บางงานเราต้องปฏิเสธลูกค้าไป

กับเทคนิคบอกได้เลยว่า ไม่มี ทุกอย่างเป็น สิ่งที่ผู้รับเหมาทุกคนรู้อยู่แล้ว คือ 1)คุณภาพ 2)เวลา 3)ราคา และ 4)บริการ แต่การทำ 4 เรื่องนี้ให้ได้ดีเป็นเรื่องยาก เราจะบอกเสมอว่า "ของดีราคาถูกไม่มี แต่ของไม่ดีราคาแพงมี" และการจะทำงานให้สำเร็จต้องมาจาก "อินไซด์เอาต์" คือจากตัวเรา จากคนใกล้ชิด ออกไปยังส่วนรวมถึง พนักงานระดับล่าง เราต้องทำให้ลูกน้องศรัทธาเราก่อน แล้วเขาจะทำงานแบบทุ่มเทรับผิดชอบหน้าที่อย่างดีที่สุด ที่ผ่านมาถ้าเป็นการส่งมอบงานล่าช้าจากความผิดพลาดของเราจึงไม่เคยเกิดขึ้น

- คุณภาพ ราคา บริการ ทุกคนรู้แต่ทำไม่ได้

ต้องบอกว่าในโลกนี้มีอาชีพที่สวรรค์ไม่เปิดประตู 2 อย่าง คือ ผู้รับเหมา และทนายความ แต่ผมอยากจะเปลี่ยนความคิดนี้ใหม่ ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาวิศวกร มีวาระ 2 ปี และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ผมจะได้รับ แต่งตั้งเป็นอุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย มีวาระ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2553 ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่มีอยู่ ผมจะผลักดันเรื่องนี้เต็มที่

- มีวิธีคิด วิธีบริหารงานอย่างไร

ผมคิดว่าส่วนสำคัญของธุรกิจมี 3 อย่าง คือ 1)กฎหมาย 2)การเงิน 3)ด้านเทคนิค ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก "เทคนิค" เป็นตัวนำ แต่ถ้าธุรกิจโตขึ้นสลับกัน "การเงิน" และ "กฎหมาย" เป็นตัวนำ ทั้งหมดมาจากประสบการณ์ ผมก็มีปรัชญาประจำตัวคือ "รู้จริงในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่ชอบ" ลูกชายผมก็เหมือนกัน สอบติดวิศวะจุฬาฯ แต่ไม่ได้เรียน เพราะเขาไม่ชอบ ทั้งที่ใจจริงอยากจะให้เรียนเพื่อมาดูแลบริษัท

อีกอย่างหนึ่ง คือ เรามีวินัยเรื่องการเงิน 10 ปีแรกฤทธาได้กำไรมาเท่าไหร่ไม่ได้เอาเงินไปใช้เลย ฝากธนาคารหมด ผู้บริหารทุกคนได้แต่เงินเดือน ส่วนตัวผมเองยังได้ไปเรียนกฎหมายเพิ่มเติม จากนั้นไปอบรมที่สภาทนายความ และเปิดเป็นบริษัทสำนักงานกฎหมาย อย่างที่บอกว่าพอบริษัทใหญ่ขึ้นต้องรู้กฎหมาย เคยมีอยู่ช่วงหนึ่งมีคนมาชักชวนไปเล่นการเมืองอยู่พรรคประชากรไทย ของคุณสมัคร สุนทรเวช แต่ก็ไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ก็ไม่เป็นไร เพราะบริษัททนายความก็ถือว่าทำงานช่วยประชาชน

- ทำอย่างไรให้ลูกน้องเกิดความศรัทธา

ต้องดูว่ามนุษย์ทุกคนต้องการอะไร 1)ค่าตอบแทน ต้องเป็นธรรม เราจ่ายเงินเดือนทุกวันที่ 25 และไม่เคยจ่ายช้าเลย และไม่พยายามหาผู้รับเหมาช่วงเข้ามาทำต่อ เพราะอยากให้งานออกมาดี มีคุณภาพ ตรงต่อเวลา ส่วนการบริหารผมเพียงแค่ให้นโยบายหลักเท่านั้น ส่วนรายละเอียดจะให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ทุกคนมีสิทธิ์ brain stroming (ระดมความคิดเห็น) ไม่ใช่บริหารงานแบบ top down management (นโยบายจากบนลงล่าง)

- เทียบราคากับรายอื่น

การกำหนดราคา เราคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล ราคาไม่เท่ากันทุกงาน แรกๆ ขาดทุนก็มี งานโลตัสแรกๆ สาขาภูเก็ต มูลค่างาน 100 กว่าล้านบาท แต่ทำเสร็จขาดทุนไป 5 ล้านบาท เพราะมีค่าใช้จ่ายที่คิดไม่ถึง เช่น ค่าเดินทาง แต่บางครั้งก็เหมือนต้องชกป้องกันตำแหน่ง ต้องยอมขาดทุนงานนี้ แต่ไปได้งานหน้า แต่ถ้าคุณกดราคาต่ำกว่าผมมากๆ เอาไปเลย สุดท้ายบางครั้งโลตัสก็ต้องมาว่าจ้างผมใหม่ เพราะการันตีว่าเราทำงานเสร็จทันตามกำหนดแน่นอน เพราะศูนย์การค้า โรงแรม จะเปิดตัวแต่ครั้งมีกำหนดเวลาชัดเจน ต้องเสร็จตามแผน ล่าช้าวันเดียวถือว่าเสียหาย ดังนั้นราคาของเราจึงสูงอย่างมีเหตุผล

- เป้าหมายของฤทธาในอนาคต

คาดว่าอีกประมาณ 2 ปี ก็คงต้องเข้า "ตลาดหลักทรัพย์ฯ" เพราะผมอยากให้ฤทธาเป็นองค์กรที่ยั่งยืน ในเรื่องรายได้ถือว่าเรามีความพร้อมเพราะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อเนื่องมาหลายปี เรื่องบัญชีเราว่าจ้างบริษัทตรวจสอบบัญชีระดับชั้นนำมาดำเนินการให้ แสดงถึงความโปร่งใส ส่วนเหตุผลต้องรออีก 2 ปีเพราะขณะนี้การเมืองไม่นิ่ง ประกอบกับเราไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะ 1)ต้องการระดมทุน 2)ไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกันในการกู้ 3)เมกโปรฟิตในตลาดหุ้น

- คิดเรื่องการแตกไลน์ธุรกิจไว้อย่างไร

วางแผนไว้เหมือนกันๆ เรามีที่ดินเหมาะกับสร้างโรงงานไว้พอสมควร ต้องมองไว้เพราะถ้าธุรกิจก่อสร้างซบเซาลงก็ต้องหาทางรองรับ ผมอยากให้พนักงานเข้ามาแล้วทำงานถึงอายุ 55 ปีก็เกษียณอายุ เป็นแบบนี้ทุกคน การแตกไลน์ธุรกิจเท่ากับเป็นการลดความเสี่ยง ถ้างานก่อสร้างลดลงไม่ต้องเลย์ออฟลูกน้อง มันไม่ได้ใจคนทำงาน สั่งลุยงานไม่ได้

คิดเหมือนทหาร ถ้าไม่ได้รบด้วยใจก็ไม่ชนะ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 10-12-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.