| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 66 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-12-2550    อ่าน 11403
 ภารกิจเร่งด่วนก้าวปีที่ 36 กทพ. เปิดใช้ "รามอินทรา-วงแหวน" หนี้แสนล.-เก็บแวต-ปรับค่าผ่านทางเพิ่ม

ครบรอบ 35 ปีไปแล้ว สำหรับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กำลังก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 36 ในปี 2551 ที่กำลังมาเยือน ซึ่งเป็นอีกปีหนึ่งที่ กทพ.มีภารกิจเร่งด่วนมากมายที่ต้องสะสางให้เสร็จทันกำหนดเวลาที่ตั้งเป้าไว้

ช่วงระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา กทพ.เปิดให้บริการทางด่วนแล้ว 7 สายทาง รวมระยะทางกว่า 198 กิโลเมตร ไล่มาตั้งแต่ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือทางด่วนขั้นที่ 1 ทางพิเศษศรีรัช หรือทางด่วนขั้นที่ 2 ทางพิเศษฉลองรัช หรือทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ ทางพิเศษบูรพาวิถี หรือทางด่วนบางนา-ชลบุรี ทางพิเศษอุดรรัถยา หรือทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ หรือ S1

ล่าสุดทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ หรือวงแหวนด้านใต้ ที่เพิ่งเปิดใช้ไปหมาดๆ เมื่อ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ถือเป็นโครงข่ายทางด่วนอีกเส้นทางหนึ่งที่ช่วยเสริมให้ถนนวงแหวนรอบนอกกาญจนาภิเษกสามารถรองรับปริมาณการจราจรได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น

4 ภารกิจเร่งด่วน

แม้ที่ผ่านมา กทพ.จะสร้างโครงข่ายทางด่วนช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมากมาย แต่ยังไม่เพียงพอรองรับความเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในแต่ละปี

"เผชิญ ไพโรจน์ศักดิ์" ผู้ว่าการ กทพ. กล่าวว่า ในปี 2551 สิ่งที่ กทพ.จะพยายามเร่งดำเนินการ 4 โครงการที่จะต้องเร่งมือให้แล้วเสร็จโดยเร็วและทันตามกำหนดเวลา

ประกอบด้วย 1.โครงการทางด่วนรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก จะพยายามเร่งเปิดใช้ให้ทันวันที่ 5 ธันวาคม 2551 นี้ โดยแผนงานส่วนงานโยธาจะแล้วเสร็จวันที่ 5 ธันวาคมนี้ ขณะที่งานระบบจัดเก็บเงินจะแล้วเสร็จวันที่ 5 มกราคม 2552

2.โครงการก่อสร้างทางยกระดับด้านทิศใต้ สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมต่อกับทางด่วน บางนา-ชลบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 15 ขณะนี้งานก่อสร้างคืบหน้าไปมากประมาณ 34.75% เร็วกว่าแผนอยู่ประมาณ 10% โครงการมีกำหนดแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2551

3.โครงการทางเชื่อมต่อสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ หรือวงแหวนด้านใต้ กับทางด่วนบางนา-ชลบุรี ผู้รับเหมาก่อสร้างเพิ่งจะเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ประมาณเดือนเศษ อยู่ในขั้นตอนของการตอก เสาเข็ม มีกำหนดแล้วเสร็จกลางปี 2552

4.โครงการทางเชื่อมต่อวงแหวนด้านใต้กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม มีกำหนดแล้วเสร็จ ปี 2553 ปัจจุบัน กทพ.เริ่มทำการเวนคืนที่ดิน ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2551 จะเริ่มเปิดประมูลก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้าง 22 เดือน

โครงการนี้ตามแผนตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 กทพ.จะเริ่มทำสัญญาจ่ายเงินค่าเวนคืนให้กับชาวบ้านที่ถูกเวนคืน หลังจากก่อนหน้านี้ประกาศราคาค่าชดเชยบริเวณถนนแพรกษา 40-50 รายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าแผนอยู่ 5% จะใช้เวลาเวนคืน 1 ปี ใช้งบฯเวนคืน 1,218 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยประเมินไว้ 700-800 ล้านบาท เนื่องจากมีผู้ถูกเวนคืนเพิ่ม มีที่ดินเปล่าที่ถูกเวนคืน 229 แปลง สิ่งปลูกสร้างจำนวน 230 กว่าหลังคาเรือน และราคาประเมินมีการปรับเพิ่มขึ้น

สำหรับการก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณต้นปี 2552 เป็นต้นไป เปิดใช้บริการปี 2554 ค่าก่อสร้าง 2,633 ล้านบาท โดยรูปแบบจะก่อสร้างเป็นทางต่างระดับ มีทางขึ้น-ลงบริเวณที่ต่อเชื่อมแถวถนนปู่เจ้าสมิงพราย ขนาด 6 ช่องจราจร

"เมื่อโครงการทั้งหมดนี้เสร็จ ตั้งแต่ปี 2551 ปี 2552 และปี 2553 จะเกิดการเชื่อมโยง โครงข่ายทางพิเศษให้สมบูรณ์สะดวกสบาย ในการเดินทางได้มากยิ่งขึ้นทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง"

