| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 77 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 29-11-2550    อ่าน 11367
 แกะกล่องรถไฟฟ้าไป "ปากน้ำ" บูม "แบริ่ง-สมุทรปราการ"

ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เดินสายจัดประชาพิจารณ์รับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 5 สายทาง และอยู่นอกแผนงานดำเนินการที่มีอยู่ขณะนี้ เป้าหมายก็เพื่อเตรียมจัดทำข้อมูลเสนอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและอนุมัติประกวดราคาในอนาคต

ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา ถึงคิวจัดประชาพิจารณ์รถไฟฟ้าสาย สีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งในที่ประชุมมีชาว ปากน้ำมาร่วมรับฟังและเสนอข้อคิดเห็นราว 300-400 คน

ปรากฏว่าส่วนใหญ่ต่างหนุนให้รัฐผลักดันก่อสร้างโครงการดังกล่าวโดยเร็ว พร้อมยื่นข้อเสนอให้ขยายสายทางออกไปถึงบางปู เพื่อรองรับแรงงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งมีอยู่ถึง 600-700 แห่ง

โครงการรถไฟฟ้าช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เป็นโครงการที่ สนข.ทุ่มงบฯถึง 200 ล้านบาท ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการออกแบบรายละเอียดโครงการ ในระยะเวลา 6 เดือน มีกำหนดเสร็จเดือนมกราคม 2551 ที่จะถึงนี้ จากนั้น สนข.จะนำรายละเอียดเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนจะชงเรื่องให้ ครม.ไฟเขียวประกวดราคาต่อไป

ด้านรายละเอียดโครงการจะเป็นโครงสร้าง ยกระดับตลอดแนวสายทาง โดยแนวสายทางจะต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง (ซอยสุขุมวิท 107) ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จากนั้นแนวเป็นเส้นทางจะไปตามเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ข้ามคลองสำโรง ผ่านแยกเทพารักษ์ ปู่เจ้าสมิงพราย

แล้วเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกยกข้ามทางต่างระดับสุขุมวิทของโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ แล้วจึงวกกลับมาแนวเดิม ถึงแยก ศาลากลาง แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท เพื่อเบี่ยงหลบสะพานลอยข้ามแยกการไฟฟ้า จากนั้นกลับสู่แนวเดิมผ่านถนนแพรกษา แยกสายลวด สิ้นสุดโครงการที่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 55 รวมระยะทาง 12.8 กิโลเมตร

ใช้งบฯลงทุนประมาณ 25,000 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 14,000 กว่าล้านบาท งานระบบ 5,000 กว่าล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2,000 ล้านบาท ค่าจัดหารถไฟฟ้า 3,000 กว่าล้านบาท ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2551-2555

หลังเปิดให้บริการปีแรก คาดว่าจะมีปริมาณ ผู้โดยสาร 90,000 คน/วัน และในอีก 25 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 แสนคน/วัน

ตัวโครงการมีทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่ 1.สถานีสำโรง อยู่บริเวณหน้าสภาตำบลสำโรงเหนือ 2.สถานีปู้เจ้าสมิงพราย อยู่บริเวณซอยสุขุมวิท 115 3.สถานีพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ อยู่บริเวณถนนสุขุมวิทสายเก่า ซอย 7 4.สถานีโรงเรียน นายเรือ อยู่หน้าโรงเรียนนายเรือ 5.สถานีศาลากลาง อยู่บริเวณหน้าวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ

6.สถานีศรีนครินทร์ อยู่บริเวณคลองบางปิ้ง 7.สถานีแพรกษา อยู่ด้านหน้าโรงเรียนสมุทรปราการ 8.สถานีสายลวด อยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 45 และ 9.สถานีเคหะสมุทรปราการ อยู่บริเวณซอยประชา

รูปแบบของสถานีได้ออกแบบให้มีความโปร่ง ทันสมัย เรียบง่าย ลงตัว มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่สมุทรปราการ ด้านรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งจะปรับลดขนาดเสาตอม่อให้ เล็กลง เนื่องจากเป็นโครงสร้างทางยกระดับเพื่อประหยัดค่าก่อสร้าง ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและไม่ให้บดบังทัศนียภาพต่างๆ

นอกจากนี้ตลอดสายทางจะมีการเสริมความสมบูรณ์ของการเดินทางมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างอาคารจอดแล้วจรไว้อำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการที่บริเวณสถานีเคหะสมุทรปราการ โดยบริษัทที่ปรึกษาระบุว่า บริเวณนี้เป็นตำแหน่ง เหมาะสมที่จะเชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบต่างๆ เข้าสู่การใช้บริการระบบรถไฟฟ้า เนื่องจาก ยังพอมีที่ว่างที่ยังไม่มีการพัฒนาอยู่ใกล้กับสถานี มีขนาดพื้นที่ 33,000 ตารางเมตร จอดรถได้ 600 คัน

ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงตั้งอยู่ที่ปลายสุดโครงการ บริเวณสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง ก่อนถึง ซอยเทศบาลบางปู 55 จะก่อสร้างเป็นที่จอด และบำรุงรักษารถไฟฟ้า โดยจะมีศูนย์ควบคุมการเดินรถและอาคารอำนวยการตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน

สำหรับการเวนคืนที่ดิน บริษัทที่ปรึกษาชี้แจงรายละเอียดว่าจะไม่มีการเวนคืนมาก เพราะโครงสร้างจะก่อสร้างอยู่บนเกาะกลางถนน ส่วนการขึ้นลงสถานีให้อยู่บนระดับฟุตปาท จะมีการเวนคืนที่ดินไม่มากนัก

เช่น บริเวณส่วนเว้าบริเวณต่างระดับสุขุมวิท อาคารไม้บริเวณการไฟฟ้าสมุทรปราการ บริเวณแยกถนนศรีนครินทร์ พื้นที่บริเวณหลังสถานีการไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง เป็นที่ดินว่างเปล่าติดกับหมู่บ้านเมฆฟ้าวิลล์ จำนวน 45 แปลง ขนาดพื้นที่ 200 ไร่ เพื่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และบริเวณเยื้องเคหะสมุทรปราการ ขนาดพื้นที่ 20 ไร่ เพื่อสร้างอาคารจอดแล้วจร

หากสามารถผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้จริง นอกจากจะได้รับแรงหนุนจากชาวปากน้ำอย่างท่วมท้นแล้ว แลนด์ลอร์ดและดีเวลอปเปอร์ทั้งรายเล็กรายใหญ่ที่ไปปักธงผุดโปรเจ็กต์ทั้ง แนวราบ แนวสูง รอรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่งที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง รวมทั้งที่กำลังเล็งๆ จะเข้าไปลงทุน ก็คงส่งเสียงเชียร์กระหึ่มด้วย เพราะในอนาคตจะสามารถขยายฐานการลงทุนไปแชร์เค้กตลาดในทำเลปากน้ำและบริเวณใกล้เคียงได้อีกมากโข

ยิ่งผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรปราการฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ในเดือนมิถุนายน 2551 หนุนให้มีการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งปลุกทำเลทองปากน้ำให้เติบโตและดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้นกว่าปัจจุบันอีกหลายเท่าตัว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 29-11-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.