เปลี่ยนระบบเก็บเงินเป็นอัตโนมัติ

อีกภารกิจหนึ่งที่ถือว่าเป็นงานเร่งด่วนเช่นกัน คือ การปรับเปลี่ยนระบบจัดเก็บเงินเป็นระบบอัตโนมัติ ในโครงการทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 และทางด่วนรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท ในการดำเนินการติดตั้งระบบจัดเก็บเงินทั้งหมด

ปัจจุบัน กทพ.กำลังจะเปิดประกวดราคา โดยจะขายแบบตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน- 11 ธันวาคมนี้ เปิดรับฟังคำชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมและดูสถานที่วันที่ 12 ธันวาคม กำหนดยื่นเอกสารประกวดราคาวันที่ 8 มกราคม 2551 จากนั้นอีก 1 เดือนจะเคาะราคาในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551

"เราจะใช้เวลาติดตั้งระบบจัดเก็บเงินค่าผ่านทางอัตโนมัติประมาณ 1 ปี หลังจากที่ได้ผู้รับเหมาและทำการเซ็นสัญญาแล้ว น่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณกลางปี 2551 และใช้บริการได้กลางปี 2552 สำหรับการติดตั้งระบบจัดเก็บเงินอัตโนมัติ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนทั้งหมดในแต่ละด่าน ยังคงมีด่านเก็บเงินแบบเดิมอยู่ ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้ทางเพื่อแก้ปัญหาจราจรหน้าด่านให้เกิดความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น" ผู้ว่าการ กทพ.กล่าว

ปรับค่าผ่านทางรวมแวต

แต่ที่เป็นภารกิจสุดหินสำหรับ กทพ. คือ การปรับขึ้นค่าผ่านทางระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 เนื่องจากจะกระทบค่าครองชีพของคนกรุงเทพฯโดยตรง ตามแผนจะต้องปรับค่าผ่านทางเพิ่มขึ้นในวันที่ 1 กันยายน 2551 (ปรับเพิ่มขึ้นทุก 5 ปี) จากปัจจุบันที่เก็บอยู่ 40 บาทตลอดสาย โดยจะปรับเพิ่มขึ้นตามดัชนีผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร หรือ Bangkok Cpi

อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ตัวเลข Cpi อยู่ที่เท่าใด วิธีการคือจะคำนวณค่า Cpi ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2546-วันที่ 1 มีนาคม 2551 แต่ว่ากันว่าอย่างน้อยคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป

ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น กทพ.จะบวกภาษี มูลค่าเพิ่ม หรือแวต 7% เข้าไปรวมกับค่าผ่าน ทางที่ปรับเพิ่มใหม่ด้วย หลังจากที่คณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. ไฟเขียวให้ กทพ.สามารถเก็บ แวตได้แล้ว หลังจาก กทพ.แบกรับภาระมา เป็น 10 ปี เฉลี่ยปีละ 700 กว่าล้านบาท

ดังนั้นเมื่อรวมกับการจัดเก็บแวตอีก 7% จะทำให้ค่าผ่านทางเพิ่มขึ้นเป็น 48-50 บาท อย่างไรก็ตามนี่เป็นแค่การคิดคำนวณในเบื้องต้นยังไม่สะเด็ดน้ำ เพราะตัวเลขจริงจะต้องรอผลการเจรจากับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป จะรู้ผลก่อนเดือนกันยายน

"ปีหน้าคาดว่ารายได้ของ กทพ.จะเติบโตอย่างน้อย 4% ซึ่งจะอยู่ประมาณนี้ทุกปีเพราะปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นไม่มาก ปัจจุบันทางด่วนทุกระบบปริมาณการจราจรอยู่ที่ 1.15 ล้านคันต่อวัน"

ภาระหนี้ทะลุแสนล้าน

แม้ปี 2551 กทพ.จะมีรายได้จากค่าผ่านทางเพิ่มขึ้น แต่เป็นเพียงแค่น้อยนิด เทียบไม่ได้กับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น โดยปีนี้ กทพ.มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากที่ต้องกู้เงินมาชำระค่าก่อสร้างโครงการวงแหวนด้านใต้ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา วงเงิน 16,238 ล้านบาท เมื่อรวมกับภาระหนี้ที่มีอยู่เดิม 85,190 ล้านบาท ส่งผลให้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนกว่าล้านบาท

ยังไม่นับรวมโครงการที่จะต้องก่อหนี้เพิ่มเติม อย่างโครงการรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ประมาณ 10,000 กว่าล้านบาท นอกจากนี้ยังโครงการอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง เช่น ทางยกระดับเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ทางเชื่อมวงแหวนด้านใต้กับบางนา-ชลบุรี ทางเชื่อมวงแหวนด้านใต้กับวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นต้น

ขณะที่รายได้ที่จะมีเข้ามาจริงๆ ในปี 2552 เป็นต้นไป จากการปรับค่าผ่านทางรวมแวตและเก็บค่าผ่านทางวงแหวนด้านใต้ จะเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 5% เท่านั้น ถือว่าตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงไม่น้อย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 03-12-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.